• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

ยาต้านไวรัส

เพร็พ PrEP ป้องกันเชื้อเอชไอวี

July 4, 2022 by 365team

PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) เพร็พ เป็นยาต้านไวรัส สำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือมีคู่นอนที่มีเชื้อเอชไอวี

เพร็พ (PrEP) เหมาะกับใคร

  • ชายที่มีเพศสัมพันธ์ชาย
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี
  • ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
  • ผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ
  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ภายใน 6 เดือน

ผลข้างเคียงของเพร็พ (PrEP)

โดยส่วนใหญ่ ผู้ที่ใช้ยาเพร็พ (PrEP) มักจะไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ซึ่งจากสถิติผู้ที่มี อาการข้างเคียงพบได้น้อยมาก และไม่ส่งผลที่อันตรายต่อร่างกาย อาจแสดงอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ ท้องเสีย หรือเบื่ออาหาร หลังจากนั้น อาการจะดีขึ้นเมื่อทานยาต่อเนื่องประมาณ 2-3 สัปดาห์ หากในกรณีที่มีความผิดปกตินอกเหนือที่กล่าวมาหรือรุนแรงมากขึ้นควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน

วิธีกินเพร็พ (PrEP) มีกี่วิธี

PrEP นิยมกินอยู่ 2 วิธี ผู้รับยาสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตัวเอง ดังนี้

Daily PrEP

เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถวางแผนการมีเพศสัมพันธ์ได้ หรือมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อเอชไอวี ขั้นตอนการกินที่ไม่ซับซ้อน กินเพียงแค่วันละ 1 เม็ด เริ่มต้นกิน 7 วันก่อนมีเพศสัมพันธ์ ต้องกินเวลาเดิมทุกวัน (เวลาไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องก่อนหรือหลังอาหาร)

On Demand PrEP

อีกไม่กี่วันต้องไปปาร์ตี้หนัก มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ สำหรับคนที่วางแผนการมีกิจกรรมของตัวเองได้ ขอแนะนำวิธีกิน PrEP แบบนี้ โดยมีสูตรในการกินคือ 2:1:1

  • 2 เม็ดแรก ก่อนมีเพศสัมพันธ์ 2-24 ชั่วโมง
  • 1 เม็ดถัดไป หลังมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว 24 ชั่วโมง
  • 1 เม็ดสุดท้าย หลังจากกิน PrEP ครั้งที่สองไปแล้ว 24 ชั่วโมง

จะรับเพร็พ (PrEP) ได้อย่างไร ?

ก่อนมารับเพร็พ (PrEP) ผู้มารับบริการจะได้รับการตรวจเอชไอวี ตรวจการทำงานของตับและไต หลังจากที่ได้รับยาเพร็พ (PrEP) ครั้งแรกจะนัดตรวจเลือด 1 เดือน หลังจากนั้นนัดตรวจเลือดทุก 3 เดือน หากต้องการหยุดยา ผู้มารับบริการต้องมาตรวจเลือดก่อนหยุดยาเพร็พ (PrEP) ทุกครั้ง

สารสารถจองคิวรับ เพร็พ (PrEP) ได้ที่ >>> Love2Test

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • U=U คืออะไร
  • ข้อดีของการตรวจ HIV ที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่สนใจ

ขอบคุณข้อมูล : trcarc ,love2test ,lovefoundation

Filed Under: PrEP Tagged With: PrEP, ยาต้านไวรัส, เพร็พ, เอชไอวี

ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี

May 29, 2022 by thaihiv365 team

ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวี ถือเป็นหัวใจสำคัญของการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยแพทย์จะพิจารณาให้ผู้ป่วยเริ่มกินยาต้านไวรัสเอชไอวีโดยเร็วที่สุด เพื่อเป็นการรักษาตัวผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีเอง และเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเอชไอวีไปสู่ผู้อื่น 

ยาต้านไวรัส คือ?

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี

Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผล HIV เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

ซึ่งจะใช้ช่วงก่อนหรือหลังจากการสัมผัสเชื้อ HIV สำหรับยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อนั้น เรียกว่ายา PrEP ซึ่งย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis (ยาต้านก่อนเสี่ยง) และยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากสัมผัสเชื้อนั้น เรียกว่ายา PEP โดยย่อมาจาก Post -Exposure Prophylaxis (ยาต้านฉุกเฉิน)

ยาต้านไวรัสเอชไอวีมี 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

  1. Reverse transcriptase inhibitors ยับยั้งขบวนการคัดลอก RNA ไปเป็น DNA ของไวรัส (reverse transcription) ยากลุ่มนี้ยังแบ่งย่อยเป็นกลุ่ม
    • Nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NRTIs) ได้แก่ Abacavir (ABC), Didanosine (ddI), Emtricitabine (FTC), Lamivudine (3TC), Stavudine (d4T), Tenofovir (TDF), Zalcitabine (ddC), Zidovudine (AZT)
    • Non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs) ได้แก่ Delavirdine (DLV), Efavirenz (EFV), Etravirine (ETR), Nevirapine (NVP), Rilpivirine (RPV)
  2. Protease inhibitors (PIs) ยับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัส ยากลุ่มนี้ได้แก่ Darunavir (DRV), Indinavir (IDV), Nelfinavir (NFV), Ritonavir (RTV), Saquinavir (SQV), Kaletra® (lopinavir/ritonavir, LPV/r), Reyataz® (atazanavir/ritonavir, ATV/r) เป็นต้น
  3. Integrase strand transfer inhibitors (INSTIs) ยับยั้งไม่ให้ DNA ของไวรัสรวมตัวกับ DNA ของคน ยากลุ่มนี้ได้แก่ Dolutegravir (DTG), Elvitegravir (EVG), Raltegravir (RAL) เป็นต้น
  4. Entry/Fusion inhibitors ยับยั้งไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ได้ ยากลุ่มนี้ได้แก่ Enfuvirtide (INN), Maraviroc (EVG) เป็นต้น
อาการข้างเคียงของยาแต่ละชนิด

3. ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี แต่ละชนิด ดังนี้

Zidovudine (AZT, ZDV) ยาต้านไวรัสที่ช่วยไม่ให้เชื้อเอชไอวีเพิ่มจำนวน และใช้ขณะตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวีถ่ายทอดเชื้อไปยังทารก

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เป็นไข้ เจ็บคอ
  • ปวดศีรษะ
  • โลหิตจาง
  • ลมพิษ
  • หายใจติดขัด 
  • บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ
  • เม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ
  • แสบร้อนที่ดวงตา ปวดผิว
  • ผิวและเล็บอาจมีสีคล้ำ

Lamivudine (3TC) เป็นยาต้านไวรัสในกลุ่มเอ็นอาร์ทีไอ (Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors: NRTI) ที่ออกฤทธิ์ช่วยลดจำนวนเชื้อเอชไอวีในร่างกายของผู้ป่วยติดเชื้อ ซึ่งจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อเอชไอวี เช่น การติดเชื้อบางชนิด และมะเร็ง เป็นต้น 

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส
  • ปวดศีรษะ
  • ตับออนอักเสบ

Didanosine (ddI) ใช้ในการรักษาภาวะติดเชื้อไวรัสเอชไอวีซึ่งทำให้เกิดโรคเอดส์หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) ยาไดดาโนซีนไม่สามารถรักษาภาวะติดเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องให้หายขาดได้ แต่อาจช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคได้

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ชาปลายมือ ปลายเท้า
  • ตับอ่อนอักเสบ

Stavudine (d4T) รักษาโรคตดิเช้ือ HIV ซ่ึงไมส่ ามารถทนตอ่ หรือด้ือตอ่ ยาอื่นๆ หรือใช้ยาอื่นไม่ ไดผ้ล

ผลข้างเคียง

  • ชาปลายมือ ปลายเท้า
  • ระดับแลคเตทในเลือดสูง
  • ตับออนอักเสบ
  • แก้มตอบ ไขมันใต้ผิวหนังลดลง
  • ระดับไขมันในเลือดสูง

Abacavir (ABC) ป็นยาต้านไวรัสในกลุ่มเอ็นอาร์ทีไอ (Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors: NRTI) ที่แพทย์นำมาใช้ร่วมกับยารักษาการติดเชื้อเอชไอวีชนิดอื่น ออกฤทธิ์ลดจำนวนเชื้อเอชไอวีในร่างกายของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ซึ่งช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดียิ่งขึ้น และยังลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อเอชไอวีอย่างการติดเชื้ออื่น ๆ และการเกิดมะเร็ง 

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ภาวะภูมิไวเกิน

Tenofovir (TDF) เป็นยาต้านไวรัส ใช้รักษาการติดเชื้อเอชไอวี และการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง อาจใช้ร่วมกับยาตัวอื่น ๆ เพื่อรักษาควบคู่กัน แต่ยานี้อาจไม่ได้ฆ่าเชื้อไวรัสทั้งหมด เพียงแต่ช่วยควบคุมโรคเท่านั้น

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องอืด แน่นท้อง
  • ท้องเสีย

Tenofovir+emtricitabine (TDF/FTC) ยาทั้ง 2 ชนิดนี้จะอยู่ในรูปของยาสูตรผสมที่ต้องรับประทานคู่กันเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องอืด แน่นท้อง
  • ท้องเสีย
  • ปวดศีรษะ

Efavirenz (EFV) เป็นยาต้านไวรัสที่ใช้รักษาการติดเชื้อเอชไอวี โดยยาจะช่วยลดปริมาณเชื้อเอชไอวีในร่างกายและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวีอย่างมะเร็งหรือการติดเชื้ออื่น ๆ 

ผลข้างเคียง

  • วิงเวียนศีรษะ
  • ง่วงนอน
  • อาการนอนไม่หลับ
  • อาการสับสน 
ผื่นsteven johnson syndrome

Etravirine (ETR) เป็นยาใหม่ในกลุ่ม non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor (NNRTI) ที่กำลังพัฒนาสำหรับใช้ในการรักษาผู้ที่ติดเชื้อ HIV

ผลข้างเคียง

  • ผื่นแพ้ อาจรุนแรง ถึง Steven Johnson Syndrome
  • ภาวะภูมิไวเกิน 
  • คลื่นไส้ 

Nevirapine (NVP) รักษาอาการติดเชื้อ HIV เป็นยาในกลุ่ม nucleoside reverse transcriptase inhibitor

ผลข้างเคียง

  • ผื่นแพ้ อาจรุนแรง ถึง Steven Johnson Syndrome
  • ตับอักเสบ อาจรุนแรงถึงตับวายเฉียบพลัน

Rilpivirine (RPV) เป็นยากลุ่ม non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs)

ผลข้างเคียง

  • ปวดศีรษะ
  • อาการนอนไม่หลับ
  • ผื่นแพ้ 
  • ซึมเศร้า 

Atazanavir sulfate (ATV)  ใช้สำหรับการรักษา, ควบคุม, ป้องกันและรักษาอาการและสภาพของการติดเชื้อเอชไอวีให้ดีขึ้น

ผลข้างเคียง

  • ภาวะตัวเหลือง 
  • คลื่นไส้
  • ผื่นแพ้ 
  • ท้องเสีย
  • ปวดศีรษะ 

Ritonavir (RTV) เป็นยาต้านไวรัสที่มักใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นเพื่อรักษาการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ลดปริมาณเชื้อเอชไอวี ส่งผลให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น ช่วยลดโอกาสของการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อเอชไอวีอย่างการติดเชื้อต่าง ๆ และโรคมะเร็ง 

ผลข้างเคียง

  • Gastrointestinal side effect คลื่นไส้ , อาเจียน, ท้องเสีย
  • ระดับไขมันในเลือดสูง 
  • ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง 
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง  

Lopinavir/ritonavir (LPV/r) ใช้ร่วมกับยาต้านรีโทรไวรัสตัวอื่นๆ ในการรักษา ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV-1

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ระดับไขมันในเลือดสูง  
  • ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ในเลือดสูง 
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง 

Darunavir (DRV)  เป็นยาต้านไวรัสอยู่ในกลุ่ม ยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส ใช้รักษาโรคติดเชื้อ HIV-1

ผลข้างเคียง

  • ผื่นแพ้ 
  • คลื่นไส้
  • ท้องเสีย
  • ปวดศีรษะ 

– Saquinavir (SQV) ใช้ร่วมกับยาริโทนาเวียร์ (ritonavir) และยารักษาโรคเอชไอวีอื่นๆ เพื่อควบคุมอาการติดเชื้อเอชไอวี โดยลดปริมาณของเชื้อเอชไอวีในร่างกาย เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดโอกาสของการเกิดอาการแทรกซ้อนของเอชไอวี

ผลข้างเคียง

  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้
  • ปวดท้อง 

Maraviroc (MVC) ป็นยาต้านไวรัสในกลุ่มตัวรับ CCR5 ที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี 

ผลข้างเคียง

  • ปวดท้อง 
  • ไอ 
  • วิงเวียนศีรษะ 
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 
  • อาการไข้ ตัวร้อน  
  • ผื่น 

Raltegravir (RAL) ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม Integrase inhibitor ในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ HIV-1 ที่ยังไม่เคยได้รับยารักษามาก่อน

ผลข้างเคียง

  • ผื่นแพ้ อาจรุนแรง ถึง Steven Johnson Syndrome
  • ภาวะภูมิไวเกิน 
  • คลื่นไส้
  • ปวดศีรษะ 
  • ท้องเสีย
  • อาการไข้ ตัวร้อน 

สรุปอาการข้างเคียงจากการกินยาต้านไวรัสเอชไอวี

  • อาการข้างเคียงในระยะสั้นและไม่รุนแรง พบได้และอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น ภายในเวลาประมาณ 2 – 3 เดือน เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องอืด นอนไม่หลับ ฝันร้าย มีผื่นขึ้นเล็กน้อย 
  • อาการข้างเคียงในระยะสั้นและรุนแรง เช่น ภาวะซีด ตับหรือตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ชาปลายมือปลายเท้า นิ่วในไต ซึ่งอาจพบได้ทุกช่วงของการกินยา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้าไม่รีบแก้ไข

ดังนั้น ต้องมีการติดตามอาการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด โดยมีการตรวจสุขภาพ และผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเป็นระยะ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ หรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องได้ ต้องให้ข้อมูลแก่แพทย์ให้มากที่สุดเพื่อประโยชน์ของตัวผู้ป่วยเอง

อาการข้างเคียงในระยะยาว มักพบหลังจากกินยาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่ตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป บางรายพบได้ในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี  อาการข้างเคียงในระยะยาว เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย การกระจาย และสะสมของไขมันผิดปกติและผิดที่ มีไขมันพอกที่ต้นคอ ลำตัวอ้วน แขนขาลีบ แก้มตอบ

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

PrEP เหมาะสำหรับใคร ?

ยาต้านฉุกเฉิน (PEP) คืออะไร ?

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ยาต้านไวรัสเอดส์ (Antiretrovirals) http://mutualselfcare.org/medicine/medicative/antiretrovirals.aspx?M=k&G=a
  • ยาต้านเอชไอวี
    http://www.thaiaidssociety.org/images/PDF/bms_arvdrug.pdf
  • อาการข้างเคียงและอาการแพ้ยา
    https://www.mplusthailand.com/hivaids/ยาต้านไวรัส/อาการข้างเคียงและอาการ/


Filed Under: ยาต้านไวรัส, เอชไอวี HIV Tagged With: Exposure prophylaxis, ยาต้านไวรัส, ยาต้านไวรัสเอชไอวี

ยาต้านฉุกเฉิน (PEP) คืออะไร ?

November 22, 2021 by 365team

ยาเป็ป (PEP) เป็นยาต้านฉุกเฉิน ในกรณีการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันและควรเก็บไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น และการรับยา PEP จะช่วยยับยั้งการกลายเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันก่อนจะแพร่กระจายในร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานยาให้เร็วที่สุด

รู้จักยา PEP คืออะไร

PEP ย่อมาจาก post-exposture prophylaxis หรือยาต้านฉุกเฉิน ทานหลังจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV  เป็นการรักษาระยะสั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยยาที่ใช้ในกลุ่มนี้เป็นประเภท Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NNRTIs) Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) และ Protease inhibitor(PIs) โดยทานยาครบตามที่แพทย์สั่ง

การทานยาเป็ป(PEP) 

การทานยา เป็ป(PEP)   จำเป็นต้องทานให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ คือ ต้องทานภายในเวลา 72 ชั่วโมง หลังจากสัมผัสเชื้อมา หรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งถ้าทานยาหลังจาก 72 ชั่วโมงไปแล้ว หรือทิ้งไว้นานก็จะทำให้ประสิทธิภาพการรักษาไม่ได้ผล 

การทานยา เป็ป(PEP) จะต้องทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน และทานยาต้านไวรัสประกอบกัน 2-3 ชนิด ซึ่งเป็นวิธีเดียวกันกับผู้มีเชื้อเอชไอวี แต่ยาต้านไวรัสส่วนมาก มักมีผลข้างเคียง บางรายอาจมีอาการท้องเสีย ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และอิดโรย โดยผลข้างเคียงนี้อาจมีอาการรุนแรงในบางราย จนทำให้เป็นสาเหตุของผู้ทานยา หยุดยาไปก่อนที่จะทานครบกำหนด

ใครบ้างที่ควรได้รับยาเป็ป ( PEP )

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ถูกข่มขืน หรือ มีการป้องกันแต่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างมีเพศสัมพันธ์เช่น ถุงยางหลุด ถุงยางฉีกขาด ฯลฯ
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ หรือ สัมผัสเลือด หรือ ได้รับสารคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อ HIV
  • ไม่ได้สติขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจเกิดจากฤทธิ์แอลกอฮอล์หรือฤทธิ์ยาบางชนิด
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • บุคคลากรทางการแพทย์ที่เกิดอุบัติเหตุ มีดบาด เข็มตำในโรงพยาบาลจากการทำหัตถการให้คนไข้
  • มีความถี่ในการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ให้บริการทางเพศบ่อย
  • มีการเข้ารับยาเป็ป (PEP) บ่อยครั้ง
  • มีการตรวจพบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

จะรับยาเป็ป ( PEP )  มีขั้นตอนอย่างไร

     หากคุณมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ HIV  

  1. ขั้นตอนแรกต้องเข้ามารับคำปรึกษาประเมินความเสี่ยงโดยแพทย์ก่อน
  2. หลังจากนั้นหากแพทย์ประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสมควรได้รับยา PEP  จริง จะต้องมีการเจาะเลือดคนไข้เพื่อตรวจว่าไม่ได้ติดเชื้อ HIV อยู่ก่อนแล้ว รวมถึงตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และสุขภาพโดยรวม ค่าไตค่าตับของคนไข้ด้วย ว่าพร้อมจะกินยาหรือไม่
  3. เข้าพบแพทย์ เพื่อเลือกตัวยาที่เหมาะสม
  4. รับยากลับบ้าน

ยาเป็ป ( PEP ) ป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้กี่เปอร์เซ็นต์

การใช้ยา PEP ไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ 100% แต่เนื่องจากปัจจัยที่มีผลต่อการที่คนคนนึงจะติดเชื้อ HIV หรือไม่หลังได้รับยา PEP นั้นมีมากมายหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งของโรคที่รับเชื้อมา ว่ามีปริมาณ viral load มากน้อยแค่ไหน ความเข็งแรงของตัวคนไข้เอง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อโอกาสที่คนไข้จะติดหรือไม่ติดเชื้อ HIV ทั้งสิ้น   

ต้องกินยาเป็ป ( PEP ) นานแค่ไหน

การกินยา PEP ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องกินภายใน 72 ชั่วโมงหลังได้รับความเสี่ยง โดยกินอย่างสม่ำเสมอทุกวัน(กินเวลาเดิม) ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 28 วัน โดยสูตรยาที่กินจะมีทั้งแบบวันละครั้งและวันละ 2 ครั้ง หลังจากกินยาครบแพทย์จะนัดคนไข้มาเจาะเลือดเพื่อตรวจ HIV อีกครั้ง

ยาเป็ป ( PEP )  ฟรี 

การรับยา PEP สามารถเข้ารับบริการได้ตามสถานบริการของรัฐ เอกชน หรือคลินิกเฉพาะทางที่มีแพทย์ประจำ เนื่องจากการรับยาต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์ และจำเป็นจะต้องมีการตรวจเลือดทุกครั้งที่รับยา เพื่อความปลอดภัย และลดผลข้างเคียงที่อาจจะตามมาได้หลังจากการรับยา

ยาเป็ป ( PEP ) ซื้อที่ไหน

อย่างแรกก่อนการรับยาเป๊ป คุณจะต้องเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสเอชไอวีเสียก่อน เป็นการยืนยันผลว่าคุณไม่ได้มีเชื้ออยู่ก่อนแล้ว เพราะถ้าหากคุณมีเชื้อเอชไอวี จะไม่สามารถใช้ยาเป๊ปได้ รวมถึงมีการตรวจไวรัสตับอักเสบบี และตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆด้วย การทานยาต้านฉุกเฉินนี้จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ไม่สามารถหาซื้อทานได้เองตามร้านขายยาทั่วไป หรือทางออนไลน์ 

ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยงๆ สามารถใช้ ยาเป็ป ( PEP )ได้ตลอดไหม

ยา PEP ควรเก็บไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น หากเรารู้ตัวว่าจะต้องมีความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV อยู่เป็นประจำ ควรใช้ยา PrEP ที่เอาไว้ทานร่วมกับการใช้ถุงเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ HIV จะเป็นวิธีที่เหมาะสมและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • ทำไมถึงควรตรวจเอชไอวีเป็นประจำ?
  • ความก้าวหน้าของการรักษาเอชไอวีในปัจจุบัน

Filed Under: PEP Tagged With: PEP, ยาต้าน, ยาต้านฉุกเฉิน, ยาต้านไวรัส, เอชไอวี, เอดส์

ความก้าวหน้าของการรักษาเอชไอวีในปัจจุบัน

April 9, 2020 by thaihiv365 team

โรคเอชไอวีและเอดส์ ถือเป็นโรคร้ายที่อยู่กับคนเรามาร่วมหนึ่งร้อยปีแล้ว นับตั้งแต่การค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2463 ที่สมัยนั้น มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว เพราะโรคนี้ไม่มีอาการใด ๆ  แสดงออกมา ประกอบกับช่วงเวลานั้นที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ ยังไม่พัฒนามากนัก ทำให้โรคนี้ส่งต่อไปทั่วโลกโดยใช้เวลาไม่นาน

ข้อมูลโรคเอดส์สมัยก่อน

โรคเอชไอวีในสมัยก่อน สามารถรักษาได้ตามอาการเท่านั้น และยังไม่มียารักษาที่ได้ผล ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตทั่วโลกจำนวนมาก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2527 ก็ได้มีการคิดค้นชุดตรวจขึ้น สำหรับโรคเอชไอวี ทำให้สามารถยืนยันตัวผู้ป่วยได้ และในปี พ.ศ. 2530 ก็ได้มีการพัฒนายาต้านไวรัสเอชไอวีรุ่นแรกขึ้นมาชื่อว่า AZT (Azidothymidine) ที่มีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อเอชไอวี ไม่ให้แบ่งตัวได้เพื่อรอให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายพัฒนากลับขึ้นมา แต่เนื่องจากเป็นยารุ่นแรก ทำให้มีผลข้างเคียงที่รุนแรงในหลาย ๆ รายที่ทานยา และภายในปี พ.ศ. 2533 ทั่วทั้งโลกมียอดผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่พัฒนาไปเป็นเอดส์แล้วถึง 400,000 ราย

ผ่านมากว่า 30 ปี ก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี การรักษาเอชไอวีให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มีวิธีการตรวจเอชไอวีที่แม่นยำขึ้น และรวดเร็วขึ้นมาก รวมถึงมีต้นทุนที่ถูกลงอีกด้วย ทำให้การตรวจเอชไอวี สามารถทำได้ในสถานพยาบาลทุกแห่งที่มีเครื่องมือพร้อม ส่วนการรักษาเอชไอวีในปัจจุบัน ก็ยังเป็นการทานยาต้านไวรัสเอชไอวีเหมือนเดิม แต่ยาจะไม่ใช่ชุดที่ทานครั้งละหลาย ๆ เม็ดเหมือนสมัยก่อน แต่จะเป็นยารวมเม็ดที่อาจต้องทานแค่วันละ 1-2 เม็ดเท่านั้น ตามแต่แพทย์จะแนะนำ และอาจมีการนัดให้มาตรวจเลือด เพื่อดูปริมาณไวรัสในเลือดและปริมาณเม็ดเลือดขาวเป็นครั้งคราว เพื่อดูว่าคนไข้ตอบสนองต่อยาได้ดีแค่ไหน ถ้ารักษาด้วยการทานยาไปเรื่อย ๆ ก็จะสามารถลดปริมาณไวรัสในเลือดลงได้มากถึงขั้นที่ตรวจไม่พบเชื้อเลย ซึ่งถ้าถึงระดับนี้แล้วจะทำให้บุคคลนั้น ๆ ไม่สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่นได้อีกและเทียบได้กับผู้ไม่มีเชื้อ ตราบใดที่ยังทานยาอย่างสม่ำเสมออยู่

ตรวจเอชไอวี เอดส์ ยารักษาเอดส์ ยาต้านไวรัส ตรวจเอดส์ รักษาเอชไอวี ยาเพร็พ ยาเป๊ป ยาต้านฉุกเฉิน ผลเลือดบวก ผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี วิธีตรวจเอชไอวี

โดยหลักการนี้ เป็นผลสรุปมาจากงานวิจัยที่ศึกษาคู่รักจำนวนหนึ่ง ที่หนึ่งคนมีเชื้อเอชไอวี แต่อีกคนไม่มีเชื้อมาเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี และผลสรุปที่ได้ คือ ไม่มีคู่รักคนไหนเลยแม้แต่คนเดียวที่ติดเชื้อเอชไอวี ไม่ว่าจะเป็นคู่รักเพศเดียวกัน หรือต่างเพศก็ตาม ซึ่งหลักการนี้มีชื่อเรียกว่า

U=U (undetectable=Untransmittable)

หรือที่เรียกว่า ไม่พบ=ไม่แพร่ ซึ่งหลักการนี้ ถือเป็นงานวิจัยชิ้นสำคัญว่า เทคโนโลยีการรักษาโรคเอชไอวีพัฒนาไปไกลพอสมควรแล้ว นอกจากนี้ยาต้านไวรัสเอชไอวีที่ว่า ยังสามารถนำมาใช้ในบริบทอื่นได้อีกด้วย เช่น

  • ยาเพร็พ PrEP: ที่มีชื่อย่อมาจาก (Pre-Exposure Prophylaxis) หรือยาต้านเอชไอวีก่อนมีความเสี่ยง โดยยาสูตรนี้ ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อคนที่ยังไม่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ นำมาทานก่อนวางแผนจะไปมีเพศสัมพันธ์ที่อาจเสี่ยงรับเชื้อเอชไอวีในอนาคต โดยการทานยานี้จะเป็นการทานแบบดักไว้ก่อนไปมีความเสี่ยง เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีนั่นเอง
  • ยาเป๊ป PEP: ที่มีชื่อย่อมาจาก (Post-Exposure Prophylaxis) โดยยาสูตรนี้จะเป็นยาสำหรับคนที่ยังไม่มีเชื้อเอชไอวีเช่นกัน แต่ใช้ในกรณีที่ไปมีความเสี่ยงรับเชื้อมาแล้ว เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยกับคนที่สงสัยว่าจะมีเชื้อเอชไอวี หรือในบุคลากรการแพทย์ที่ต้องทำงานกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย แล้วเกิดอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำ หรือสารคัดหลั่งกระเด็นเข้าตา โดยยาสูตรนี้จำเป็นต้องทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากมีความเสี่ยงรับเชื้อมาเท่านั้น ถ้าหากทานยาได้ทันก็ต้องทานไปอย่างน้อย 28 วันหรือนานกว่านั้น และค่อยกลับมาตรวจเลือดซ้ำเพื่อสรุปผลการรักษา

ทั้งนี้ยาทั้งสองสูตรที่กล่าวมา มีข้อจำกัดคือ ต้องมีการตรวจเอชไอวีและตรวจเลือดเพื่อตรวจผลต่าง ๆ ก่อนการจ่ายยาทุกครั้ง เพราะยาเหล่านี้ เป็นยาควบคุมในโรงพยาบาลที่มีข้อจำกัดหลายอย่าง ฉะนั้นหากคิดว่าตนเองมีความเสี่ยง และอยากรับยาเพร็พ ยาเป๊ปก็ควรสอบถามแพทย์ผู้จ่ายยาให้ครบถ้วนก่อนเริ่มทานยา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

  • ยาเพร็พ (PrEP) คืออะไร
  • ยาเป๊ป (PEP) ยาฉุกเฉินหลังเสี่ยง

ตรวจเอชไอวี เอดส์ ยารักษาเอดส์ ยาต้านไวรัส ตรวจเอดส์ รักษาเอชไอวี ยาเพร็พ ยาเป๊ป ยาต้านฉุกเฉิน ผลเลือดบวก ผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี วิธีตรวจเอชไอวี

การรักษาเอชไอวี

ถึงแม้ในปัจจุบันยาต้านไวรัสเอชไอวี จะไม่ใช่วิธีการรักษาเอชไอวีให้หายขาดก็ตาม แต่หากทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะทำให้ผู้มีเชื้อเอชไอวีสามารถมีชีวิตยืนยาวได้ไม่ต่างกับคนอื่น ๆ และมีร่างกายแข็งแรงได้เหมือนกันทุกประการ แต่สิ่งสำคัญคือ การมีระเบียบในการทานยา และห้ามหยุดยาเท่านั้น ซึ่งเทคโนโลยีการรักษาทั้งหมดนี้ ใช้เวลาพัฒนาเพียงไม่นานเท่านั้นที่จะได้มา เพราะฉะนั้นถึงตอนนี้อาจจะต้องทานยาอยู่ แต่ในอนาคตอันใกล้ก็ไม่แน่ว่าอาจจะมีเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ทำให้ทุกคนหายขาดจากเอชไอวีไปเลยก็ได้

Filed Under: เอชไอวี HIV Tagged With: ยาต้านไวรัส, เอชไอวี, โรคเอดส์

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”
  • โรคฝีมะม่วง..ภัยร้ายใกล้ตัว
  • หนองในเทียม (Chlamydia)
  • CD4 ที่เท่าไหร่ถึงเรียกว่าระดับน่าเป็นห่วง

Archives

  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in