• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

เอดส์

ตรวจหาเชื้อเอชไอวีไม่เจอ ควรตรวจซ้ำอีกรอบหรือไม่?

October 19, 2022 by thaihiv365 team

ตรวจหาเชื้อเอชไอวีไม่เจอ

การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี  ถ้าผลตรวจออกมาเป็นลบ หรือไม่เจอเชื้อ ก็เป็นการได้เริ่มต้นป้องกันตัวเองอย่างจริงจัง หรือถ้าตรวจเจอเชื้อ ก็ถือว่าเป็นการรู้ตัวก่อนที่จะป่วยขึ้นมา เพื่อได้เข้าสู่กระบวนการรักษาแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่ป่วยหรือ เสียชีวิตจากโรคเอดส์ อีกทั้งสามารถป้องกันคนที่เรารักและคนอื่นๆ ไม่ให้ติดเชื้อจากเราได้

การตรวจหาเชื้อเอชไอวี สามารถแบ่ง 2 ลักษณะ คือ ตรวจคัดกรอง และตรวจยืนยัน

1. การตรวจคัดกรอง คือ การตรวจเพื่อกรองบุคคลผู้มีความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อเอชไอวี ว่ามีโอกาสได้รับเชื้อหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจโดย Rapid Test เป็นชุดตรวจที่ตรวจง่าย รู้ผลรวดเร็วภายในไม่กี่นาที ซึ่งมีความแม่นยำสูง 

หากผลตรวจพบว่า มีโอกาสพบเชื้อเอชไอวี ผู้ตรวจควรดำเนินการตรวจยืนยันที่โรงพยาบาล หรือคลินิกได้ทันที การตรวจแบบคัดกรองนี้ไม่สามารถยืนยัน หรือสรุปได้ว่าคุณเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี

2. การตรวจยืนยัน คือ การตรวจยืนยัน อีกครั้งหลังจาก คุณทำการตรวจคัดกรองมาแล้ว และพบว่ามีโอกาส ได้รับการติดเชื้อเอชไอวี 

ทำไมถึงต้องตรวจคัดกรองก่อน เพราะปัจจุบัน การตรวจยืนยัน ยังอาจใช้เวลานาน กว่าจะทราบผล และมีผู้ป่วยมารับบริการจำนวนมาก ดังนั้นหากมีการตรวจคัดกรองมาก่อน ก็จะสามารถช่วยคัดกรองผู้ป่วย ที่มีโอกาสพบเชื้อ กับผู้ที่ไม่มีโอกาสพบเชื้อ ให้สามารถเข้าสู่ระบบการตรวจรักษาได้เร็วขึ้น และลดภาระงาน ในการตรวจของเจ้าหน้าที่ได้มากขึ้น

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ เกิดขึ้นได้จากอะไรบ้าง

การจะแพร่เชื้อได้นั้น จะต้องมีปริมาณของเชื้อไวรัสมากพอสมควร โดยเกณฑ์ที่ใช้เทียบเคียง คือ ต้องมีปริมาณไวรัสในเลือดตั้งแต่ 200 – 1,000 copies/ซีซีของเลือด จึงจะสามารถแพร่เชื้อได้ และชุดตรวจเอชไอวีในปัจจุบัน สามารถตรวจได้ต่ำสุดตั้งแต่ 20-50 copies/ซีซีของเลือด

การตรวจเอชไอวีไม่เจอนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ จาก 2 กรณี ได้แก่

  • กรณีที่ 1 คือ ระยะเวลาในการตรวจนั้น เร็วเกินไป ผู้ที่ได้รับความเสี่ยงมา บางคนอาจจะใจร้อน รีบตรวจเกินไปร่างกายยังไม่มีการสร้างแอนติบอดีขึ้นมา ทำให้หากตรวจในระยะเวลาที่เร็วเกินไปอาจจะตรวจไม่เจอเอดส์ นั่นเอง 

    ปัจจุบันวิธีการตรวจจะพัฒนาขึ้นมาก และสามารถตรวจได้เร็วสุดภายในหนึ่งสัปดาห์ ด้วยวิธีการตรวจแบบ NAT แต่หากตรวจด้วยวิธีอื่น ระยะเวลาที่ดีที่สุดที่สมควรตรวจ คือ 30 วัน และควรตรวจซ้ำอีกทุก 30 วัน เป็นเวลา 3 เดือน หรือตรวจอีกครั้งหลัง 3 เดือน ก็สามารถทำได้ แต่หากตรวจพบว่ามีโอกาสพบเชื้อตั้งแต่ครั้งแรก ให้รีบตรวจยืนยันที่โรงพยาบาล หรือคลินิก ทันที หากไม่พบเชื้อถึงจะสามารถปิดเคสได้

  • กรณีที่ 2 คือ เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีอยู่แล้ว โดยรับประทานยาต้านไวรัสสอย่างต่อเนื่อง ในทุกๆ วัน ติดต่อกันนานกว่า 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งบุคคลเหล่านี้มีความเป็นไปได้ที่จะมีปริมาณไวรัสเอชไอวีอยู่ในเลือดต่ำกว่า 50 copies ต่อซีซีของเลือด ชุดทดสอบจึงตรวจไม่เจอ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า เชื้อหมดจากร่างกายแล้ว เพียงแต่ทานยาต้านไวรัสต่อเนื่อง แต่หากหยุดทานยา เชื้อก็จะเพิ่มขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์
ตรวจอีกครั้งหลัง 3 เดือน

ตรวจหาเชื้อ HIV มีโอกาสได้ผลผิดพลาดไหม?

มีโอกาสผิดพลาด คือ ได้รับผลการทดสอบเอชไอวีผิดพลาด จากการทดสอบที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ผิดพลาดตามไปด้วย เพราะการทดสอบมีระยะเวลา 3-6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ใครๆ ก็สามารถติดเชื้อเอชไอวีได้ แต่ไวรัสจะไม่ปรากฏในการทดสอบแอนติบอดี ซึ่งหมายความว่าอาจมีคนติดเชื้อเอชไอวีในช่วงเวลาดังกล่าว แต่จะไม่ปรากฏในการทดสอบแอนติบอดีจนกว่าจะผ่านไปนาน 6 เดือน

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ เท่ากับไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อแล้วหรือเปล่า?

  • ระยะเวลาในการตรวจนั้น เร็วเกินไป หลังไปเสี่ยงสัมผัสเชื้อมา  แนะนำให้ตรวจอีกรอบ เพื่อความมั่นใจ ในระยะที่น่าเชื่อถือ หรือระยะการตรวจเชื้อ หากไม่พบเชื้อถึงจะสรุปได้ว่าไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อ
  • การกินยาต้านไวรัสที่ทานมาอย่างยาวนาน ออกฤทธิ์ไปกดเชื้อไว้ ไม่ให้เพิ่มจำนวนขึ้น ไม่ให้เชื้อทำอันตรายต่อร่างกายไปมากกว่านี้ ซึ่งการตรวจอาจจะไม่เจอเชื้อไวรัส แต่เชื้อไวรัสเอชไอวียังคงอยู่ในร่างกายไม่หายขาด สรุปก็คือเป็นผู้ติดเชื้ออยู่นั่นเอง

U = U ตรวจไม่เจอเชื้อเอชไอวี = ไม่แพร่เชื้อ จริงหรือไม่

U=U หรือ Undetectable = Untransmittable คือ ไม่เจอ = ไม่แพร่ ดังนั้นหากทำการตรวจไม่เจอเชื้อเอชไอวี ก็จะไม่สามารถถ่ายทอด หรือแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้

หากตรวจเลือดแล้ว ไม่เจอว่ามีการติดเชื้อ และไม่ทำตัวเองให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อขึ้นอีกได้ การตรวจไม่เจอว่าติดเชื้อ ก็คือไม่แพร่เชื้อเช่นกัน แต่ถ้าหากมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ เช่น การไม่สวมถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์ หรือการใช้ PrEP หลังจากเสี่ยงสัมผัสเชื้อ ก็ทำให้เป็นผู้ที่ไม่ติดเชื้อมีโอกาสติดเชื้อได้อยู่

บทความอื่นๆเพิ่มเติม

ควรตรวจ HIV เมื่อไร?

เอชไอวี(HIV) ป้องกันง่ายกว่ารักษา

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ตรวจเอดส์ ไม่เจอ เกิดอะไรขึ้นกันแน่ ? http://www.thaihivhometest.com/ตรวจเอดส์-ไม่เจอ/
  • ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ (Undetectable = Untransmissable, U = U) http://www.thaiaidssociety.org/index.php?option=com_content&view=article&id=179&Itemid=90

Filed Under: ตรวจเอชไอวี, เอชไอวี HIV Tagged With: HIV, การตรวจหาเชื้อเอชไอวี, ตรวจเอชไอวี, ตรวจเอชไอวีไม่เจอ, เอชไอวี, เอดส์, โรคเอดส์

การรักษาตุ่ม PPE ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี

September 16, 2022 by thaihiv365 team

การรักษาตุ่ม PPE

โรคตุ่มคันในคนที่เป็นผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี จะมีอาการแสดงหลายระดับขึ้นอยู่กับระยะติดใหม่ๆ ถ้ามีการดูแลร่างกายดี ภูมิคุ้มกันยังดีอยู่ ก็จะไม่มีอาการอะไรเหมือนคนปกติทั่วไป ถ้าไม่มีการตรวจเลือดก็จะไม่ทราบว่าผู้นั้นมีเชื้อเอชไอวี อยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป หากไม่กินยาต้านไวรัส หรือปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์แนะนำ ภูมิคุ้มกันก็จะลดลง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่างๆทำให้เจ็บป่วยได้ 

PPE คืออะไร?

PPE ย่อมาจาก Pruritic Papular Eruption in HIV ซึ่ง PPE นั้น มักพบในผู้ป่วยเอชไอวี ที่มีอาการมากแล้ว โดยรอยโรค PPE อาจเป็นตัวสะท้อนบอกสถานะของภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยได้ คือการมี PPE อาจหมายถึงภาวะภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยต่ำแล้ว

PPE เกิดจากอะไร?

ยังไม่ทราบกลไกการเกิดและสาเหตุ ของการเกิด ตุ่ม PPE อย่างชัดเจน เชื่อว่าเป็นปฏิกิริยาการแพ้ของผิวหนังของผู้ป่วยต่อแมลงกัดต่อยเช่นมด ยุง ดังจะเห็นได้ว่า PPE พบได้มากกว่าที่บริเวณนอกร่มผ้า

PPE ติดต่อมั้ย 

PPE ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ เชื้อเอชไอวี เป็นโรคติดต่อ ควรระวัง โดยการไม่สัมผัสเลือดหนองจากแผล เพราะ เชื้อ เอชไอวีสามารถติดต่อทางสารคัดหลั่งต่างๆจากร่างกาย เข้าทางผิวหนังที่มีแผลของเราได้

ลักษณะตุ่ม PPE

  • ลักษณะเป็นตุ่มคัน คล้ายยุงแมลงกัด มีรอยแดงอักเสบ รอยดำหลังการอักเสบ อาจมีหนองจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่มาจากการเกา
  • พบได้ทั้งในและนอกร่มผ้า โดยพบที่บริเวณนอกร่มผ้าได้บ่อยกว่า
  • พบในระยะที่ภูมิคุ้มกันต่ำ คือ อาการของโรคเอดส์ เป็นค่อนข้างมากแล้ว
  • มีอาการเรื้อรัง
  • มีอาการคันมากจึงพบมีรอยเกาและมีรอยดำ รอยแผลเป็นหลังเกาอยู่
  • มักเป็นที่แขนขา มากกว่าที่ใบหน้าค่ะ

อาการของการเกิดตุ่ม PPE

หากตุ่มที่เกิดขึ้นนั้น ยุบลงภายใน 5 วัน ก็ไม่น่าใช่ตุ่ม PPE อีกทั้ง หากไม่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อก็ไม่น่าจะเป็นผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี เพราะว่าตุ่ม PPE นั้น มักพบในผู้ป่วยที่เป็นติดเชื้อแล้ว และอาจจะมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้เรื้อรัง น้ำหนักลด เหงื่อออกตอนกลางคืน ท้องเสียเรื้อรัง เป็นต้น 

กินยาแก้แพ้ Antihistamine

การรักษาตุ่ม PPE

โดยทั่วไปจะเป็นการรักษาตามอาการ คือ ห้ามเกา ดูแลผิวไม่ให้แห้ง กินยาแก้แพ้แก้คัน ทายาแก้คัน แต่การทายา จริงๆแล้วก็ช่วยให้หายคันชั่วคราว ถ้าจะรักษาให้ตุ่มหายและไม่คัน ควรเพิ่มภูมิคุ้มกันจะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ เพราะตุ่มนี้มาจากเมื่อภูมิคุ้มกันลดลงร่างกายติดเชื้อต่างๆแทรกซ้อนได้ง่าย จึงติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังได้ ทำให้เกิดเป็นตุ่มคัน และอาจมีหนอง

  • ห้ามเกา –  เพราะยิ่งเกาจะยิ่งเป็นมากขึ้น และทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนด้วย
  • ดูแลผิวไม่ให้ผิวแห้ง – เพื่อลดอาการคัน ทาโลชั่นให้ความชุ่มชื้นกับผิวเป็นประจำ
  • กินยาแก้แพ้ – antihistamine เพื่อลดอาการคัน ถ้าเป็นชนิดง่วงเล็กน้อยเช่น Hydroxyzine ก็จะช่วยลดอาการคันได้ดีขึ้น
  • ทายาสเตียรอยด์ – ที่มีความเข้มข้นสูง เช่น clobetasol  ลดการคันและอักเสบที่ตุ่ม ยาสเตียรอยความเข้มข้นสูงไม่ควรใช้นานเกินสองถึงสามสัปดาห์ เพราะมีผลข้างเคียงทำให้ผิวบาง ช่วงที่ไม่คันมากตุ่มไม่หนาควรใช้ความเข้มข้นปานกลาง TA cream แทน

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

ทำความรู้จักกับ โรคฝีดาษลิง

โรคหูด สาเหตุ, อาการ, การรักษา

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ตุ่ม PPE คือ? https://apcocapsules.com/เรื่องของตุ่ม-ppe-c20159155092406
  • ตุ่ม PPE คืออะไร http://www.skinanswer.org/โรคผิวหนัง/ตุ่ม-ppe-คืออะไร/

Filed Under: เอชไอวี HIV Tagged With: PPE, Pruritic Papular Eruption, พีพีอี, ลักษณะตุ่ม PPE, เอชไอวี, เอดส์

เอชไอวี(HIV) ป้องกันง่ายกว่ารักษา

September 9, 2022 by 365team

เอชไอวีเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้คหลายคนหวาดกลัวการติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้ และถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่น่ากลัว และไม่มีทางรักษา แต่มีวิธีการที่สามารถช่วยป้องกัน และหลีกเลี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีนี้ได้

เอชไอวี คืออะไร?

เอชไอวี (HIV) เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเอดส์ (AIDS) คือระยะท้ายของการติดเชื้อ HIV ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและมีโรคแทรกซ้อนได้ เชื้อ HIV จะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายลดต่ำลง ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อของโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

อาการของเอชไอวี

  • ปอดอักเสบ
  • สูญเสียความจำ อาการซึมเศร้าและอาการทางระบบประสาทอื่นๆ
  • ท้องเสียเรื้อรังนานกว่าหนึ่งสัปดาห์
  • เหนื่อยผิดปกติ
  • อาการไข้ที่กลับมาเป็นซ้ำๆ
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
  • มีผื่นตามผิวหนัง ในช่องปาก จมูกและเปลือกตา
  • แผลที่ริมฝีปาก อวัยวะเพศและทวารหนัก
  • อาการบวมที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ รักแร้และขาหนีบ

เอชไอวี มีทั้งหมด 3 ระยะ

ระยะไม่ปรากฏอาการ

ในระยะนี้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนั้นจะไม่ปรากฏอาการผิดปกติใด ๆ ให้เห็น จึงดูเหมือนคนปกติที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่อาจจะมีอาการป่วยเล็กน้อย โดยเฉลี่ยนั้น จากระยะแรกเข้าสู่ระยะที่ 2 จะใช้เวลาประมาณ 7 – 8 ปี แต่ในบางรายอาจไม่มีอาการอยู่ได้นานถึง 10 ปี จึงทำให้ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นๆได้ เพราะว่าผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ส่วนใหญ่ในระยะแรก ยังไม่ทราบว่าตัวเองนั้นติดเชื้อแล้ว

ระยะปรากฏอาการ

ในระยะนี้จะตรวจพบผลเลือดบวก และมีอาการผิดปกติปรากฏให้เห็นได้ เช่น ต่อมน้ำเหลืองโตติดต่อกันนานหลายเดือน มีเชื้อราบริเวณในปาก โดยเฉพาะกระพุ้งแก้ม และเพดานปาก เป็นงูสวัด หรือแผลเริมชนิดลุกลาม มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุเกิน 1 เดือน เช่น มีไข้ ท้องเสีย ผิวหนังอักเสบ น้ำหนักลด และอื่น ๆ ในระยะนี้อาจมีอาการอยู่เป็นปี ก่อนพัฒนาลุกลามกลายเป็นเอดส์เต็มขึ้นในระยะต่อไป

ระยะโรคเอดส์

ในระยะนี้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำลายลงไปเยอะมาก ซึ่งทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย เพราะเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น และร่างกายก็ไม่สามารถขจัดเชื้อโรคเหล่านี้ออกไปจากร่างกายได้  ซึ่งมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับว่าติดเชื้อชนิดใด และเกิดขึ้นบริเวิณอวัยวะส่วนใดของร่างกาย เช่น หากติดเชื้อวัณโรคที่ปอด อาการที่พบจะมีไข้เรื้อรัง ไอเป็นเลือด แต่ถ้าเป็นเยื้อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ จะมีอาการปวดศีรษะอย่างรวดแรง อาเจียน คอแข็ง คลื่นไส้ และถ้าเป็นอาการที่เกี่ยวกับระบบประสาทก็จะมีอาการซึมเศร้า แขนขาอ่อนแรง ความจำเสื่อม ซึ่งพบว่าผู้ป่วยโรคเอดส์ในระยะสุดท้ายนี้ จะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 1 – 2 ปีเท่านั้น

ใครบ้างที่ควรตรวจเอชไอวี

  • ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ผู้ที่ตัดสินใจจะมีคู่หรือแต่งงาน
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
  • ผู้ที่ใช้เข็มหรือหลอดฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ผู้ที่คิดจะตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของแม่และตัวเด็ก

การป้องกันเอชไอวี

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • มีคู่นอนเพียงคนเดียว ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ 
  • ก่อนสมรส หรือมีลูก ควรมีการตรวจเลือด
  • งดใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น
  • พาคู่รักและตนเองไปตรวจเลือด หรือรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ

การรักษาเอชไอวี

การรักษาเอชไอวีมีหลายประเภท รวมถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ARV) การป้องกันโรคหลังการสัมผัส (PEP) และการป้องกันโรคก่อนการสัมผัส (PrEP)

ยารักษาอาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ที่ได้รับการรับรองมากกกว่า 25 ชนิด เรียกว่า ยาต้านรีโทรไวรัส (antiretroviral drugs หรือเรียกย่อว่า ARV) ทำหน้าที่ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคสู่คนอื่น

หากมีความกังวลว่าตัวเองอาจเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี สามารถใช้ ยาต้านไวรัสหลังสัมผัสโรค (post-exposure prophylaxis หรือชื่อย่อว่า PEP) เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อ ผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อจำเป็นต้องได้รับยาให้เร็วที่สุด ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง

นอกจากนี้สามารถใช้ ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนสัมผัสโรค (Pre-exposure prophylaxis หรือชื่อย่อว่า PrEP) ใช้ในผู้ไม่มีเชื้อเอชไอวีแต่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูง และต้องการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อต้องรับประทานยาทุกวันเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • ทำความรู้จักกับ โรคฝีดาษลิง
  • ผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี

Filed Under: เอชไอวี HIV Tagged With: เอชไอวี, เอดส์, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคเอดส์

เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV

January 12, 2022 by 365team

ถึงแม้ว่าโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจะมีมานานมากแล้ว แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังมีความรู้ความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี ทำให้ปัจจุบันต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี หรือการเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง

เอชไอวี คืออะไร

เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

โรคเอดส์ คืออะไร

เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome – AIDS) คือ กลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่งกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลายจนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้

สาเหตุการติดเชื้อเอชไอวี

สามารถติดเชื้อเอชไอวีโดย การสัมผัสกับเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอด หรือแม้แต่น้ำนมแม่ สาเหตุ การแพร่เชื้อส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์

เรื่องที่คนมักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับเอชไอวีและเอดส์

โรคเอดส์ กับ เชื้อ HIV เป็นคนละตัวกัน

HIV คือ เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง  ส่วนโรคเอดส์ คือ โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เชื้อเอชไอวีทำลาย

โรคเอดส์ ยังมีโอกาสรอดชีวิต

ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาโรคเอดส์ได้โดยตรง แต่ถ้าหากตรวจพบในระยะที่ยังเป็นการติดเชื้ออยู่ สามารถทานยาต้านไวรัส เพื่อไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำร้ายภูมิคุ้มกันในร่างกาย จนเกิดอาการความผิดปกติออกมา ดังนั้นหากตรวจพบเชื้อได้เร็ว ก็จะยิ่งควบคุมเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ง่าย จนไม่เชื้อไม่พัฒนาเป็นโรคเอดส์ที่สมบูรณ์ โอกาสรอดก็มีสูงขึ้น และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป

คนเป็นเอดส์ ติดเชื้อ HIV ต้องเสียชีวิตด้วยอาการแผล ตุ่ม หนอง

อาการแผล ตุ่ม หนอง หรือ ผื่น ที่เกิดขึ้นในผู้ติดเชื้อ เป็นอาการทางผิวหนังของระยะการเป็นโรคของการติดเชื้อ หรืออาจเป็นผลข้างเคียงของการใช้ยาที่รักษาการติดเชื้อ ก็ได้  ซึ่งไม่ว่าผื่นนั้นจะเกิดจากการใช้ยา หรือจากตัวเชื้อไวรัสเอง โดยส่วนใหญ่ผื่นนั้นจะมีสีแดงแบนบนผิวหนังและมีตุ่มนูนแดงอยู่ด้านบน

ผู้ป่วยโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV คือคนที่สำส่อนในเพศสัมพันธ์

การติดเชื้อไม่ได้เกิดจากเพศสัมพันธ์เท่านั้น หลายคนที่อาจติดเชื้อ HIV จากแม่ หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อก็เป็นได้

เชื้อ HIV ไม่ใช่ไข้หวัดที่จะติดต่อกันได้ง่าย

  • เชื้อ HIV จะไม่ติดต่อกันผ่านทาง กอด จูบ (ยกเว้นกรณีที่มีแผลในปาก แล้วจูบแลกน้ำลายกัน) 
  • ทานข้าวร่วมกัน จานเดียวกัน ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน หรือแม้แต่ใช้ช้อน ส้อมคันเดียวกัน
  • มีเพศสัมพันธ์ด้วยการใช้ถุงยางอนามัย 
  • ลมหายใจ 
  • ใช้สิ่งของอุปโภคร่วมกัน ใช้สบู่ ครีมอาบน้ำ แชมพู ยาสีฟัน ร่วมกัน
  • การใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายที่ยิม
  • การสัมผัสที่ฝารองนั่งในห้องน้ำ, ลูกบิดประตู หรือที่จับ

เชื้อเอชไอวีแพร่ผ่านการสัมผัส น้ำตา เหงื่อ น้ำลาย หรือปัสสาวะได้

จริง ๆ แล้ว เชื้อเอชไอวีไม่สามารถแพร่ผ่านการสัมผัส น้ำตา เหงื่อ น้ำลาย หรือปัสสาวะ

วิธีการรักษาแบบแปลก ๆ สามารถกำจัดเชื้อเอชไอวีได้

  • การอาบน้ำหลังจากมีเพศสัมพันธ์ 
  • การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ยังบริสุทธิ์อยู่ สามารถกำจัดเชื้อเอชไอวีได้

ยุงแพร่เชื้อเอชไอวีได้

ถึงแม้ว่าเชื้อเอชไอวีสามารถแพร่เชื้อผ่านทางเลือดของผู้ติดเชื้อไปสู่คนอื่นได้  แต่ไม่สามารถติดเชื้อเอชไอวีจากการถูกแมลงกัด หรือถูกแมลงดูดเลือดได้  เพราะ เมื่อถูกแมลงกัด แมลงเหล่านั้นไม่ได้ฉีดเลือดของคน หรือสัตว์ที่พวกมันกัดก่อนหน้านี้ ใส่คนที่มันกัดต่อหลังจากนั้น เนื่องจากเชื้อเอชไอวีมีชีวิตอยู่ได้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ภายในตัวของแมลงเหล่านั้น

เราไม่อาจติดเชื้อเอชไอวีได้จากการทำออรัลเซ็กส์

การทำออรัลเซ็กส์ มีความเสี่ยงน้อยกว่าการมีเพศสัมพันธ์บางรูปแบบ อัตราการแพร่เชื้อน้อยกว่า 4 ครั้ง จากการทำออรัลเซ็กส์ 10,000 ครั้ง แต่คุณอาจติดเชื้อเอชไอวีได้จากการทำออรัลเซ็กส์กับชายหรือหญิงที่มีเชื้อเอชไอวี จึงเป็นเหตุผลที่แพทย์แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยเสมอ แม้แต่การทำออรัลเซ็กส์

เราไม่อาจติดเอชไอวีได้ ถ้าเราสวมถุงยาง

ถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันการสัมผัสเชื้อเอชไอวีได้ ในกรณีที่ถุงยางเกิดแตก, หลุด, หรือรั่ว ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์  ก็ทำให้สามารถติดเชื้อได้อยู่

ไม่มีอาการ หมายความว่า ไม่มีเชื้อเอชไอวี

ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีอาจใช้ชีวิตตามปกติโดยไม่มีอาการใด ๆ เลย เป็นเวลานาน 10-15 ปี พวกเขาอาจจะมีอาการเจ็บป่วยที่คล้ายกับหวัด รวมถึง การมีไข้, ปวดหัว, ผื่น, หรือเจ็บคอ ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการติดเชื้อ จึงจำเป็นต้องมีการตรวจเลือด หลังจากมีความเสี่ยงจากการสัมผัสเชื้อ เพื่อเพิ่มความมั่นใจ และความปลอดภัยสำหรับตนเอง และผู้อื่น

ผู้ติดเชื้อ HIV สามารถมีครอบครัวได้

การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ใช้ถุงยางอนามัย จะทำให้มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อได้ แต่หากอยากมีครอบครัว ผู้สามารถจูงมือคู่รัก เพื่อปรึกษาแพทย์ หาทางออกในการมีครอบครัว มีบุตรโดยที่บุตรไม่ติดเชื้อ HIV ได้

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • ทำไมถึงควรตรวจเอชไอวีเป็นประจำ?
  • ความก้าวหน้าของการรักษาเอชไอวีในปัจจุบัน

Filed Under: เอชไอวี HIV Tagged With: เอชไอวี, เอดส์, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคเอดส์

ยาต้านฉุกเฉิน (PEP) คืออะไร ?

November 22, 2021 by 365team

ยาเป็ป (PEP) เป็นยาต้านฉุกเฉิน ในกรณีการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันและควรเก็บไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น และการรับยา PEP จะช่วยยับยั้งการกลายเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันก่อนจะแพร่กระจายในร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานยาให้เร็วที่สุด

รู้จักยา PEP คืออะไร

PEP ย่อมาจาก post-exposture prophylaxis หรือยาต้านฉุกเฉิน ทานหลังจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV  เป็นการรักษาระยะสั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยยาที่ใช้ในกลุ่มนี้เป็นประเภท Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NNRTIs) Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) และ Protease inhibitor(PIs) โดยทานยาครบตามที่แพทย์สั่ง

การทานยาเป็ป(PEP) 

การทานยา เป็ป(PEP)   จำเป็นต้องทานให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ คือ ต้องทานภายในเวลา 72 ชั่วโมง หลังจากสัมผัสเชื้อมา หรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งถ้าทานยาหลังจาก 72 ชั่วโมงไปแล้ว หรือทิ้งไว้นานก็จะทำให้ประสิทธิภาพการรักษาไม่ได้ผล 

การทานยา เป็ป(PEP) จะต้องทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน และทานยาต้านไวรัสประกอบกัน 2-3 ชนิด ซึ่งเป็นวิธีเดียวกันกับผู้มีเชื้อเอชไอวี แต่ยาต้านไวรัสส่วนมาก มักมีผลข้างเคียง บางรายอาจมีอาการท้องเสีย ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และอิดโรย โดยผลข้างเคียงนี้อาจมีอาการรุนแรงในบางราย จนทำให้เป็นสาเหตุของผู้ทานยา หยุดยาไปก่อนที่จะทานครบกำหนด

ใครบ้างที่ควรได้รับยาเป็ป ( PEP )

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ถูกข่มขืน หรือ มีการป้องกันแต่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างมีเพศสัมพันธ์เช่น ถุงยางหลุด ถุงยางฉีกขาด ฯลฯ
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ หรือ สัมผัสเลือด หรือ ได้รับสารคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อ HIV
  • ไม่ได้สติขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจเกิดจากฤทธิ์แอลกอฮอล์หรือฤทธิ์ยาบางชนิด
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • บุคคลากรทางการแพทย์ที่เกิดอุบัติเหตุ มีดบาด เข็มตำในโรงพยาบาลจากการทำหัตถการให้คนไข้
  • มีความถี่ในการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ให้บริการทางเพศบ่อย
  • มีการเข้ารับยาเป็ป (PEP) บ่อยครั้ง
  • มีการตรวจพบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

จะรับยาเป็ป ( PEP )  มีขั้นตอนอย่างไร

     หากคุณมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ HIV  

  1. ขั้นตอนแรกต้องเข้ามารับคำปรึกษาประเมินความเสี่ยงโดยแพทย์ก่อน
  2. หลังจากนั้นหากแพทย์ประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสมควรได้รับยา PEP  จริง จะต้องมีการเจาะเลือดคนไข้เพื่อตรวจว่าไม่ได้ติดเชื้อ HIV อยู่ก่อนแล้ว รวมถึงตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และสุขภาพโดยรวม ค่าไตค่าตับของคนไข้ด้วย ว่าพร้อมจะกินยาหรือไม่
  3. เข้าพบแพทย์ เพื่อเลือกตัวยาที่เหมาะสม
  4. รับยากลับบ้าน

ยาเป็ป ( PEP ) ป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้กี่เปอร์เซ็นต์

การใช้ยา PEP ไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ 100% แต่เนื่องจากปัจจัยที่มีผลต่อการที่คนคนนึงจะติดเชื้อ HIV หรือไม่หลังได้รับยา PEP นั้นมีมากมายหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งของโรคที่รับเชื้อมา ว่ามีปริมาณ viral load มากน้อยแค่ไหน ความเข็งแรงของตัวคนไข้เอง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อโอกาสที่คนไข้จะติดหรือไม่ติดเชื้อ HIV ทั้งสิ้น   

ต้องกินยาเป็ป ( PEP ) นานแค่ไหน

การกินยา PEP ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องกินภายใน 72 ชั่วโมงหลังได้รับความเสี่ยง โดยกินอย่างสม่ำเสมอทุกวัน(กินเวลาเดิม) ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 28 วัน โดยสูตรยาที่กินจะมีทั้งแบบวันละครั้งและวันละ 2 ครั้ง หลังจากกินยาครบแพทย์จะนัดคนไข้มาเจาะเลือดเพื่อตรวจ HIV อีกครั้ง

ยาเป็ป ( PEP )  ฟรี 

การรับยา PEP สามารถเข้ารับบริการได้ตามสถานบริการของรัฐ เอกชน หรือคลินิกเฉพาะทางที่มีแพทย์ประจำ เนื่องจากการรับยาต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์ และจำเป็นจะต้องมีการตรวจเลือดทุกครั้งที่รับยา เพื่อความปลอดภัย และลดผลข้างเคียงที่อาจจะตามมาได้หลังจากการรับยา

ยาเป็ป ( PEP ) ซื้อที่ไหน

อย่างแรกก่อนการรับยาเป๊ป คุณจะต้องเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสเอชไอวีเสียก่อน เป็นการยืนยันผลว่าคุณไม่ได้มีเชื้ออยู่ก่อนแล้ว เพราะถ้าหากคุณมีเชื้อเอชไอวี จะไม่สามารถใช้ยาเป๊ปได้ รวมถึงมีการตรวจไวรัสตับอักเสบบี และตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆด้วย การทานยาต้านฉุกเฉินนี้จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ไม่สามารถหาซื้อทานได้เองตามร้านขายยาทั่วไป หรือทางออนไลน์ 

ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยงๆ สามารถใช้ ยาเป็ป ( PEP )ได้ตลอดไหม

ยา PEP ควรเก็บไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น หากเรารู้ตัวว่าจะต้องมีความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV อยู่เป็นประจำ ควรใช้ยา PrEP ที่เอาไว้ทานร่วมกับการใช้ถุงเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ HIV จะเป็นวิธีที่เหมาะสมและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • ทำไมถึงควรตรวจเอชไอวีเป็นประจำ?
  • ความก้าวหน้าของการรักษาเอชไอวีในปัจจุบัน

Filed Under: PEP Tagged With: PEP, ยาต้าน, ยาต้านฉุกเฉิน, ยาต้านไวรัส, เอชไอวี, เอดส์

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง สามารถทำได้จริงไหม?

September 28, 2021 by 365team

ข้อสงสัยนี้มักเกิดขึ้นกับใครหลาย ๆ คน ที่ยังคงไม่มั่นใจในชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง เนื่องด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่ยังคงเป็นไปในทางลบแม้ว่าจะเริ่มเปิดกว้างต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่หลายคนคุ้นเคยดีในชื่อ “เอดส์ (AIDS)” ซึ่งเกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสเอชไอวี HIV : Human Immunodeficiency Virus และภาวะแทรกซ้อนมากมายที่เกิดขึ้นได้ในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี จากความเข้าใจเมื่อครั้งอดีตที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่ได้ไม่นานก็เสียชีวิต จนกลายเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อมุมมองประเด็นต่าง ๆ จากสังคมในแง่ลบ การหาแนวทางเพื่อการตรวจ การวินิจฉัย ตลอดจนการเข้ารับการรักษาจึงเป็นไปได้ค่อนข้างยาก 

ปัจจุบันนับว่าแง่มุมต่อผู้ป่วยเอชไอวีเริ่มลดลงจากในอดีตมากพอสมควร ด้วยสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากการรณรงค์ การให้ความรู้ความเข้าใจที่มากขึ้น อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากมายในการลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การเปิดใจต่อการป้องกันความเสี่ยงมีมากยิ่งขึ้นตามลำดับด้วยเช่นกัน สิ่งหนึ่งที่จำเป็นอย่างมากต่อการสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน คือการทำความเข้าใจสาเหตุของโรคไปจนถึงการรักษาที่ถูกต้องตามหลักการทางการแพทย์ แน่นอนว่าหากเข้าใจพื้นฐานต่าง ๆ เหล่านี้มากเท่าไหร่ จะทำให้มุมมองต่อการมองชุดตรวจเอชไอวีเปลี่ยนไปในทางที่ดีด้วย

จากที่กล่าวมาข้างต้นเชื่อว่าหลายคนคงพอทราบแล้วว่า “การตรวจเอชไอวี” มีความสำคัญต่อการป้องกันรวมไปถึงสิ่งสำคัญที่สุดคือการรู้ทันโรคอย่างทันท่วงที เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรับมือกับสถานะเลือดได้เหมาะสม เป็นที่มาของการคิดค้นและพัฒนาแนวทางการตรวจที่เข้าถึงได้ง่าย โดยใช้การตรวจเบื้องต้นด้วยตนเองง่าย ๆ หรือที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศว่า ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง (HIV Self-Test)  ซึ่งในบทความนี้ได้รวบรวมข้อเท็จจริงจากหลากหลายแหล่งให้ได้ทำความเข้าเกี่ยวกับชุดตรวจเอชไอวีกันมากขึ้น

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองเกิดขึ้นได้อย่างไร?

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับผลการทดสอบและประสิทธิภาพของ ชุดตรวจเอชไอวี เป็นครั้งแรกในโลก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา พร้อมกับการกำหนดแนวทางการปฏิบัติในการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวี นับว่าเป็นการอัปเดตให้ผู้คนทั่วโลกได้ทำความเข้าใจในพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งมีผลต่อการเข้าถึงการตรวจเอชไอวีได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น โดยจากการวิจัยเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วพบว่าชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองที่ดีจะต้องประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่ใช้งานง่าย การออกแบบให้ทิ้งได้อย่างปลอดภัยต่อคนรอบข้างตลอดจนผู้ตรวจ พร้อมกันนั้นชุดตรวจเอชไอวีที่มีคุณภาพ จะต้องได้รับการรับรองจากองค์กรด้านอนามัยและสาธารณสุขของประเทศนั้น ๆ ด้วย จุดประสงค์ในการค้นคว้าชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองคือการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการตรวจคัดกรองเอชไอวีเบื้องต้นได้ง่ายยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญไม่แพ้กันคือการลดอัตราผู้ติดเชื้อเอชไอวีรวมไปถึงทราบผลได้อย่างทันท่วงที เพื่อเข้ารับการรักษาได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากเอชไอวีได้อย่างดี

ความน่าเชื่อถือของชุดตรวจเอชไอวีในปัจจุบัน 

อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเกี่ยวกับประเด็นที่ส่งผลให้ ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ภายในประเทศไทยยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากยังขาดความรู้ความเข้าใจทั้งในเรื่องของข้อเท็จจริงของเชื้อไวรัสเอชไอวี แนวทางการรักษาที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และความรู้ในการตรวจเบื้องต้น เป็นต้น ทั้งนี้ในด้านของทัศนคติต่อการติดเชื้อเอชไอวียังคงมีแง่ลบในสังคมอยู่พอสมควร ถึงแม้ว่าหลากหลายหน่วยงานได้รณรงค์ให้ความรู้อย่างต่อเนื่องก็ตาม หลายปัจจัยส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมให้มุมมองต่อการตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ยังคงมองว่าไม่มีความน่าเชื่อถือ แต่ข้อเท็จจริงในปัจจุบันมาตรฐานของการผลิตและการใช้งานของชุดตรวจถือว่ามีความแม่นยำมากกว่า 99% เมื่อเทียบกับการตรวจภายในสถานพยาบาล ด้วยการออกแบบให้ขั้นตอนการตรวจมีความสะดวก ทำได้เองง่าย ๆ โดยไม่ต้องอาศัยผู้อื่นช่วยแม้แต่นิดเดียว แนะนำให้ตรวจสอบสัญลักษณ์การรับรองมาตรฐานต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อดังต่อไปนี้

  • กระทรวงสาธารณสุข
  • คณะกรรมการอาหารและยา
  • มาตรฐานสากล WHO Pre-Qualified จากองค์กรอนามัยโลก
  • ตัวแทนจำหน่ายได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง
  • ช่องทางการจำหน่ายมีความเชื่อถือ
  • ระบุแหล่งที่ผลิตและรายละเอียดต่าง ๆ ของตัวแทนจำหน่ายอย่างชัดเจน

ข้อสรุปของชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองทำได้จริงไหม?

การเลือกใช้ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองนับว่าเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ลดอัตราผู้ติดเชื้อได้ รวมไปถึงสามารถคัดกรองการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วในผู้ที่ไม่สะดวกเข้ารับการตรวจในสถานพยาบาล ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ก็ตาม ผู้ตรวจจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมาภายในชุดตรวจอย่างละเอียด และไม่ละเลยขั้นตอน ข้อแนะนำ หรือข้อห้าม ที่ได้ระบุไว้เด็ดขาด เพื่อให้ผลการตรวจเอชไอวีที่ได้รับมีความแม่นยำมากที่สุดนั่นเอง 

สิ่งที่สำคัญมากไปกว่านั้นแน่นอนว่าเป็นระยะที่เหมาะสมต่อการใช้งานชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ซึ่งเป็นข้อควรปฏิบัติเช่นเดียวกับการตรวจในสถานพยาบาล ดังนั้นผู้ตรวจต้องตระหนักเสมอว่าการตรวจด้วยชุดตรวจเป็นเพียงการคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น หากได้ผลลัพธ์ว่าตนไม่มีเชื้อเอชไอวีควรดูแลตัวเองและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากได้ผลลัพธ์ว่าตนมีเชื้อเอชไอวีควรทำความเข้าใจพื้นฐานของโรครวมทั้งหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไปสู่คู่นอนด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ควรตรวจซ้ำอีกครั้งหลังจาก 3 เดือนให้มั่นใจมากยิ่งขึ้น

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • ทำไมถึงควรตรวจเอชไอวีเป็นประจำ?
  • ความก้าวหน้าของการรักษาเอชไอวีในปัจจุบัน

Filed Under: ตรวจเอชไอวี Tagged With: ชุดตรวจเอชไอวี, ตรวจเลือด, ตรวจเอชไอวี, เอชไอวี, เอดส์

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”
  • โรคฝีมะม่วง..ภัยร้ายใกล้ตัว
  • หนองในเทียม (Chlamydia)
  • CD4 ที่เท่าไหร่ถึงเรียกว่าระดับน่าเป็นห่วง

Archives

  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in