• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

เพร็พ PrEP ทางเลือกเพื่อป้องกันเอชไอวี

April 9, 2020 by thaihiv365 team

เมื่อตอนที่คนเรายังรู้จักกับเชื้อไวรัสเอชไอวีใหม่ ๆ คนที่ติดโรคนี้จะไม่มีวิธีใดเลยที่รักษาให้ดีขึ้นได้ จึงทำได้เพียงแต่รักษาไปตามอาการที่เกิดขึ้นเท่านั้น เนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ยุคนั้น ยังไม่พัฒนามากพอ กว่าจะได้ยาที่ช่วยควบคุมและบรรเทาอาการของเชื้อเอชไอวีได้ ใช้เวลายาวนานกว่า 60 ปี แต่เมื่อปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมานั้นได้มีการรับรองยาเพร็พ (PrEP) จากองค์การอาการและยาสหรัฐฯ ให้จำหน่ายแก่บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวีได้ และตัวยาก็ได้แพร่หลายไปทั่วโลกนับจากนั้น โดยจุดประสงค์ของยา PrEP จะเป็นยาที่สามารถทานดักไว้ก่อนไปมีความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวีเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้ แต่คนที่รับยานี้ไปทานจะต้องเป็นคนที่ไม่มีเชื้อเอชไอวีเท่านั้น

Prep ป้องกัน เอชไอวี

ยา PrEP หากทานอย่างถูกต้องจะสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากเพศสัมพันธ์ได้ถึงร้อยละ 99 และประมาณร้อยละ 74 จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ถึงแม้ประสิทธิภาพการป้องกันจะไม่ใช่ร้อยละร้อย แต่ยานี้ก็ถือเป็นวิธีป้องกันที่ได้ผลที่สุดที่มีในปัจจุบัน แต่สิ่งสำคัญคือต้องทานยาอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์

หลักการทำงานของยา PrEP คือการกินยาเข้าไปก่อนเพื่อให้ระดับยาในร่างกายอยู่ในระดับมากพอที่จะป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ ธรรมชาติของเชื้อเอชไอวีเมื่อเข้าสู่ร่างกายก็จะทำการจับตัวกับเม็ดเลือดขาวที่เป็นภูมิคุ้มกันด่านแรกของร่างกายและเข้าไปฝังตัวอยู่ในเม็ดเลือดขาวเพื่อใช้สารอาหารในนั้นสำหรับแบ่งตัว พอแบ่งตัวเสร็จตัวลูกก็จะเข้าไปจับกับเม็ดเลือดขาวอีกและทำตามกระบวนการเดิม เมื่อเม็ดเลือดขาวถูกดูดสารอาหารในตัวออกไปหมด มันก็จะตายลงตามธรรมชาติ ถึงแม้ปกติเม็ดเลือดขาวจะตายเร็วอยู่แล้ว แต่ถ้าตายเร็วมาก ๆ จนร่างกายผลิตมาเพิ่มไม่ทันก็จะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเพราะเม็ดเลือดขาวไม่พอนั่นเอง แต่ถ้าทานยา PrEP ดักไว้ก่อนแล้ว ถึงแม้เชื้อเอชไอวีจะเข้าสู่ร่างกายก็จะไม่สามารถแบ่งตัวได้เพราะมียาคอยรบกวนกระบวนการแบ่งตัว และเชื้อทั้งหมดก็จะตายลงในที่สุดเพราะไม่สามารถแบ่งตัวได้ ฉะนั้นถ้าอยากให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดก็ควรทานยาให้ตรงเวลาตามที่แพทย์แนะนำ

การทานยา PrEP หลัก ๆ แล้วจะมีด้วยกันสองวิธีก็คือ

  1. การทานแบบหน้า 7 หลัง 7 คือ การทานยา PrEP ก่อนไปมีความเสี่ยง 7 วันเพื่อให้ระดับยาในร่างกายเพียงพอต่อการป้องกันเชื้อ และหลังจากไปมีความเสี่ยงมาก็ให้ทานยาไปอีก 7 เม็ดเพื่อให้เชื้อที่อาจได้รับมาตายลงทั้งหมดจึงจะเป็นอันจบการทานยาแต่ละครั้ง ซึ่งวิธีนี้จะเป็นสูตรทานยา PrEP มาตรฐานที่สามารถใช้ได้กับทุกเพศไม่ว่าจะเป็น ชาย หญิง หรือบุคคลข้ามเพศก็ตาม
  2. วิธีทานแบบ 2+1+1 คือ สูตรการทาน PrEP ที่มีสำหรับกลุ่มชายรักชายเท่านั้น โดยจะเป็นวิธีการทานที่ประหยัดกว่ามาก วิธีการทานก็คือให้ทานครั้งแรกก่อน 2 เม็ดพร้อมกันก่อนมีความเสี่ยง 2-24 ชั่วโมง จากนั้นก็ให้เว้น 24 ชั่วโมงแล้วทานอีก 1 เม็ด และอีก 24 ชั่วโมงค่อยทานอีก 1 เม็ดสุดท้าย ก็จะเป็นอันจบสูตรทานยาแบบ 2+1+1 ในแต่ละครั้ง แต่หากเพศสัมพันธ์ยังมีต่อไปอีกหลายวัน ก็ให้ทานยาต่อจากที่กิน 2 เม็ดครั้งแรกไปวันละ 1 เม็ดไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายจึงจบด้วยการทานยา 1 เม็ดกับอีก 1 เม็ดก็จะเป็นอันจบสูตร (การทานยาทุกครั้งจะห่างกัน 24 ชั่วโมงเสมอ) ตัวอย่างเช่น หากวางแผนจะมีเพศสัมพันธ์วันจันทร์, อังคาร, และพุธ ก็ให้ทานยาในวันจันทร์ก่อนมีเพศสัมพันธ์ 2 เม็ดรวดเดียว แล้วทานอีก 1 เม็ดวันอังคาร และอีก 1 เม็ดวันพุธ และอีก 1 วันพฤหัส และ 1 เม็ดสุดท้ายวันศุกร์ก็จะเป็นอันจบสูตร

สิ่งสำคัญของการรับยาต้านเชื้อเอชไอวีก็คือการตรวจเลือด เพราะยาต้านไวรัสถือเป็นยาควบคุมในโรงพยาบาล หากจ่ายยาไปเลยโดยไม่ตรวจเอชไอวีก่อนอาจทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อร่างกายคนไข้ได้

Filed Under: ยาต้านไวรัส

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”
  • โรคฝีมะม่วง..ภัยร้ายใกล้ตัว
  • หนองในเทียม (Chlamydia)
  • CD4 ที่เท่าไหร่ถึงเรียกว่าระดับน่าเป็นห่วง

Archives

  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in

Go to mobile version