• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

HIV

การตรวจ HIV ในปัจจุบัน | HIV Test

June 21, 2023 by 365team

การตรวจ HIV ในปัจจุ บัน

เอชไอวี (HIV : Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายได้ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ง่ายมากกว่าปกติ อีกทั้งหากไม่เข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วแล้ว จะส่งผลต่อร่างกายทำให้เข้าสู่ระยะรุนแรงที่หลายคนรู้จักกันดีในชื่อว่า ระยะโรคเอดส์ การตรวจ HIV จึงถือเป็นวิธีการที่สำคัญไม่แพ้ขั้นตอนอื่น ๆ เพราะจัดว่าเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ ป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันการลุกลามสู่ระยะเอดส์ และสามารถทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งในปัจจุบันยังคงมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตรวจ HIV อยู่ไม่น้อย บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เกี่ยวกับการตรวจHIV

การตรวจ HIV มีกี่วิธี?

ปัจจุบันการตรวจ HIV โดยการวินิจฉัยการติดเชื้อโดยห้องปฏิบัติ มีทั้งหมด 4 วิธี

HIV p24 antigen testing

การตรวจ HIV โดยการตรวจหาแอนติเจนของเชื้อ HIV จากการวินิจฉัยโปรตีนของเชื้อที่มีชื่อว่า p24 สามารถตรวจพบเชื้อได้ในระยะที่ผู้ติดเชื้อผ่านการติดเชื้อมาแล้วประมาณ 2 สัปดาห์

Anti-HIV testing

การตรวจ HIV โดยการตรวจหาแอนติบอดีจำเพาะของเชื้อ HIV สามารถตรวจพบได้ในระยะที่ผู้ติดเชื้อผ่านการติดเชื้อมาแล้วประมาณ 3-4 สัปดาห์ เป็นวิธีการตรวจ HIV ที่ปัจจุบันนิยมใช้ในการตรวจคัดกรองมากที่สุด

Fourth Generation

การตรวจ HIV โดยการวินิจฉัยจากชุดตรวจแอนติบอดีจำเพาะของเชื้อ HIV และตรวจหาแอนติเจนของเชื้อ HIV ในคราวเดียวกันด้วยการใช้น้ำยาตรวจชนิดเดียวกัน สามารถตรวจพบได้ในระยะที่ผู้ติดเชื้อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย 2 สัปดาห์

Nucleic Acid Test (NAT)

การตรวจ HIV โดยการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ HIV ที่มีชื่อว่า Nucleic Acid วิธีนี้เป็นการตรวจที่ทราบผลได้เร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถตรวจพบได้หลังจากที่ติดเชื้อตั้งแต่ 3-7 วัน

ทำไมต้องตรวจ HIV?

ทำ ไม ต้องตรวจ HIV

การตรวจ HIV เป็นทางเลือกในการป้องกันที่สำคัญไม่แพ้การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ทั้งยังเป็นการเพิ่มการตระหนักถึงการดูแลตนเองและคู่ของคุณร่วมด้วย โดยทั่วไปแล้วผู้ติดเชื้อเอชไอวีจะไม่แสดงอาการให้เห็นได้ชัดเจน จนในที่สุดอาการก็ลุกลามไปสู่ระยะรุนแรง ทำให้ไม่สามารถรับมือกับอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ดีเท่าที่ควร ด้วยสาเหตุเหล่านี้เองทำให้การตรวจ HIV เป็นสิ่งที่จำเป็นและควรทำอย่างยิ่งในทุก ๆ ปีเช่นเดียวกับการตรวจสุขภาพประจำปี

ตรวจ HIV มีค่าใช้จ่ายแพงไหม?

ปัจจุบันการตรวจ HIV เป็นเรื่องที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้สิทธิการตรวจ HIV เป็นหนึ่งในสิทธิของประชาชนไทยภายใต้หลักสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเข้ารับการตรวจได้ฟรี 2 ครั้ง/ปี ภายในสถานพยาบาลที่มีสิทธิทั่วประเทศ หรือเลือกเข้ารับการตรวจ HIV ในคลีนิกนิรนาม และคลินิกเฉพาะทางโดยตรง หากต้องการความเป็นส่วนตัว ไม่ต้องการเผยข้อมูลส่วนตัว สามารถเลือกได้ตามความสะดวกของแต่ละบุคคลได้เช่นเดียวกัน โดยค่าใช้จ่ายของแต่ละแห่งอาจแตกต่างกันไป

ใครบ้างควรตรวจ HIV?

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับบุคคลอื่น
  • ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยขาดสติ
  • ผู้ป่วยวัณโรค
  • หญิงตั้งครรภ์

ตรวจ HIV ใช้เวลานานหรือไม่จึงจะทราบผล?

การตรวจ HIV จะขึ้นอยู่กับวิธีการตรวจที่เลือกใช้ หากเป็นการตรวจโดยสถานพยาบาลทั่วไปด้วยวิธีการตรวจที่นิยมใช้หลัก ๆ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ระยะเวลาทราบผลได้เร็วที่สุดใน 1 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามหากต้องการระยะเวลาที่แน่นอน แนะนำให้ปรึกษากับสถานพยาบาลนั้น ๆ เพื่อสอบถามโดยตรงจึงจะดีที่สุด

ประโยชน์ของการตรวจ HIV

ประ โยชน์ของการตรวจ HIV (1)
ป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ HIV
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
วางแผนป้องกันการติดเชื้อไปสู่ลูก
สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันทีไม่ต้องรอให้แสดงอาการ
หากได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีจะทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • PEP ป้องกัน HIV ในกรณีฉุกเฉิน
  • สารพัดประโยชน์ของถุงยางอนามัย

การเข้ารับการตรวจ HIV อย่างสม่ำเสมอเป็นผลดีแก่ตัวเราเองอย่างปฏิเสธไม่ได้ เพราะถ้าหากทราบว่าติดเชื้อก็สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ป้องกันการลุกลามสู่ระยะเอดส์รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ และสามารถใช้ชีวิตร่วมกับเชื้อได้อย่างคนปกติทั่วไป

Filed Under: ตรวจเอชไอวี Tagged With: HIV, ตรวจเอชไอวี, เอชไอวี, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

สารพัดประโยชน์ของถุงยางอนามัย

May 31, 2023 by 365team

สารพัดประโยชน์ของถุงยางอนามัย

ในปัจจุบัน ถุงยางอนามัยมีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการคุมกำเนิด ถุงยางอนามัยมีให้เลือกใช้ ทั้งแบบสำหรับผู้ชายและแบบสำหรับผู้หญิง แต่ที่นิยมแพร่หลายและนิยมใช้มากในปัจจุบันจะเป็นถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชาย

ประโยชน์ของถุงยางอนามัย

คุมกำเนิด

ถุงยางอนามัยช่วยป้องกันไม่ให้อสุจิเล็ดลอดเข้าไปในบริเวณช่องคลอดได้ ซึ่งการสวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์จะช่วยให้มีโอกาสคุมกำเนิดได้มากขึ้น หากสวมอย่างถูกวิธี

ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ถุงยางอนามัยช่วยลดโอกาสการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆได้ เช่น เอชไอวี หนองใน ซิฟิลิส หูดหงอนไก่ เป็นต้น เพราะการรติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสกันโดยตรงของสารคัดหลั่งและอวัยวะเพศ ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อได้ง่าย

ลดการบาดเจ็บ

ถุงยางอนามัย มีส่วนผสมของสารหล่อลื่นในปริมาณที่พอเหมาะ เมื่อใช้ขณะมีเพศสัมพันธ์จะทำให้ลดโอกาสบาดเจ็บของอีกฝ่ายได้ ทั้งนี้ถุงยางอนามัยสามารถใช้ร่วมกับสารหล่อลื่นได้อีกด้วย

เพิ่มอรรถรสทางเพศ

ถุงยางอนามัยในปัจจุบันมีให้เลือกใช้งานได้หลายรูปแบบ ทั้งผิวเรียบ ผิวไม่เรียบ ผิวขรุขระ มีสี มีกลิ่น ให้เลือกใช้งานได้ตามรสนิยมของผู้ใช้งาน จึงทำให้ช่วยเพิ่มอรรถรสในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ได้

ขั้นตอนการใส่ถุงยางอนามัย

ขั้นตอนการใส่ ถุงยางอนามัย
  • ฉีกซองถุงยางอนามัยออกมาแล้วเลือกด้านที่ถูกต้อง โดยเลือกด้านที่มีกระเปาะไว้ด้านนอก ใช้นิ้วมืออีกข้างบีบบริเวณหัวของถุงยางอนามัยเพื่อไล่อากาศ
  • แน่ใจก่อนว่าอวัยวะเพศแข็งตัวเต็มที่แล้วก่อนที่จะสวมถุงยางอนามัย เมื่อสวมแล้วรูดถุงยางอนามัยลงมาจนสุด เพื่อป้องกันการหลุดออกในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
  • ก่อนสอดใส่ตรวจดูให้แน่ใจว่าถุงยางอนามัยไม่ชำรุด ปลายถุงยางอนามัยไม่มีรอยรั่วหรือแตกออก บริเวณขอบที่รูดลงมาไม่มีรอยฉีกขาด
  • เมื่อเสร็จกิจแล้วควรถอดถุงยางอนามัยในขณะที่อวัยวะเพศแข็งตัวอยู่ เพื่อไม่ให้มีการหกเลอะเทอะ โดยใช้มือดึงออกจากส่วนโคนก่อน ดึงออกอย่างระมัดระวัง และอาจจะใช้กระดาษชำระห่อก่อนนำไปทิ้ง
  • หากมีเพศสัมพันธ์ในยกต่อไป ควรทิ้งถุงยางอนามัยอันเก่าแล้วเปลี่ยนอันใหม่ เนื่องจากประสิทธิภาพของการป้องกันเชื้อโรคจะลดลง

สาเหตุที่ทำให้ถุงยางอนามัยแตก

  • เลือกถุงยางอนามัยผิดขนาด
  • แกะบรรจุภัณฑ์ผิดวิธี หรือใช้ของมีคมในการแกะ
  • ถุงยางอนามัยหมดอายุ
  • สวมใส่ถุงยางผิดวิธี
  • เก็บรักษาถุงยางอนามัยที่ไม่เหมาะสม เช่น เก็บในที่ที่โดนแสงแดด
  • ใช้ถุงยางอนามัยแบบไม่มีสารหล่อลื่น

การเลือกขนาดถุงยางอนามัย

การเลือกขนาด ถุงยางอนามัย

ถุงยางอนามัยที่เหมาะสมกับแต่ละคน สามารถสังเกตตัวเองได้เมื่ออวัยวะเพศมีการแข็งตัวเกิดขึ้น โดยทั่วไปจะขยายได้ใหญ่กว่าเดิม 3-5 เท่า การเลือกขนาดถุงยางอนามัย ควรเลือกให้พอดี ไม่หลวม หรือคับแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้ฉีกขาดง่าย หรือหลุดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งขนาดของถุงยางจะแตกต่างกันไปตามแต่ละยี่ห้อ โดยวัดจากเส้นรอบวงองคชาต ไม่ใช่ความยาว การเลือกถุงยางอนามัยจะวัดได้จากรอบวงเป็นมิลลิเมตร ดังนี้

  • ถุงยางอนามัย ขนาด 49 มิลลิเมตร (เส้นรอบวงองคชาต 11-12 เซนติเมตร หรือ ประมาณ 4.5 นิ้ว)
  • ถุงยางอนามัยขนาด 52 มิลลิเมตร (เส้นรอบวงองคชาต 12-13 เซนติเมตร หรือ ประมาณ 5 นิ้ว)
  • ถุงยางอนามัย ขนาด 54 มิลลิเมตร (เส้นรอบวงองคชาต 13-14 เซนติเมตร หรือ ประมาณ 5.5 นิ้ว)
  • ถุงยางอนามัยขนาด 56 มิลลิเมตร (เส้นรอบวงองคชาต 14-15 เซนติเมตร หรือ ประมาณ 6 นิ้ว)

ขอบคุณข้อมูล : pri.moph, samitivejhospitals

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • เอชไอวีป้องกันได้ ด้วยการทาน “PrEP”
  • หนองในแท้ (Gonorrhoea) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ

ถุงยางอนามัย มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดมากถึง 98 % หากใช้อย่างถูกวิธี นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆได้อีกด้วย และที่สำคัญสามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายยาทั่วไป จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าถุงยางอนามัยมีประโยชน์สารพัด ช่วยป้องกันตัวคุณเองและคนรักของคุณ

Filed Under: ถุงยางอนามัย Tagged With: Condom, HIV, คุมกำเนิด, ถุงยาง, ถุงยางอนามัย, เอชไอวี, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เอชไอวีป้องกันได้ ด้วยการทาน “PrEP”

May 24, 2023 by 365team

เอชไอวีป้องกันได้ ด้วยการทาน PrEP

PrEP ย่อมาจาก Pre Exposure Prophylaxis คือ รูปแบบของการป้องกันเชื้อเอชไอวี ประเภทหนึ่ง โดยเป็นการให้ยากับคนที่ยังไม่ได้ติดเชื้อหรือป่วยโรคนี้ เพียงแค่อาจมีความเสี่ยงการติดเชื้อในอนาคต ซึ่ง เพร็พ ทานวันละ 1 เม็ด ทานทุกวัน ใช้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มชายรักชาย สาวประเภทสอง หรือผู้ที่มีพฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย คู่นอนมีเชื้อเอชไอวี เป็นต้น

ใครบ้างที่ควรทาน PrEP

PrEP เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี เช่น

  • ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนอยู่เป็นประจำ
  • ผู้ที่มีคู่นอนผลเลือดบวก
  • ผู้ที่มาขอรับ Post-Exposure Prophylaxis (PEP)* อยู่เป็นประจำ
  • ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย
  • ชายหรือหญิงที่ทำงานบริการ
  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

ขั้นตอนการรับ PrEP

ขั้นตอนการรับ PrEP
  • ก่อนมารับ PrEP ควรงดมีเพศสัมพันธ์ 2 สัปดาห์
  • ผู้รับบริการจะต้องได้รับการตรวจเอชไอวี และตรวจการทำงานของตับและไต
  • ทานติดต่อกันอย่างน้อย 7 วันก่อนมีเพศสัมพันธ์ 
  • หลังจากที่ได้รับยา PrEP ครั้งแรกจะนัดตรวจเลือดทุก 1 – 3 เดือน 
  • หากต้องการหยุดยา ผู้มารับบริการต้องมาตรวจเลือดก่อนหยุดยา PrEP ทุกครั้ง

การรับประทาน PrEP ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เนื่องจากต้องมีการตรวจเลือด ติดตามและต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

วิธีทาน PrEP มีกี่แบบ ?

Daily PrEP

  • ทานวันละ 1 เม็ด ให้ตรงเวลาทุกวัน

On Demand PrEP 

  • ทาน 2 เม็ด “ก่อน” มีเพศสัมพันธ์ 2-24 ชั่วโมง
  • ทาน 1 เม็ด “หลัง” ทานยาครั้งแรก 24 ชั่วโมง
  • ทานอีก 1 เม็ด “หลัง” ทานยาครั้งแรก 48 ชั่วโมง

PrEP มีผลข้างเคียงหรือไม่ ?

คนส่วนมากมักจะไม่มีผลข้างเคียงใดๆ แต่สำหรับคนที่มีผลข้างเคียงจะมีอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • คลื่นไส้
  • เวียนศีรษะ
  • ปวดหัว
  • ปวดท้องและท้องเสีย

อาการเหล่านี้จะหายไปเองได้ใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่ถ้ามีอาการนานมากกว่านั้นควรรีบปรึกษาแพทย์

ทำอย่างไรเมื่อลืมทาน PrEP

ทำอย่างไรเมื่อลืมทาน PrEP

ในกรณีคุณที่ลืมทาน PrEP หรือทานไม่ตรงเวลา เมื่อนึกออกให้รับประทานทันที แต่ถ้าหากใกล้ถึงเวลาการทานครั้งต่อไปอีก 2 – 3 ชั่วโมง ให้ทานเวลาครั้งต่อไปแทน แต่แนะนำว่าควรต้องทานให้ตรงเวลาทุกวัน เพื่อประสิทธิภาพของการป้องกัน

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • หนองในแท้ (Gonorrhoea) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ
  • ค่า CD4 คืออะไร?

PrEP เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี แต่ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ และใช้ร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เนื่องจาก PrEPไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อื่นๆ ได้

Filed Under: PrEP Tagged With: HIV, PrEP, ป้องกันเอชไอวี, ยาต้านไวรัส, เพร็พ, เอชไอวี

ค่า CD4 คืออะไร?

May 3, 2023 by thaihiv365 team

การตรวจนับ ค่า CD4 (ซีดีโฟร์) ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในการวินิจฉัย การรักษา และติดตาม การติดเชื้อเอชไอวี การรักษาภาวะโรคเอดส์ เป็นต้น ค่า CD4 หมายถึง จำนวนเซลล์ CD4 หรือเซลล์ T-helper ในเลือด เซลล์ CD4 เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ที่ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีหรือโรคอื่นๆ ได้ดี โดยเฉพาะไวรัสเอชไอวีนี้จะมุ่งเข้าโจมตีและทำลายเซลล์ CD4 เป็นหลัก ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และทำให้ร่างกายอ่อนแอต่อการติดเชื้อและการเจ็บป่วยค่า CD4 เป็นตัววัดที่สำคัญของสุขภาพและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ใช้เพื่อระบุระยะของโรค ความจำเป็นในการรักษา และประสิทธิผลของยารักษาเอชไอวี บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายว่าจำนวน CD4 คืออะไร วิธีการใช้ในการจัดการเอชไอวีและโรคเอดส์ และความสำคัญในการวินิจฉัย การรักษา และการติดตามโรค

ค่า CD4 คืออะไร

จำนวน ค่า CD4 สัมพันธ์กับ HIV อย่างไร?

  • จำนวน CD4 และระบบภูมิคุ้มกันเซลล์
    • CD4 มีบทบาทสำคัญในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน พวกมันช่วยกระตุ้นและประสานเซลล์ภูมิคุ้มกันอื่นๆ เช่น บีเซลล์ และเซลล์ทีเป็นพิษต่อเซลล์ในการต่อสู้กับการติดเชื้อ เมื่อค่า CD4 ต่ำ ระบบภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอลง และร่างกายจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและโรคต่างๆ มากขึ้น
  • จำนวน CD4 และการลุกลามของเชื้อ HIV
    • เชื้อ HIV โจมตีและทำลายเซลล์ CD4 ทำให้จำนวนเซลล์ T-helper ในร่างกายลดลง เมื่อจำนวน CD4 ลดลง ระบบภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอลง และความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และความเจ็บป่วยก็เพิ่มขึ้น เอชไอวีดำเนินไปตามระยะต่างๆ และจำนวน CD4 จะใช้ในการกำหนดระยะของโรค
ระยะของโรคขึ้นอยู่กับจำนวน ค่า CD4

ระยะของโรคเอชไอวีขึ้นอยู่กับจำนวน CD4 ดังนี้

  • ระยะที่ 1: CD4 มีค่ามากกว่า 500 เซลล์/ลบ.มม.
  • ระยะที่ 2: มีค่า CD4 ระหว่าง 200 ถึง 499 เซลล์/ลบ.มม.
  • ระยะที่ 3: มีค่า CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม.

จำนวน CD4 และการแพร่เชื้อเอชไอวี การนับ CD4 ยังมีบทบาทในการแพร่เชื้อเอชไอวี ผู้ที่ติดเชื้อที่มีปริมาณ CD4 ต่ำมีแนวโน้มที่จะแพร่เชื้อไวรัสไปยังผู้อื่น นี่เป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ทำให้พวกมันไวต่อการติดเชื้อ รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) ซึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อเอชไอวี

การนับ CD4 และการรักษาเอชไอวีการนับ CD4 ใช้เพื่อกำหนดความจำเป็นในการรักษาเอชไอวี และติดตามประสิทธิภาพของยารักษาเอชไอวี การรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ART) เป็นการรักษามาตรฐานสำหรับเอชไอวี และได้ผลโดยการยับยั้งไวรัสและฟื้นฟูการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน จำนวน CD4 ใช้เพื่อระบุว่าเมื่อใดควรเริ่ม ART การรักษาทำงานได้ดีเพียงใด และเมื่อใดที่ควรเปลี่ยนแปลงสูตรยา

วิธีการตรวจ ค่า CD4

การตรวจค่า CD4 จะวัดจำนวนเซลล์ T-helper ในเลือด มีหลายวิธีในการทดสอบ CD4 รวมถึงโฟลว์ไซโตเมทรี การทดสอบ ณ จุดดูแล และการทดสอบในห้องปฏิบัติการ Flow cytometry เป็นวิธีการทดสอบ CD4 ที่ใช้บ่อยที่สุด ใช้ตัวอย่างเลือดเพื่อวัดจำนวนเซลล์ CD4 และคำนวณจำนวน CD4 การทดสอบ ณ จุดดูแลคือการทดสอบ CD4 ที่รวดเร็วซึ่งให้ผลในเวลาน้อยกว่า 30 นาที โดยทั่วไปจะใช้ในการตั้งค่าที่มีทรัพยากรจำกัด ซึ่งการเข้าถึงการทดสอบในห้องปฏิบัติการมีจำกัด ความถี่ในการตรวจ CD4 แนะนำให้ตรวจ CD4 ในการวินิจฉัยโรค และทุก 3-6 เดือนสำหรับผู้ที่ติดเชื้อ HIV/AIDS ซึ่งไม่ได้อยู่ใน ART สำหรับผู้ที่ใช้ยา ART แนะนำให้ตรวจ CD4 ในการวินิจฉัย เมื่อเริ่มใช้ยา ART และทุก ๆ หกถึง 12 เดือนหลังจากนั้น

การตีความผลการตรวจ CD4

จำนวน CD4 ถูกรายงานเป็นจำนวนเซลล์ CD4 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร (มม. 3) ของเลือด ค่า CD4 ปกติในผู้ใหญ่มีค่าตั้งแต่ 500 ถึง 1,500 เซลล์/ลบ.มม. อย่างไรก็ตาม จำนวน CD4 อาจแตกต่างกันไปตามอายุ เพศ และปัจจัยอื่นๆ ค่า CD4 ที่ต่ำบ่งชี้ว่าระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และค่า CD4 ที่สูงกว่าบ่งชี้ว่าระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น จำนวน CD4 ใช้ในการกำหนดระยะของโรคเอชไอวีและความจำเป็นในการรักษาด้วยยาต้านไวรัส

ข้อจำกัดของการตรวจ CD4

การทดสอบ CD4 มีข้อจำกัดบางประการ จำนวน CD4 สามารถผันผวนได้เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การติดเชื้อ การฉีดวัคซีน และความเครียด จำนวน CD4 อาจไม่สะท้อนถึงการทำงานโดยรวมของระบบภูมิคุ้มกัน และบางคนที่มีจำนวน CD4 ต่ำอาจมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่รุนแรง

ปริมาณ CD4 และการรักษาเอชไอวี

การรักษาด้วยยาต้านไวรัสการรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ART) เป็นการรักษามาตรฐานสำหรับเอชไอวี/เอดส์ ART ทำงานโดยการยับยั้งไวรัสและฟื้นฟูการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ยา ART มักประกอบด้วยยาต้านไวรัสตั้งแต่สามชนิดขึ้นไปจากประเภทต่างๆ กัน

  • จำนวน CD4 และการเริ่มต้น ART จำนวน CD4 ใช้เพื่อกำหนดเวลาที่จะเริ่ม ART โดยทั่วไป แนะนำให้ใช้ ART สำหรับผู้ที่ติดเชื้อ HIV/AIDS โดยมีค่า CD4 ต่ำกว่า 350 เซลล์/ลบ.มม. อย่างไรก็ตาม อาจแนะนำให้ใช้ยา ART สำหรับผู้ที่มีปริมาณ CD4 สูงกว่า 350 เซลล์/ลบ.มม. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพโดยรวม และปัจจัยอื่นๆ ของบุคคลนั้นๆ
  • ปริมาณ CD4 และการเกาะติดของยา ARTยา ART ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการใช้ยาอย่างเคร่งครัดจึงจะได้ผล จำนวน CD4 ใช้เพื่อตรวจสอบความสม่ำเสมอและประสิทธิผลของ ART ปริมาณ CD4 ที่เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอเป็นสัญญาณว่าการรักษาได้ผล
  • จำนวน CD4 และการตอบสนองของ ART การนับ CD4 ยังใช้เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของ ART เมื่อเวลาผ่านไป ยา ART สามารถลดปริมาณไวรัสและเพิ่มจำนวน CD4 การเพิ่มขึ้นของจำนวน CD4 บ่งชี้ถึงระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงขึ้น และความเสี่ยงในการติดเชื้อและการเจ็บป่วยที่ลดลง
ความสัมพันธ์ระหว่าง ค่า CD4 & HIV

การนับ CD4 เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการเอชไอวีและโรคเอดส์ ใช้เพื่อระบุระยะของโรคเอชไอวี ความจำเป็นในการรักษา และประสิทธิภาพของยารักษาเอชไอวี แนะนำให้ตรวจ CD4 ในการวินิจฉัยและหลังจากนั้นเป็นประจำสำหรับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ART คือ การรักษามาตรฐานสำหรับเอชไอวีและโรคเอดส์ และจำนวน CD4 จะใช้เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามและการตอบสนองของยาต้าน ART

อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

CD4 ที่เท่าไหร่ถึงเรียกว่าระดับน่าเป็นห่วง

แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน

อนาคตของการตรวจ CD4 และการรักษา HIV/AIDS นั้นสดใส ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการทดสอบ CD4 อาจนำไปสู่วิธีการทดสอบ CD4 ที่แม่นยำและเข้าถึงได้มากขึ้น ยาและสูตรการรักษาเอชไอวีแบบใหม่อาจให้ทางเลือกมากขึ้นสำหรับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ด้วยการวิจัยและความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

Filed Under: เอดส์ Tagged With: AIDS, CD4, HIV, ซีดีโฟร์, รักษาเอชไอวี, รักษาเอดส์, วินิจฉัยเอชไอวี, ไวรัสเอชไอวี

เอชไอวี : สาเหตุ อาการ การรักษา และการป้องกัน

April 4, 2023 by 365team

เอชไอวี สาเหตุ อาการ การรักษา และการป้องกัน

เอชไอวี หรือ Human Immunodeficiency Virus (HIV) เป็นไวรัสที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงโดยการโจมตีเซลล์ CD4 ซึ่งมีหน้าที่ในการต่อสู้กับการติดเชื้อและโรคต่างๆ เอชไอวีสามารถพัฒนาไปสู่โรคเอดส์ได้ หากไม่ได้รับการรักษา จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 38 ล้านคนในปี 2562 โดยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1.7 ล้านคนในปีนั้น ในบทความนี้ เราจะพูดถึงเอชไอวี สาเหตุ อาการ การรักษา และการป้องกัน

เอชไอวี คืออะไร ?

เอชไอวี (HIV) เป็นไวรัสที่โจมตีระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อและโรคต่างๆ ได้ยาก สามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และการถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอดบุตร หรือการให้นมบุตร เอชไอวีสามารถพัฒนาไปสู่โรคเอดส์ได้หากไม่ได้รับการรักษา

เอชไอวีสาเหตุเกิดจากอะไร

เอชไอวีสาเหตุเกิดจากอะไร

เอชไอวี (HIV) เกิดจากไวรัสที่เรียกว่า Human Immunodeficiency Virus ไวรัสโจมตีระบบภูมิคุ้มกันโดยเป้าหมายอยู่ที่เซลล์ CD4 ซึ่งมีหน้าที่ต่อสู้กับการติดเชื้อและโรคต่างๆ เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายจะเริ่มเพิ่มจำนวนและแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การลดจำนวนเซลล์ CD4 ซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง

เอชไอวีติดต่อกันได้อย่างไร ?

เชื้อเอชไอวี สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และการถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอดบุตร หรือการให้นมบุตร การแพร่เชื้อทางเพศสัมพันธ์เป็นวิธีที่พบได้บ่อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก

เอชไอวีอาการเป็นอย่างไร ?

อาการของเอชไอวี อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนอาจไม่มีอาการเลย ในขณะที่บางคนอาจมีอาการคล้ายไข้หวัดภายในสองสามสัปดาห์แรกของการติดเชื้อ อาการเหล่านี้อาจรวมถึงมีไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองบวม และผื่น อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้อาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคอื่นๆ ได้ง่าย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้มีความเสี่ยงควรรีบตรวจหาเชื้อเอชไอวีโดยเร็ว

การวินิจฉัยเอชไอวี

เอชไอวี (HIV) สามารถวินิจฉัยได้โดยการตรวจเลือดเพื่อหาแอนติบอดี้ต่อไวรัส การตรวจหาเชื้อเอชไอวีเป็นสิ่งสำคัญ หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถเข้าสู่กระบวนการรักษาได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้แสดงอาการ สิ่งสำคัญคือ หากคุณมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ควรเข้ารับการตรวจอยู่เป็นประจำ

การป้องกันเอช ไอ วี

การป้องกันเอชไอวี

มีหลายวิธีในการป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวี ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยใช้ถุงยางอนามัย ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น และการตรวจหาเชื้อเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ ยังมีการป้องกันเอชไอวีโดยการรับประทานยาก่อนสัมผัสเชื้อ (PrEP) เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี และ การรับประทานยาหลังสัมผัสเชื้อ (PEP) เหมาะสำหรับผู้ที่พึ่งผ่านความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีมาใช้ในกรณีฉุกเฉินทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังสัมผัสเชื้อ

การรักษาเอชไอวี

แม้ว่าในขณะนี้ยังไม่มียารักษาเอชไอวี แต่มียาที่สามารถช่วยชะลอการลุกลามของไวรัสและป้องกันการเกิดโรคเอดส์ได้ ยาเหล่านี้เรียกว่า ยาต้านไวรัส (ART) และสามารถช่วยลดปริมาณไวรัสในร่างกาย เพิ่มจำนวนเซลล์ CD4 และทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น สิ่งสำคัญคือ ต้องรับประทานยาเหล่านี้ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และต้องรับประทานไปตลอดชีวิต จนกว่าจะมีวิธีรักษาที่ดีกว่านี้ต่อไปในอนาคต

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

  • แผลริมอ่อน | Chancroid
  • ไวรัสตับอักเสบบี สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ

แม้ว่าในปัจจุบันนี้ ยังไม่มีวิธีรักษาเอชไอวีให้หายขาด แต่การรักษาด้วยยาต้านไวรัส สามารถช่วยชะลอการลุกลามของไวรัสและป้องกันการเกิดโรคเอดส์ได้ สิ่งสำคัญคือ ต้องเข้ารับการรักษาอยู่ประจำ รับประทานยาให้ตรงเวลา พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีก็มีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมือนคนปกติทั่วไป

Filed Under: เอชไอวี HIV Tagged With: AIDS, HIV, การติดเชื้อ, การป้องกัน, การรักษา, การวินิจฉัย, การแพร่เชื้อ, ระบบภูมิคุ้มกัน, เซลล์ CD4, ไวรัส

แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน

January 18, 2023 by thaihiv365 team

ถ้าพูดถึง HIV กับ AIDS คนหลายคน ก็เกิดมีความกลัวอย่างเห็นได้ชัด เพราะยังมีชุดความรู้ผิดๆ เกี่ยวกับเชื้อนี้อยู่มาก เนื่องจากยังไม่ค่อยมีสื่อเรื่องเพศศึกษา และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในสถานศึกษาอย่างจริงจัง พอได้ยินว่า “เลือดบวก” ก็จะตีความว่าเขาเป็นโรคเอดส์ทันที ในบทความนี้จะแยกให้เห็นว่า HIV กับ AIDS ไม่ได้เหมือนกันอย่างที่คิดครับ

แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน

HIV กับ AIDS แตกต่างกันอย่างไร?

ความแตกต่างของ HIV กับ AIDS นั่นง่ายมาก เพราะ HIV คือ ไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค AIDS หมายความว่า AIDS เป็นเพียงอาการของผู้ที่ติดเชื้อ HIV และไม่ได้รับการรักษาเท่านั้น จึงจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคเอดส์ได้ในตอนท้าย สรุปอีกครั้งว่า HIV เป็นเชื้อไวรัส แต่ AIDS เป็นเพียงอาการของคนที่ไม่ได้รักษานั่นเอง ซึ่งกว่าจะกลายเป็นโรคแทรกซ้อน ไวรัสเอชไอวีจะต้องเข้าสู่ร่างกายมาสักระยะและผู้นั้นไม่ได้ทานยาต้านไวรัสเอชไอวี ตัวไวรัสจึงแพร่กระจายตัวไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้พังลงได้ในที่สุด

HIV ติดต่อได้ผ่าน

  • การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น และ
  • การติดเชื้อจากแม่สู่ลูก (พบได้น้อย)
HIV ติดต่อได้ผ่าน

อาการของ HIV กับ AIDS

ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า AIDS ที่เป็นอาการของผู้ติดเชื้อ HIV นั้นมีความเกี่ยวเนื่องกัน แต่ในระยะแรกที่ได้รับเชื้อมาใหม่ๆ คนๆ นั้นจะแทบไม่มีอาการใดปรากฏให้เห็นเลย หรือถ้ามีก็น้อยมากจนไม่ทันสังเกต เพราะอาจคิดว่าป่วยเป็นโรคธรรมดาทั่วไป โดยเราจะแบ่งระยะอาการออกเป็น 3 ระยะดังนี้

  1. ระยะติดเชื้อเฉียบพลัน : ระยะนี้จะเกิดขึ้นหลังจากได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวีมาแล้ว ประมาณ 2-4 สัปดาห์ ซึ่งจะมีอาการคล้ายกับคนเป็นไข้หวัด เช่น
    • ต่อมน้ำเหลืองโต
    • มีผื่นขึ้นตามร่างกาย
    • ปวดเนื้อเมื่อยตัว ไม่มีเรี่ยวแรง
    • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องเสีย
    • เป็นไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เจ็บคอ
  2. ระยะเริ่มแสดงอาการ : ระยะนี้ จะค่อยๆ เริ่มมีอาการ โดยจะใช้เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 7-10 ปีขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ติดเชื้อ แต่ก็ยังไม่อาจระบุได้ว่าเข้าสู่ภาวะเอดส์อย่างเต็มขั้น ซึ่งอาการจะค่อนข้างคล้ายคลึงในช่วงแรกที่ติดเชื้อ แต่อาจมีโรคอย่างอื่นด้วย เช่น
    • โรคงูสวัด
    • เกิดเชื้อราในช่องปาก
    • มีแผลเริมที่อวัยวะเพศ
    • พบผื่นคันตามร่างกาย คล้ายคนเป็นภูมิแพ้
  3. ระยะเอดส์ : ระยะนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีภูมิต้านทาน ในระดับต่ำมากๆ หรือผู้ที่ติดเชื้อแต่ไม่ได้รับการรักษา เชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าไปทำลายเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย และไม่มีภูมิต้านทานมาช่วยได้ ส่งผลทำให้มีโรคฉวยโอกาสเข้ามาได้บ่อยๆ เช่น
    • วัณโรค
    • โรคติดเชื้อในปอด
    • โรคติดเชื้อในสมอง
    • โรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น

มาป้องกันตัวเองจาก HIV กับ AIDS กันเถอะ!

อยากห่างไกลจากโรคเอดส์ ทำได้ง่ายๆ เลยเรื่องเดียวคือ ให้ความสำคัญกับการป้องกันตัวเอง เพราะเมื่อเราเซฟตัวเองดี คนอื่นรอบข้างก็ไม่มีความเสี่ยงไปด้วย

  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ รักเดียว ใจเดียว
  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • หมั่นตรวจเอชไอวีเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

HIV กับ AIDS ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

หากเราเรียนรู้และยอมรับเกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้น จะเห็นได้ว่า การอยู่ร่วมกับผู้มีเชื้อเอชไอวีไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวแต่อย่างใด เพราะเขาเหล่านี้ก็คือมนุษย์ปกติเหมือนกับเรา เพียงแต่เจ็บป่วยด้วยโรคประเภทหนึ่งเท่านั้น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนเรา เรียน ทำงาน หรือแม้แต่มีครอบครัว มีลูกได้เหมือนกัน ในความเป็นจริง คนที่ติดเชื้อและทำการรักษาเอชไอวีด้วยยาต้าน จะถูกกลไกของยาคอยควบคุมเชื้อไม่ให้แพร่กระจาย ไปทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ และเขาจะได้รับการติดตามผลการรักษาจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพราะยานี้จำเป็นต้องทานไปตลอดชีวิต จนกว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ถูกพัฒนามาให้กลุ่มผู้ติดเชื้อได้รักษาเอชไอวีให้หายขาดไปได้จริงจากร่างกายในอนาคตครับ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

  • โรคฝีมะม่วง ภัยร้ายใกล้ตัว
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”

Filed Under: เอชไอวี HIV Tagged With: AIDS, HIV, โรคเอดส์, ไวรัสเอชไอวี

  • Go to page 1
  • Go to page 2
  • Go to Next Page »

Primary Sidebar

Recent Posts

  • สาเหตุ อาการ และการรักษา โรคซิฟิลิส
  • การตรวจ HIV ในปัจจุบัน | HIV Test
  • PEP ป้องกัน HIV ในกรณีฉุกเฉิน
  • สารพัดประโยชน์ของถุงยางอนามัย
  • เอชไอวีป้องกันได้ ด้วยการทาน “PrEP”

Archives

  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • หนองในแท้
  • เอชไอวี HIV
  • เอดส์
  • แผลริมอ่อน
  • โรคซิฟิลิส
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง
  • ไวรัสตับอักเสบบี

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in