• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

ยาPEP

PEP ป้องกัน HIV ในกรณีฉุกเฉิน

June 7, 2023 by 365team

PEP ป้องกัน HIV ในกรณีฉุกเฉิน

PEP ย่อมาจาก post-exposure prophylaxis หรือยาต้านฉุกเฉิน ทานหลังจากมีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อ HIV  เป็นการรักษาระยะสั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี จำเป็นต้องทานให้เร็วที่สุด คือ ต้องทานภายในเวลา 72 ชั่วโมง หลังจากสัมผัสเชื้อมา

ทำไมต้องรับยา PEP

ยาPEP เป็นยาต้านฉุกเฉิน ใช้ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และควรเก็บไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น การรับยาPEP จะช่วยยับยั้งการกลายเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันก่อนจะแพร่กระจายในร่างกายได้ ดังนั้น จึงควรรับยาPEP ให้เร็วที่สุด

ใครบ้างที่ควรได้รับPEP

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
  • ผู้ที่ถุงยางหลุด ถุงยางแตก ถุงยางรั่ว ระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ หรือ สัมผัสเลือด หรือ ได้รับสารคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อ HIV
  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • บุคคลากรทางการแพทย์ที่เกิดอุบัติเหตุ มีดบาด เข็มตำในสถานพยาบาล

ขั้นตอนการรับยาPEP

ขั้นตอน การรับยา PEP
  • เข้ารับคำปรึกษา และประเมินความเสี่ยงโดยแพทย์
  • หากแพทย์ประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสมควรได้รับยา PEP
    • ตรวจ HIV
    • ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
    • ตรวจสุขภาพโดยรวม
    • ตรวจค่าไต ค่าตับ
  • เข้าพบแพทย์ เพื่อเลือกตัวยาที่เหมาะสม
  • รับยากลับบ้าน

PEP ต้องกินนานแค่ไหน ?

การกินยาPEP ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องกินภายใน 72 ชั่วโมงหลังได้รับความเสี่ยง โดยกินอย่างสม่ำเสมอทุกวัน (เวลาเดิม) ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 28 วัน โดยสูตรยาที่กินจะมีทั้งแบบวันละครั้งและวันละ 2 ครั้ง หลังจากกินยาครบแพทย์จะนัดมาเจาะเลือดเพื่อตรวจ HIV อีกครั้ง

ผลข้างเคียงของPEP

ผลข้างเคียงของ PEP ที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ท้องเสีย
  • ปวดหัว
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • อิดโรย

อาการเหล่านี้จะหายไปเองได้ภายใน 1 สัปดาห์ หากมีอาการมากกว่านั้นควรรีบปรึกษาแพทย์

PEP หาซื้อที่ไหน?

PEP หาซื้อที่ไหน

PEP สามารถเข้ารับบริการได้ตามสถานบริการของรัฐ เอกชน หรือคลินิกเฉพาะทางที่มีแพทย์ประจำ เท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยาทั่วไป หรือทางออนไลน์ ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะจำเป็นจะต้องมีการตรวจเลือดทุกครั้งที่รับยา รวมถึงมีการตรวจไวรัสตับอักเสบบี และตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆร่วมด้วย เพื่อความปลอดภัย และลดผลข้างเคียงที่อาจจะตามมาได้หลังจากการรับยา

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม

  • สารพัดประโยชน์ของถุงยางอนามัย
  • เอชไอวีป้องกันได้ ด้วยการทาน “PrEP”

ยาPEP ควรใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น หากเรารู้ตัวว่าจะต้องมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV อยู่เป็นประจำ ควรใช้ยา PrEP เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ HIV ก่อนสัมผัสเชื้อ จะเป็นวิธีที่เหมาะสมมากกว่า

Filed Under: PEP Tagged With: PEP, กินPEP, ยาPEP, ยาต้านไวรัส, รับPEP, เอชไอวี

Primary Sidebar

Recent Posts

  • สาเหตุ อาการ และการรักษา โรคซิฟิลิส
  • การตรวจ HIV ในปัจจุบัน | HIV Test
  • PEP ป้องกัน HIV ในกรณีฉุกเฉิน
  • สารพัดประโยชน์ของถุงยางอนามัย
  • เอชไอวีป้องกันได้ ด้วยการทาน “PrEP”

Archives

  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • หนองในแท้
  • เอชไอวี HIV
  • เอดส์
  • แผลริมอ่อน
  • โรคซิฟิลิส
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง
  • ไวรัสตับอักเสบบี

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in