เอชไอวี เป็นโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก เพราะฉะนั้นส่วนมากคนจะติดโรคนี้ผ่านการไม่ใช้ถุงยางอนามัยตอนมีเพศสัมพันธ์ สิ่งหนึ่งที่ทำได้ง่าย ๆ คือการหมั่นใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งตอนมีเพศสัมพันธ์ และเรียนรู้วิธีใส่ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องเพื่อลดอุบัติเหตุ เช่น ถุงยางขาด หรือ ถุงยางหลุด เนื่องจากตอนสวมใส่ไม่ได้ทำอย่างถูกวิธี
ในปัจจุบันมีการจำหน่ายชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเองที่ใช้ได้จริงแล้ว ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามแหล่งจำหน่ายต่าง ๆ แต่วิธีตรวจด้วยตนเองนี้หลายครั้งจะไม่ได้มาตรฐานมากนัก เพราะไม่ใช่การตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญ แต่ชุดตรวจนี้ก็สามารถเป็นวิธีป้องกันเอชไอวีเบื้องต้นได้
ป้องกันเอชไอวีด้วยยาเพร็พ (PrEP) และยาเป๊ป (PEP)
นอกจากการใช้ถุงยางอนามัย ก็ยังมีวิธีป้องกันอีกวิธีหนึ่ง คือ การทานยาต้านฉุกเฉินก่อนเสี่ยง หรือยาเพร็พ (PrEP) เพื่อเป็นเกราะป้องกันก่อนมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงต่อเอชไอวี แต่การรับยาก็จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า และวิธีการยุ่งยากกว่าการใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งวิธีนี้ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันโรคเอชไอวี เพราะยาเพร็พ (PrEP) สามารถลดอัตราเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีได้มากกว่าร้อยละ 95 และสามารถทำให้สูงกว่าร้อยละ 95 ได้อีกหากใช้ร่วมกับถุงยางอนามัย
สิ่งสำคัญสำหรับยาเพร็พ (PrEP) คือ ความเข้าใจในตัวยานี้ เพราะยานี้ป้องกันได้เพียงโรคเอชไอวีอย่างเดียวเท่านั้น หากใช้ยาโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยจะทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นานาชนิด และทำให้การรักษายุ่งยากและใช้เวลานาน รวมถึงบางโรคก็รักษาไม่หาย เช่นเดียวกับเอชไอวีอีกด้วย
มียาเพร็พ (PrEP) ก่อนเสี่ยง ก็แน่นอนว่าจะมีอีกประเภทที่ต้องทานหลังเสี่ยง คือ ยาเป๊ป (PEP) เช่นกัน ชื่อทั้งสองอาจจะคล้ายกันคือ ยาเพร็พ (PrEP) ก่อนเสี่ยง กับ ยาเป๊ป (PEP) หลังเสี่ยง เพราะฉะนั้นควรเรียกให้ถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดได้ โดยธรรมชาติของคนทั่วไปแล้ว ยาหลังเสี่ยงนี้ จะได้รับความนิยมมากกว่ายาก่อนเสี่ยง เพราะคนที่มารับยานี้ ส่วนมากจะมาเพราะความกังวล เนื่องจากทำพลาดมาแล้ว ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม แล้วในบางรายจึงรับยาเพร็พ (PrEP) ก่อนเสี่ยง เพื่อป้องกันในอนาคต แต่ยาหลังเสี่ยงนี้มีข้อจำกัด คือ ต้องทานภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากวันเวลาที่เราคิดว่ามีความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวี สาเหตุนี้ เพราะกว่าเชื้อเอชไอวีจะเข้าสู่ดีเอ็นเอของร่างกายคน (ถึงจุดที่รักษาไม่หาย) จะใช้เวลาประมาณ 72 ชั่วโมงพอดีนั่นเอง แต่หากมารับยานี้ได้ทันภายใน 72 ชั่วโมง ก็สามารถวางใจเรื่องการติดเชื้อได้เลย เพราะต่อให้ความเสี่ยงที่มีมาทำให้เรารับเชื้อเอชไอวีมาจริง ๆ ยานี้ก็จะทำให้เราไม่ติดเชื้อเอชไอวีโดยไปป้องกันได้อย่างทันท่วงทีก่อนหมดระยะ 72 ชั่วโมงอันตราย
แต่ถึงอย่างนั้นแล้ว ยาต้านทั้งสองตัวก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพต้านเชื้อเอชไอวีได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะในการคำนวณต้องคำนึงถึงสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่อาจทราบไว้ด้วย เช่น การทานยาไม่สม่ำเสมอ หรือ การลืมทานยา เช่นเดียวกับ ระบบทางการแพทย์ทั้งหมดที่ไม่มีอะไรที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ยาสองตัวนี้ถือเป็นทางเลือกเดียวในการป้องกันโรคเอชไอวี นอกเหนือจากการใช้ถุงยางอนามัย เพราะฉะนั้นหากใครที่พลาดมาแล้วแต่ยังทัน 72 ชั่วโมง หรือกำลังจะไปมีความเสี่ยงในอนาคต ก็ควรมารับยานี้เพื่อป้องกันไว้ก่อนจะดีที่สุด
ใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันเอชไอวี
การป้องกันเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้มีประสิทธิภาพที่สุด คือการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ นับเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายและมีความรับผิดชอบต่อคู่รักและตัวเราเองได้ง่ายที่สุด
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
ใครบ้างที่ควรป้องกันเอชไอวี
ใครก็ตามที่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก หรือไม่คุ้นเคย ควรมีการใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันเอชไอวี หรือป้องกันได้ด้วยการทานยาเพร็พ (PrEP) กันไว้ก่อนก็ได้ หรือในกรณีอื่น ๆ เช่น
- บุคลากรทางการแพทย์ ที่ทำงานในสถานพยาบาล เกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้อ อาจต้องสัมผัสหรือมีความเสี่ยงจะโดนเลือดของผู้ติดเชื้อได้โดยไม่ได้ตั้งใจ
- กลุ่มบุคคลทั่วไป ที่มีประวัติการใช้เข็มฉีดยาบ่อย ๆ หรือใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น