• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี

สิทธิประโยชน์การบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์

August 21, 2022 by thaihiv365 team

สิทธิประโยชน์การบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์

สิทธิประโยชน์  ผู้ป่วยโรคเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวี ของระบบประกันสุขภาพ 3 กองทุน มีดังนี้

  1. สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UCS) 
  2. สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (OFC) 
  3. สิทธิประกันสังคม (SSS) 

รายละเอียดระบบประกันสุขภาพแต่ละกองทุน ดังนี้

สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UCS) 

สิทธิหลักประกันสุขภาพ, บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือที่รู้จักกันในนาม สิทธิ30 บาท หรือสิทธิบัตรทองช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายจากค่ารักษาพยาบาลโรคเรื้อรัง โรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง

1. บริการให้คำปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ (VCT) ให้ทุกสิทธิกับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 

2. มีการกำหนดสิทธิประโยชน์ตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทยปี 2560 และลงทะเบียนผู้ป่วย

3. จัดหาและกระจายยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐานและสูตรดื้อยา ผ่านเครือข่ายหน่วยบริการ ด้านยาและเวชภัณฑ์ (รพ.ราชวิถี) คือ

  • มีการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัส ทั้งสูตรพื้นฐาน และสูตรดื้อยา 
  • มีการดูแลรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง จากการกินยาต้านไวรัส
  • ได้รับยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี จากแม่สู่ลูก

4. บริการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่

  • ตรวจหาจำนวน เม็ดเลือดขาว ชนิด CD4
  • ตรวจหา เชื้อดื้อต่อยาต้านไวรัส
  • ตรวจหาปริมาณเชื้อเอชไอวี ในกระแสเลือด
  • ตรวจเลือดพื้นฐาน
  • มีการตรวจ Viral Load  ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง
  • ตรวจไวรัสเพื่อประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อของทารก  (32-36 สัปดาห์) 
  • ตรวจคัดกรอง/ยืนยันไวรัสตับอักเสบซีในกลุ่มผู้ติดเชื้อ
  • ศูนย์องค์รวมนิเทศน์ ติดตามเยี่ยมบ้านตามสมัครใจ 
  • บริการคัดกรอง “วัณโรค” ด้วย Chest X-Ray : CXR ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ 

5. ด้านการกำกับติดตามการรักษา

  • บริการให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม
  • ถุงยางอนามัย

สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (OFC) 

  • ข้าราชการทุกหน่วยงานเบิกจ่ายตรงกับโรงพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้
  • ครอบคลุมบริการตามระบบปกติ
  • การรักษาเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา
  • ไม่มีระบบบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะ  
  • ตามระยะเวลาของการเป็นข้าราชการ
  • ตรวจสอบสถานพยาบาลและประเมินค่าใช้จ่าย เว็บไซด์กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th

สิทธิประกันสังคม (SSS)  

  • สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ให้ความคุ้มครองผู้ประกันตนที่ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ที่เป็นโรคเอดส์ (AIDS) ทั้งในการตรวจและรับยาต้านไวรัสเอชไอวี เพียงเข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลตามสิทธิเท่านั้น 
  • มีการกำหนดสิทธิประโยชน์ตามแนวทางการตรวจรักษา และป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทยปี 2560
  • ใช้ระบบสารสนเทศ (ระบบNAP) ร่วมกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการลงทะเบียนผู้ติดเชื้อ
  • สำนักงานประกันสังคม 

จะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้กับสถานพยาบาลตามสิทธิของผู้ประกันตน ได้แก่

  • ค่าตรวจ CD4 เหมาจ่ายครั้งละ 500 บาท ปีละไม่เกิน 1,000 บาท/คน 
  • ค่าตรวจ Viral Load เหมาจ่ายครั้งละ 2,500 บาท ปีละไม่เกิน 5,000 บาท/คน
  • ค่าตรวจ Drug resistance ครั้งละ 8,500 บาท/คน/ปี

ดูแลค่ายาต้านไวรัสเอชไอวี ให้แก่ผู้ประกันตนที่มีสิทธิ ดังนี้

  • ให้ยาต้านไวรัสเอชไอวี ในผู้ติดเชื้อทุกรายในทุกระดับ CD4
  • การพิจารณาเริ่มยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี และการเลือกสูตรยาต้านไวรัส ให้เป็นไปตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยสถานพยาบาลสามารถเลือกใช้ยาต้านไวรัสได้ตามรายการที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
  • จัดหาและกระจายยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐานและสูตรดื้อยาผ่านระบบ VMI ให้กับ รพ.ทุกแห่ง ในระบบประกันสังคม โดยผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาที่ รพ. ที่ตนเองขึ้นทะเบียนไว้  (รพ.ตามบัตรรับรองสิทธิ) 

หมายเหตุ เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์

การขอเงินเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ 

   คุณสมบัติผู้ที่จะขอรับความช่วยเหลือ (คนละ 500 บาท/เดือน)

  • ต้องเป็นผู้ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยที่ปรากฏอาการ และมีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจน
  • ถูกทอดทิ้ง ขาดผู้อุปการะดูแล ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้
  • มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขต อบต. จริง
  • ต้องอาศัยอยู่ในเขต อบต. จริง
  • ได้รับความเห็นชอบจากคณะผู้บริหาร อบต.
  • มีฐานะยากจน โดยรายได้เฉลี่ยต่อคน ต่ำกว่า 20,000 บาท ต่อปี

    หลักฐานการรับความช่วยเหลือ

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • ใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ปรากฏอาการ

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

ทำความรู้จักกับ โรคฝีดาษลิง

กามโรคคืออะไร?

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • สิทธิประโยชน์ ‘บัตรทอง’ สำหรับผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวี https://news.trueid.net/detail/O1X2QDvamWBz
  • สิทธิประโยชน์ผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวี https://healthserv.net/สิทธิประโยชน์ผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวี-สปสช-3172
  • ข้าราชการ https://www.mplusthailand.com/hivaids/สิทธิการรักษา/ข้าราชการ/
  • สิทธิประกันสังคม ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และโรคเอดส์ (AIDS) https://news.trueid.net/detail/yPb92Y5Jjv5m
  • เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ-ผู้พิการ-ผู้ป่วยเอดส์ https://kudkha.go.th/index/?page=article8965

Filed Under: เอชไอวี HIV Tagged With: ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ป่วยโรคเอดส์, สิทธิประกันสังคม, สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ, สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ที่มักพบในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์

April 14, 2022 by thaihiv365 team

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

การติดเชื้อโรคฉวยโอกาส หรือภาวะแทรกซ้อน ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นกับคนปกติทั่วไป แต่จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำลง หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ อาจป่วยด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ได้พร้อมกันมากกว่า 1 โรค

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส หรือภาวะแทรกซ้อน คือ

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ จะมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาส หรืออาการภาวะแทรกซ้อนระยะเริ่มต้น คือ ผิวหนังเป็นเริม งูสวัสดิ์ ฝี เชื้อรา ผื่น กลากเกลื้อน แผลเรื้อรัง ลิ้นเป็นฝ้าขาว แบบโรคเชื้อรา เป็นไข้ และไอเรื้อรัง แบบวัณโรคปอด เป็นไข้ ไอ หอบ แบบปอดอักเสบ เป็นไข้ ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน คอแข็ง ก้มไม่ได้ (ก้มยาก) แบบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แขน ขา ชา อ่อนแรง แบบไขสันหลังอักเสบ ซีด มีจุดแดง จ้ำเขียว หรือเลือดออก แบบโรคเลือด ท้องเดินเรื้อรัง แบบมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส หรือภาวะแทรกซ้อน ที่อาจพบได้ และค่อนข้างเป็นอันตราย ได้แก่

  • วัณโรค (Tuberculosis-TB) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำลายปอดและทำให้ให้เยื่อหุ้มอักเสบ วัณโรคเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่คร่าชีวิตผู้ป่วยโรคเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลก
  • เริม โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้มีการอักเสบบริเวณปากหรืออวัยวะเพศจากการติดเชื้อไวรัส อาจเกิดแผลอักเสบรุนแรงขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันที่บกพร่องในภาวะเอดส์
งูสวัด
  • งูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัส มีลักษณะเป็นตุ่มน้ำขนาดเล็กกระจายตามแนวเส้นประสาทซีกหนึ่งของร่างกาย  จะปวดแสบปวดร้อนหรือคัน ต่อมาตุ่มน้ำจะแตก กลายเป็นสะเก็ดและหลุดไป
  • ตุ่มพีพีอี อาจเกิดจากการแพ้ยา ผื่นมักจะแดง นูน กระจายทั่วตัว และคันมาก หรือเกิดจากการแพ้สารเคมีต่างๆ หรือแพ้แมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ยุงกัด จะมีตุ่มคันรุนแรงกว่าคนปกติ
  • ปอดอักเสบพีซีพี เกิดจากเชื้อรานิวโมซิสติส จิโรเวซิไอ หรือ พีซีพี ทำให้เป็นโรคปอดบวม
  • เชื้อราเยื่อหุ้มสมอง เป็นโรคที่เกิดการติดเชื้อที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราบริเวณเยื่อหุ้มที่หุ้มรอบสมองและไขสันหลังจนทำให้บริเวณดังกล่าวอักเสบบวม 
  • ฝีที่สมอง เกิดขึ้นจากเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดอาการอักเสบที่สมองมีลักษณะการก่อตัวของเชื้อเป็นฝี หนอง ในเนื้อสมองที่สามารถส่งผลต่ออาการผิดปกติของระบบประสาท และสามารถอันตรายร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้หากเกิดการแตกของฝีในสมอง
  • โรคคริปโตค็อกคัสในระบบประสาท  เกิดจากเชื้อราคริปโตค็อกคัส ที่อยู่ในน้ำไขสันหลัง ผู้ป่วยจะค่อย ๆ เกิดอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ภาวะปอดอักเสบจากเชื้อรา   ปอดอักเสบจากเชื้อรามักจะพบเชื้อราที่ก่อให้เกิดภาวะปอดอักเสบ
  • การติดเชื้อรา และเกิดแผลอักเสบที่บริเวณปาก ภายในลำคอ หรือในช่องคลอด
อุจจาระร่วงจากโปรโตซัว
  • อุจจาระร่วงจากโปรโตซัว   เกิดจากโปรโตซัวเป็นปรสิตเซลล์เดียวที่รบกวนระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงได้
  • การติดเชื้อฉวยโอกาสจากแบคทีเรีย ทำให้ผู้ป่วยมีไข้ มีปัญหาในระบบย่อยอาหาร และน้ำหนักตัวลด
  • การติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส   ทำให้มีอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวกับดวงตาจนอาจนำไปสู่การตาบอด เกิดแผลเป็นหนองอักเสบ และอาการท้องร่วงรุนแรงได้ด้วย
  • โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม ซึ่งเป็นสัญญาณของการติดเชื้อเอชไอวี จนเกิดเป็นเซลล์มะเร็งลามไปทั่วต่อมน้ำเหลือง ทั้งบริเวณลำคอ รักแร้ หรือตามข้อพับต่าง ๆ นอกจากนี้ ในบางรายอาจเป็นมะเร็งหลอดเลือดคาโปซี ที่เกิดเซลล์เนื้อร้ายก่อตัวขึ้นในเนื้อเยื่อผนังหลอดเลือด เกิดเป็นบาดแผลสีแดง หรือสีม่วงตามผิวหนัง

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

ทำไมถึงควรตรวจเอชไอวีเป็นประจำ?

การติดเชื้อฉวยโอกาส

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • โรคฉวยโอกาสที่แฝงมากับเอดส์ https://www.facebook.com/livtoyou/posts/1686095878097416/
  • ภาวะแทรกซ้อนของ เอดส์ https://www.pobpad.com/เอดส์/ภาวะแทรกซ้อนของเอดส์


Filed Under: ตรวจเอชไอวี, เอชไอวี HIV, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ Tagged With: AIDS, HIV, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ป่วยโรคเอดส์, โรคติดเชื้อฉวยโอกาส

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”
  • โรคฝีมะม่วง..ภัยร้ายใกล้ตัว
  • หนองในเทียม (Chlamydia)
  • CD4 ที่เท่าไหร่ถึงเรียกว่าระดับน่าเป็นห่วง

Archives

  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in