เอชไอวี และเอดส์ เป็นเหตุหนึ่งทำให้ผู้คนเสียชีวิต แต่หลายคนมักจะเข้าใจผิด เอชไอวี ไม่ใช่โรค แต่เป็นเชื้อไวรัส ผู้มีเชื้อเอชไอวีจะไม่ใช่ผู้ป่วย เพราะยังไม่มีอาการแสดงใด ๆ ที่สัมพันธ์กับเอดส์
ขณะที่ “เอดส์” คือ กลุ่มอาการที่เกิดต่อเนื่องมาจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ไปสู่ระยะมีอาการที่สัมพันธ์กับเอดส์ ซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว เป็นผลให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำกว่าปกติ ทำให้ติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ เช่น วัณโรค ปอดบวม หรือเป็นมะเร็ง และเป็นเหตุทำให้เสียชีวิต
Table of Contents
เอชไอวี (HIV)
เชื้อเอชไอวี คือ Human Immunodeficiency Virus – HIV คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อไวรัสเอชไอวี จะทำลายเม็ดเลือดขาวที่สร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีจะมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง ทำให้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่าย และป่วยเป็นเอดส์
เอดส์ (AIDS)
เอดส์ คือ Acquired Immunodeficiency Syndrome – AIDS คือกลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลาย จนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้
เอชไอวีกับเอดส์แตกต่างกัน
HIV เป็นชื่อไวรัสที่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันบกพร่อง พอภูมิคุ้มกันลดลงจนเริ่มติดเชื้อฉวยโอกาสได้ จึงเรียกว่าเป็นโรค AIDS
อาการของเอชไอวี (HIV)
เอชไอวีแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
- ระยะติดเชื้อปฐมภูมิ อาการผิดปกติของผู้ป่วยในระยะแรกนี้จะมีน้อย และอาการสามารถหายไปได้เองในเวลา 2 ถึง 4 สัปดาห์ ได้แก่ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มี ไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเล็กน้อย ถ่ายอุจจาระเหลว ต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับอาการของ โรคไข้หวัดใหญ่ ทำให้วินิจฉัยถูกต้องได้ยาก ระยะแรกนี้ยังไม่เรียกว่า โรคเอดส์ (Primary infection) เป็นระยะที่ไวรัสเข้าไปใน “ทีเซลล์” และทำให้เซลล์เหล่านี้ตายเป็นจำนวนมาก ทำให้ “ทีเซลล์” ในเลือดลดจำนวนลง เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต้านทานที่สร้างแอนติบอดี ให้สร้างแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสขึ้นมาภายในเวลา 3 ถึง 7 สัปดาห์ หลังจากติดเชื้อ ซึ่งแอนติบอดีนี้สามารถตรวจพบได้จากเลือด และเป็นสิ่งที่ใช้ในการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ที่ชัดเจนมาก
- ระยะติดเชื้อเรื้อรัง การติดเชื้อฉวยโอกาส อย่างรุนแรง ผู้ติดเชื้ออาจจะมีเชื้อราขึ้นที่ลิ้น หรือมี วัณโรค ปอดกำเริบ โรคเริม หรือโรคงูสวัด เกิดขึ้นได้ แต่อาการมักไม่รุนแรงมาก และมักจะรักษาโรคเหล่านี้ได้ผล ระยะนี้ของโรคก็ยังไม่เรียกโรคเอดส์ เช่นกัน (Chronic infection) หรือระยะสงบทางคลินิก (Clinical latency) ระยะนี้ เชื้อไวรัสจะเข้าไปอยู่ในต่อมน้ำเหลือง และในม้าม และจะแบ่งตัวเพิ่มปริมาณในอวัยวะทั้งสองนี้เป็นส่วนใหญ่ ปริมาณของ CD 4 positive T-cell ในเลือด จะค่อยๆลดจำนวนลงอย่างช้า ๆ ระบบภูมิคุ้ม กันต้านทานโรคของร่างกาย จะไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้ เพราะ CD 4 positive T-cell จะลดจำนวนลงเรื่อยๆ ระยะนี้ส่วนใหญ่จะกินเวลานาน 7-10 ปี โดยที่ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการผิดปกติชัดเจน นอกจากนั้นการได้รับยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอจะเป็นการทำให้ผู้ติดเชื้อมีชีวิตอยู่ในระยะนี้ได้ยาวนานยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน สมัยที่ยังไม่มีการค้นพบยาต้านเชื้อไวรัส ซึ่งในระยะนี้ เซลล์ CD 4 positive T-cell ยังไม่ต่ำมากจนเป็นสาเหตุ
- ระยะที่เป็นโรคเอดส์ ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นประจำ ปริมาณของ CD 4 positive T-cell จะต่ำมาก ส่วนใหญ่ต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อไมโครลิตร และจะมีการติดเชื้อฉวยโอกาส ในอวัยวะสำคัญอย่างรุนแรง เช่น ปอด มีอาการทางสมอง และมีมะเร็งชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ ที่พบบ่อย คือ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi sarcoma) และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ระยะนี้เป็นระยะที่ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายถูกทำลายเกือบทั้งหมดโดยเชื้อไวรัสนี้ ปริมาณเชื้อไวรัสในเลือดจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีไข้เรื้อรังนานเป็นเดือน ๆ อ่อนเพลียมาก น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
การติดเชื้อเอชไอวี
- ทางเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะไม่ได้ป้องกัน โดยการป้องกันสามารถใช้ถุงยางและยาเพร็พได้
- การใช้เข็มร่วมกันสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาเสพติด
- การติดต่อจากแม่ไปลูก โดยปัจจุบันประเทศไทยสามารถ ป้องกันการติดเอชไอวี จากแม่สู่ลูกได้แล้ว
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
แบบนี้ไม่ติดเอชไอวี
- การจับมือหรือการสัมผัสภายนอก
- การดื่มน้ำแก้วเดียวกัน
- การใช้ถ้วยชามร่วมกัน
- สัมผัสกับเหงื่อหรือน้ำตาก็ไม่ติดต่อ
- การว่ายน้ำในสระเดียวกัน
- การใช้โถส้วมเดียวกัน
- ถูกแมลงหรือยุงกัด
- การจูบกัน
- การบริจาคเลือด
วิธีป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี
- สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
- ใช้ ยาเพร็พ PrEP ในการป้องกัน
- หากอยากมีบุตร ตรวจร่างกายเพื่อการวางแผนครอบครัวก่อน
- ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ ควรรักเดียวใจเดียว
- ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น
- หากพบว่าร่างกายติดเชื้อเอชไอวีแล้ว ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็วที่สุด ยิ่งเร็ว ยิ่งรักษาง่าย
- หากเป็นผู้ติดเชื้อจากแม่ ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์ตั้งแต่เด็ก และมีวินัยในการรักษาอย่างเคร่งครัด
- ไม่ควรหวังตรวจเลือดด้วยการบริจาคโลหิต เพราะเป็นการรบกวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ และไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่รอรับโลหิตเพื่อการรักษา