PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) เพร็พ เป็นยาต้านไวรัส สำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือมีคู่นอนที่มีเชื้อเอชไอวี
Table of Contents
เพร็พ (PrEP) เหมาะกับใคร
- ชายที่มีเพศสัมพันธ์ชาย
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี
- ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
- ผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ
- ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
- ผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ภายใน 6 เดือน
ผลข้างเคียงของเพร็พ (PrEP)
โดยส่วนใหญ่ ผู้ที่ใช้ยาเพร็พ (PrEP) มักจะไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ซึ่งจากสถิติผู้ที่มี อาการข้างเคียงพบได้น้อยมาก และไม่ส่งผลที่อันตรายต่อร่างกาย อาจแสดงอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ ท้องเสีย หรือเบื่ออาหาร หลังจากนั้น อาการจะดีขึ้นเมื่อทานยาต่อเนื่องประมาณ 2-3 สัปดาห์ หากในกรณีที่มีความผิดปกตินอกเหนือที่กล่าวมาหรือรุนแรงมากขึ้นควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน
วิธีกินเพร็พ (PrEP) มีกี่วิธี
PrEP นิยมกินอยู่ 2 วิธี ผู้รับยาสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตัวเอง ดังนี้
Daily PrEP
เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถวางแผนการมีเพศสัมพันธ์ได้ หรือมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อเอชไอวี ขั้นตอนการกินที่ไม่ซับซ้อน กินเพียงแค่วันละ 1 เม็ด เริ่มต้นกิน 7 วันก่อนมีเพศสัมพันธ์ ต้องกินเวลาเดิมทุกวัน (เวลาไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องก่อนหรือหลังอาหาร)
On Demand PrEP
อีกไม่กี่วันต้องไปปาร์ตี้หนัก มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ สำหรับคนที่วางแผนการมีกิจกรรมของตัวเองได้ ขอแนะนำวิธีกิน PrEP แบบนี้ โดยมีสูตรในการกินคือ 2:1:1
- 2 เม็ดแรก ก่อนมีเพศสัมพันธ์ 2-24 ชั่วโมง
- 1 เม็ดถัดไป หลังมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว 24 ชั่วโมง
- 1 เม็ดสุดท้าย หลังจากกิน PrEP ครั้งที่สองไปแล้ว 24 ชั่วโมง
จะรับเพร็พ (PrEP) ได้อย่างไร ?
ก่อนมารับเพร็พ (PrEP) ผู้มารับบริการจะได้รับการตรวจเอชไอวี ตรวจการทำงานของตับและไต หลังจากที่ได้รับยาเพร็พ (PrEP) ครั้งแรกจะนัดตรวจเลือด 1 เดือน หลังจากนั้นนัดตรวจเลือดทุก 3 เดือน หากต้องการหยุดยา ผู้มารับบริการต้องมาตรวจเลือดก่อนหยุดยาเพร็พ (PrEP) ทุกครั้ง
สารสารถจองคิวรับ เพร็พ (PrEP) ได้ที่ >>> Love2Test
อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม
ขอบคุณข้อมูล : trcarc ,love2test ,lovefoundation