• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

วิธีการสังเกตผื่นเอชไอวี

ผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี

August 11, 2022 by thaihiv365 team

ผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี

ผื่นที่ผิวหนัง เป็นอาการทั่วไปเมื่อเกิดการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ขึ้น อาการมักจะเป็นสัญญาณเริ่มแรก และมักจะเกิดขึ้นในช่วง 2 – 3 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างก่าย ซึ่งอาการผื่นอาจไม่ได้เป็นเกิดจากการติดเชื้อเท่านั้น แต่ยังเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ได้ด้วย

ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี

อาจจะเรียกว่า ผื่นเอชไอวี หรือเอดส์เฉียบพลัน  เป็นผื่นเอชไอชวีเฉียบพลันมักจะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการติดเชื้อ ผื่นจะปรากฏในส่วนเดียว หรือหลายส่วนของร่างกาย และอาจทำให้เกิดอาการคันที่ผืนด้วย 

วิธีการสังเกตผื่น มีดังนี้

สังเกตดูว่าเป็นผื่นแดง บวมเล็กน้อย และคันมากๆ หรือไม่

ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี มักจะเป็นจุดด่างดวงบนผิวหนัง ถ้าเป็นคนผิวขาวก็จะเป็นจุดสีแดง แต่ถ้าเป็นคนผิวสีเข้มก็จะเป็นสีดำอมม่วง โดยความรุนแรงของผื่นจะไม่เท่ากันในแต่ละคน บางคนก็อาจจะมีผื่นขึ้นรุนแรงมากเป็นบริเวณกว้าง ในขณะที่บางคนก็อาจจะมีผื่นขึ้นนิดหน่อยเท่านั้น แต่ถ้าผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี เป็นผลมาจากยาต้านไวรัส ผื่นจะเป็นรอยแผลแดงบวมไปทั่วร่างกาย ผื่นแบบนี้เรียกว่า ผื่นแพ้ยา

สังเกตว่าผื่นขึ้นตรงไหล่ หน้าอก ใบหน้า ท่อนบนของร่างกาย และมือหรือไม่

ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี มักจะขึ้นในบริเวณเหล่านี้ แต่ก็มักจะหายไปเองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ทำให้บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาการแพ้ หรือผิวหนังอักเสบ ซึ่งผื่นที่เกิดจากเอชไอวี ไม่สามารถติดต่อกันได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความเสี่ยงว่าจะแพร่เชื้อเอชไอวี ผ่านทางผื่นสู่คนอื่นได้

สังเกตอาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นตอนที่เป็นผื่นเอชไอวี

ผื่นเอชไอวีจะมีอาการเจ็บ และคัน ในช่วงเวลาที่ ผื่นปรากฏและจะมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นอาการเริ่มแรกของการติดเชื้อเอชไอวี อาการเหล่านี้

  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • แผลในปาก
  • มีไข้ และปวดหัว
  • ท้องเสีย
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ตะคริวและปวดตามร่างกาย
  • ต่อมน้ำเหลืองโต และบวม
  • สายตาเบลอหรือพร่ามัว
  • ไม่อยากอาหาร
  • ปวดตามข้อ
  • ความเมื่อยล้า
  • อาการเจ็บคอ
  • สูญเสียความกระหาย
  • น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ

สาเหตุของผื่นจากเชื้อเอชไอวี

ผื่นเกิดจากการที่เซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลง จะเกิดขึ้นในระยะไหนของการติดเชื้อก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้ว มีผื่นจะเกิดขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจากที่คุณได้รับเชื้อ เป็นระยะที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงในตัวอย่างเลือด ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเราสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีได้จากการตรวจเลือด แต่บางคนก็อาจจะไม่ผ่านขั้นตอนนี้ แต่จะมีผื่นขึ้นหลังจากติดเชื้อไวรัสไปถึงระยะอื่นแล้วก็ได้

และนอกจากนี้ผื่นเอชไอวี ยังอาจเป็นอาการแพ้ยาต้านไวรัสเอชไอวี ก็ได้ เช่น Amprenavir Abacavir และ Nevirapine อาจก่อให้เกิดผื่นเอชไอวี ได้

ในช่วงของการติดเชื้อเอชไอวี ในระยะที่สาม คุณอาจจะมีผื่นขึ้นเนื่องจากผิวหนังอักเสบ ผื่นเอชไอวี ชนิดนี้จะเป็นสีชมพูหรือออกแดงๆ และคัน มักจะขึ้นเป็นเวลา 1-3 ปีและมักจะขึ้นตรงขาหนีบ รักแร้ หน้าอก ใบหน้า และหลัง

ผลเลือดเป็นบวก

วิธีการรักษาผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี

ถ้าคุณมีผื่นขึ้นเล็กน้อย ให้เข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี

หากยังไม่ได้ตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี แพทย์ก็อาจจะตรวจเพื่อดูว่าได้รับเชื้อไวรัสหรือเปล่า ถ้าผลเป็นลบ ก็อาจจะหาสาเหตุอื่นต่อไปว่า ผื่นที่เกิดขึ้นจากการปฏิกิริยาแพ้อาหารหรือปัจจัยอื่นๆ หรือไม่ และอาจจะมีปัญหาผิวหนังอักเสบก็ได้

ถ้าผลออกมาเป็นบวก แพทย์อาจจะสั่งยาต้านและรักษาเชื้อเอชไอวี ทำให้มีผื่นขึ้นเล็กน้อย แต่ผื่นจะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์

เพื่อให้อาการของผื่นลดลงโดยเฉพาะอาการคัน แพทย์อาจจะสั่งสารต้านฮิสทามีน เช่น Benadryl หรือ Atarax หรือครีมที่มีส่วนประกอบของคอร์ติโคสตีรอยด์ให้เพื่อรักษาอาการคันที่ผื่นได้

เข้ารับการรักษาทันทีหากอาการผื่นรุนแรง

ผื่นบางชนิดอาจจะมีอาการไม่รุนแรง ในขณะที่บางชนิดอาจจะทำให้เกิดการทำลายผิวหนังอย่างรุนแรง และทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้  อาการผื่นขึ้นอย่างรุนแรงยังอาจเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ ของเชื้อไวรัส เช่น มีไข้ คลื่นไส้หรืออาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ และแผลในปากด้วย ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

ปรึกษาแพทย์หากอาการแย่ลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากรับประทานยา

บางคนอาจจะมีภาวะภูมิไวเกินต่อยาบางตัว ทำให้อาการติดเชื้อเอชไอวี รวมทั้งผื่นเอชไอวี แย่ลง แพทย์อาจจะสั่งให้หยุดยา และให้ยาตัวอื่นที่สามารถกินแทนได้ โดยอาการของภาวะภูมิไวเกินมักจะหายไปภายใน 24-48 ชั่วโมง ชนิดของยาต้านไวรัสมี 3 ชนิดหลัก ๆ ที่อาจทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนังได้ก็คือ 

  • NNRTIs
  • NRTIs
  • PIs
  • NNRT เช่น nevirapine (Viramune) เป็นยาที่ทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนังได้บ่อยที่สุด Abacavir (Ziagen) เป็นยา NRTI ที่อาจทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนัง PIs และ amprenavir (Agenerase) กับ tipranavir (Aptivus) ก็อาจทำให้ผื่นขึ้นได้เช่นเดียวกัน

อย่ารับประทานยาที่ก่อให้เกิดอาการแพ้

ถ้าแพทย์แนะนำให้คุณหยุดกินยา เนื่องจากภาวะภูมิไวเกิน หรืออาการแพ้ ก็อย่ากินยานั้นอีก เพราะการกินยาตัวนั้นอีกครั้งเสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงกว่าเดิมที่อาจลุกลาม และทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิมมาก

ถามแพทย์เรื่องการติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดผื่น

ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี มีโอกาสที่จะติดเชื้อแบคทีเรียมากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากเซลล์ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ มักเกิดขึ้นได้บ่อยกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคพุพอง รูขุมขนที่หนังศีรษะอักเสบ ฝี เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ จุดฝีเล็กๆ และแผลเปื่อย ควรสอบถามแพทย์เพิ่มเติม

ควรกินยาต้านไวรัสเอชไอวีต่อ

รักษาอาการผื่นด้วยตัวเอง

ใช้ยาทาที่ผื่น

แพทย์อาจจะสั่งยาทาต้านอาการแพ้ หรือยาที่ช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง หรือคัน หรืออาจจะซื้อครีมที่เป็นสารต้านฮิสทามินตามร้านขายยาทั่วไปเพื่อช่วยบรรเทาอาการก็ได้ ทาครีมตามที่ระบุไว้ที่บรรจุภัณฑ์

การใช้ยาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่น การใช้ครีมไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) หรือ diphenhydramine (Benadryl) นั้นอาจจะช่วยลดอาการคัน และขนาดของผื่นได้ ผื่นที่รุนแรงกว่านั้นอาจจะต้องใช้ยาที่แพทย์สั่งจ่าย

หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงหรืออากาศหนาวเกินไป

ทั้งสองอย่างนี้เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดผื่น HIV และอาจทำให้ผื่นยิ่งแย่ลงได้ เช่น ถ้าออกไปข้างนอก ให้ทาครีมกันแดดทั่วร่างกายเพื่อปกป้องผิวหนังหรือใส่เสื้อแขนยาวกับกางเกงขายาว หรืออยู่ในที่ที่อากาศหนาวมากๆ ให้ใส่เสื้อโค้ตและเสื้อผ้าอุ่นๆ เวลาออกไปข้างนอกเพื่อไม่ให้ผิวหนังสัมผัสกับความหนาวเย็นมากเกินไป

อาบน้ำเย็น

น้ำร้อนจะทำให้ผื่นระคายเคือง หลีกเลี่ยงการแช่น้ำหรืออาบน้ำฝักบัวด้วยน้ำร้อน แล้วเปลี่ยนไปแช่น้ำเย็นหรือเช็ดตัวเพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองของผิวแทน  โดย อาจจะอาบน้ำฝักบัว หรือแช่อ่างอาบน้ำในน้ำที่ค่อนข้างอุ่นและใช้การเช็ดแทนการถูตัว และทามอยเจอไรเซอร์ธรรมชาติ เช่น ครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าว หรือว่านหางจระเข้ทันที ที่อาบน้ำเสร็จเพื่อช่วยเยียวยาผิวได้

เปลี่ยนมาใช้สบู่อ่อนๆ หรือสบู่สมุนไพร

สบู่ที่มีสารเคมีอาจทำให้ผิวระคายเคืองและทำให้ผิวแห้งและคัน  ควรหาสบู่อ่อนๆ เช่น สบู่เด็ก หรือสบู่สมุนไพร หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีจำพวกปิโตรเลียม ได้แก่ Methyl- Propyl- Butyl- Ethylparaben และ Propylene Glycol เพราะทั้งหมดนี้เป็นวัตถุดิบสังเคราะห์ที่อาจทำให้ผิวหนังระคายเคืองหรือทำให้เกิดอาการแพ้

ใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายนุ่มๆ

เสื้อผ้าที่ทำจากใยสังเคราะห์ หรือใยผ้าที่ไม่ระบายอากาศอาจทำให้คุณเหงื่อออกและทำให้ผิวยิ่งระคายเคืองกว่าเดิม การใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปก็อาจทำให้ เสื้อผ้าถูกับผิว และทำให้ผื่นเอชไอวี แย่ลงตามไปด้วย

รับประทานยาต้านไวรัสต่อ

ควรกินยาต้านเอชไอวี ตามที่แพทย์สั่ง เพราะยาจะออกฤทธิ์ได้เต็มประสิทธิภาพ เพราะยาจะช่วยให้ค่า t-cell ดีขึ้น และรักษาอาการอย่างผื่นเอชไอวี ได้ หากคุณไม่แพ้ยาต้านไวรัสเหล่านั้น

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ที่มักพบในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์

ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • วิธีการ สังเกตผื่นที่เกิดจากเชื้อ HIV  https://th.wikihow.com/สังเกตผื่นที่เกิดจากเชื้อ-HIV
  • ผื่นเอชไอวีหรือเอดส์เฉียบพลัน https://www.icare-thai.com/article/33/quotquotผื่นเอชไอวีหรือเอดส์เฉียบพลันquotquot

Filed Under: เอชไอวี HIV Tagged With: ผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี, ผื่นเอชไอวี, ผื่นเอดส์, วิธีการสังเกตผื่นเอชไอวี

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”
  • โรคฝีมะม่วง..ภัยร้ายใกล้ตัว
  • หนองในเทียม (Chlamydia)
  • CD4 ที่เท่าไหร่ถึงเรียกว่าระดับน่าเป็นห่วง

Archives

  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in