• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

Human papillomavirus

โรคหูด สาเหตุ, อาการ, การรักษา

July 31, 2022 by thaihiv365 team

โรคหูด สาเหตุ, อาการ, การรักษา

เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยไม่จำกัดเพศ และอายุ แม้ว่าจะไม่ได้อันตรายมากนัก แต่ต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มิฉะนั้นอาจเป็นแผลติดเชื้อที่หนักกว่าเดิม รักษายากกว่าเดิมได้

โรคหูด (Warts) คืออะไร

หูด (Warts) เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อฮิวแมน แปปิโลมาไวรัส (Human papillomavirus) หรือเอชพีวี (HPV) โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้จะกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเกิดการหนาตัวหรือแข็งตัวขึ้น  จนเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายของผิวหนัง ซึ่งก็มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด อาจมีขนาดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็น หูดอาจจะขึ้นเพียงเดี่ยว ๆ หรือขึ้นหลายตุ่มก็ได้ โดยมักจะขึ้นที่มือ เท้า ข้อศอก ข้อเข่า ใบหน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรืออาจขึ้นตามผิวหนังส่วนอื่น ๆ รวมทั้งที่อวัยวะเพศก็ได้ 

โดยโรคนี้เมื่อเป็นแล้วก็ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด อาจจะทำให้ดูน่าเกลียดน่ารำคาญหรือทำให้มีอาการปวดได้เป็นบางครั้ง ส่วนมากแม้จะไม่ได้รับการรักษาก็มักจะยุบหายไปเองตามธรรมชาติภายหลังที่เป็นอยู่หลายเดือน แต่บางรายอาจเป็นอยู่แรมปีกว่าจะยุบหายไป และเมื่อหายแล้วก็อาจกกลับมาเป็นใหม่ได้อีก

ระยะฟักตัวของโรค

หลังจากรับเชื้อมาจนเกิดอาการมักจะใช้เวลาประมาณ 2-8 เดือน

สาเหตุการเกิดโรคหูด

โรคหูดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมน แปปิโลมา ไวรัส  หรือ เอชพีวี (Human Papilloma Virus – HPV) ซึ่งมีมากกว่า 100 ชนิดย่อย โดยแต่ละเชื้อชนิดย่อยก็ทำให้เกิดหูดในตำแหน่งต่าง ๆ และมีหน้าตาของหูดแตกต่างกันไป เช่น เอชพีวีสายพันธุ์ย่อย 1 จะก่อให้เกิดหูดที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า ส่วนเอชพีวีสายพันธุ์ย่อย 6 จะก่อให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศภายนอก เป็นต้น

โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้อันตราย โดยทั่วไปหูดจะเกิดขึ้นบนมือหรือเท้าของผู้ป่วย แต่เชื้อไวรัส HPV บางสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศหญิง ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หูดสามารถเกิดได้หลายที่ เช่น หูดที่นิ้วมือ หูดที่เท้า หูดที่มือ หูดที่นิ้ว หูดที่ลิ้น หูดที่หน้า หูดที่อวัยวะเพศ หูดในปาก หูดที่คอ 

หูดเป็นโรคติดต่อที่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสจากคนที่เป็นหูดโดยตรง  แต่ผิวหนังที่มีบาดแผลหรือรอยถลอกจะติดเชื้อได้ง่ายกว่าผิวหนังที่ปกติ เพราะเชื้อไวรัสสามารถแทรกตัวลงไปได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะใช้เวลาในการแบ่งตัวอยู่หลายเดือนจนกว่าจะเห็นเป็นก้อนหูด และเนื่องจากเชื้อหูดจะแบ่งตัวเฉพาะที่ผิวหนังและเยื่อบุเท่านั้น  จึงไม่ลุกลามเข้าสู่กระแสเลือดและไม่แพร่เชื้อเข้าสู่อวัยวะอื่น ๆ เชื้อชนิดนี้จึงไม่ติดต่อผ่านทางอื่น ๆ เช่น การไอ จามรดกัน หรืออย่างในกรณีที่มีหูดที่หน้า การมีเพศสัมพันธ์ก็ไม่ได้ทำให้ติดเชื้อหูดแล้วกลายเป็นหูดที่อวัยวะเพศหรือที่หน้า แต่ถ้าเอามือไปสัมผัสที่หน้า และมือก็ไปสัมผัสอวัยวะอื่น ๆ ด้วยก็อาจจะทำให้ติดเชื้อหูดจากหน้าได้

แต่สำหรับผู้ป่วยบางรายก็มีลักษณะเป็นพาหะโรค คือ ผิวหนังดูเป็นปกติทุกอย่าง ไม่มีตุ่มนูนให้เห็น แต่ที่ผิวหนังยังมีเชื้ออยู่ จึงยังสามารถแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นได้จากการสัมผัสผิวหนังส่วนที่มีเชื้อเช่นเดียวกัน  ซึ่งคนบางกลุ่มจะมีแนวโน้มที่จะติดหูดได้ง่ายกว่าปกติ รวมทั้งในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันลดลงเช่นในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

โรคหูดเกิดที่ไหนได้บ้าง

โรคหูดเกิดที่ไหนได้อีกบ้าง

หูดเป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อยมักจะเติบโตตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ พบที่นิ้วมือ หูดสามารถเกิดได้หลายที่ เช่น หูดที่นิ้วมือ หูดที่เท้า หูดที่มือ หูดที่นิ้ว หูดที่ลิ้น หูดที่หน้า หูดที่อวัยวะเพศ หูดในปาก หูดที่คอ

อาการของโรคหูด

  • มีติ่งนูนยื่นขึ้นมาบนผิวหนังขนาดหูดประมาณ 10 มิลลิเมตร
  • มีผิวหยาบ หรือผิวเรียบ
  • เกิดขึ้นทั้งเป็นตุ่มเดี่ยว และเป็นกลุ่ม
  • มีอาการคัน

เมื่อใด ควรไปพบแพทย์

  • เมื่อไม่แน่ใจว่าลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นตุ่ม และที่เป็นคือหูดหรือไม่
  • เมื่ออยากจะรักษาหูดเองที่บ้าน แต่ไม่แน่ใจว่าควรจะรักษาด้วยวิธีไหน
  • เมื่อรักษาหูดด้วยตัวเองที่บ้านแล้วไม่หาย ควรให้แพทย์ตรวจเพื่อยืนยันว่าตุ่มนั้นเป็นหูด ไม่ใช่มะเร็งหรือโรคผิวหนังชนิดอื่น
  • เมื่อมีเลือดออกจากหูด และหูดขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • เมื่อเข้ารับการรักษาหูดและมีอาการผิวหนังอักเสบติดเชื้อ เช่น ผื่นแดง มีความรู้สึกปวด มีหนองบริเวณที่รักษา ในผู้ป่วยบางคนผื่นแดงและอาการปวดเป็นเรื่องปกติหลังการรักษา ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อทำความเข้าใจถึงผลข้างเคียงของการรักษา

การวินิจฉัยโรคหูด

  • แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคหูดได้จากการดูอาการของผู้ป่วย จากการตรวจลักษณะของก้อนเนื้อ 
  • อาจต้องตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคหูด

แนวทางในการรักษาโรคหูดในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็นการรักษาด้วยยาใช้ภายนอก การผ่าตัดซึ่งก็มีอยู่หลายวิธี และการปล่อยไว้ไม่รักษา เพราะส่วนใหญ่หูดจะสามารถยุบหายไปได้เอง ซึ่งการรักษานี้จะไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุหรือเป็นการฆ่าเชื้อไวรัสที่เป็นต้นตอแต่อย่างใด เพราะในปัจจุบันยังไม่มีตัวยาที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ แพทย์จึงเน้นการรักษาไปที่ปลายเหตุด้วยการทำลายเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นรอยโรค จึงยังอาจทำให้มีเชื้อไวรัสหลงเหลืออยู่ในบริเวณรอบ ๆ ที่ผิวหนังที่เห็นเป็นปกติ ดังนั้นแม้จะเอาหูดและเนื้อเยื่อผิวหนังโดยรอบออกไปแล้ว แต่ก็ไม่อาจรับประกันได้ว่าเชื้อหูดจะหมดไป ทำให้มีโอกาสที่โรคนี้จะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

ซึ่งโดยทั่วไปการรักษาหูดก็มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ได้แก่

1. การทายา ยาที่ใช้จะเป็นยาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิซิลิก กรดแลคติก กรดไตรคลออะซิติก แต่การรักษาหูดด้วยการทายาจะต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์ หรือบางรายหลายเดือนกว่าจะหาย ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ไม่ควรซื้อยามาทาเอง

2. การจี้ด้วยความเย็น โดยใช้ไนโตรเจนเหลว (Cryotherapy)  วิธีนี้ใช้ได้ผลดีกับหูดขนาดไม่ใหญ่มาก โดยระหว่างจี้ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บหรือแสบ ต่อมาบริเวณที่จี้อาจจะพองเป็นตุ่มน้ำ และใหญ่ขึ้นเป็นถุงน้ำ หลังจากนั้นจะค่อยๆ แห้งลงและตกสะเก็ด และจะหายภายใน 1-3 สัปดาห์ ซึ่งอาจต้องจี้ซ้ำหลายครั้งจนกว่าจะหายขาด

3. การจี้ด้วยไฟฟ้า เป็นการทำลายตุ่มหูดด้วยความร้อน วิธีนี้ได้ผลค่อนข้างดี แต่อาจทำให้มีแผลเป็นได้

4. การรักษาด้วยเลเซอร์ วิธีนี้จะใช้เลเซอร์จี้ที่ตัวหูด ซึ่งได้ผลดีแต่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

5. การผ่าตัด คือการผ่าตัดเอาก้อนหูดออก ใช้สำหรับหูดที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล

6. การทายาเพื่อกระตุ้นภูมิ (DCP) หรือ ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)   วิธีทำคือ การฉีดสารบางชนิดไปยังบริเวณหูด เพื่อกระตุ้นภูมิของร่างกายให้มาทำลายหูด จะใช้ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีการอื่นไม่ได้ผล หรือหูดมีปริมาณมาก การรักษาใช้เวลาหลายเดือนและต้องมาทายาที่โรงพยาบาลทุกสัปดาห์

เป็นหูด ควรรีบพบแพทย์

การป้องกันโรคหูด

  • หากเป็นหูด ควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปบริเวณอื่นของร่างกาย และป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
  • หูดอาจเกิดขึ้นซ้ำได้อีก โดยมีปัจจัยโดยตรงมาจากภูมิคุ้มกันในร่างกาย ดังนั้นจึงควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้งห้าหมู่
  • เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่เป็นหูดหงอนไก่ หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับคนที่เป็นหูด ส่วนผู้ที่อยู่ในบ้านเดียวกันกับผู้ที่เป็นหูด ควรแยกของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าขนหนู เสื้อผ้า รองเท้า ถุงเท้า ถุงมือ กรรไกรตัดเล็บ มีดโกน ฯลฯ
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำเท้าเปล่าในสระว่ายน้ำสาธารณะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหูดที่เท้า โดยการสวมใส่รองเท้าในขณะอาบน้ำหรือรองเท้าแตะแบบหนีบอยู่เสมอ
  • ห้ามใช้เครื่องมือที่ใช้ตัดหรือเฉือนหูดร่วมกับผู้อื่น หรือพยายามหลีกเลี่ยงการทำเล็บในร้านที่ไม่สะอาด หรือตัดผมแบบที่มีการโกนขนหรือหนวดที่ต้องใช้ร่วมกัน
  • ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ โดยเฉพาะหากมีการสัมผัสกับคนที่เป็นหูด
  • หลีกเลี่ยงการถูกหูดที่ตำแหน่งใหม่
  • ควรเช็ดมือ และเท้าให้แห้ง
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหูดกับผู้ที่เป็นหูดโดยตรง
  • ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อได้บางชนิด ปัจจุบันได้รับการรับรองให้ใช้ได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

ทำความรู้จักกับ โรคฝีดาษลิง

กามโรคคืออะไร?

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • หูด เรื่องเล็กแต่เจ็บเหลือใจ (Warts) https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/496
  • หูด https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=34
  • หูด อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคหูด 40 วิธี !! (Warts) https://medthai.com/หูด/
  • เป็นหูดหายได้ ถ้ารักษาอย่างถูกต้อง https://www.phukethospital.com/th/healthy-articles/warts-disappear-if-treated-properly/หูด เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร https://amprohealth.com/symptoms/warts/

Filed Under: Uncategorized Tagged With: Human papillomavirus, Warts, สาเหตุการเกิดโรคหูด, อาการของโรคหูด, ฮิวแมน แปปิโลมาไวรัส, โรคหูด

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”
  • โรคฝีมะม่วง..ภัยร้ายใกล้ตัว
  • หนองในเทียม (Chlamydia)
  • CD4 ที่เท่าไหร่ถึงเรียกว่าระดับน่าเป็นห่วง

Archives

  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in