PrEP ย่อมาจาก Pre Exposure Prophylaxis คือ รูปแบบของการป้องกันเชื้อเอชไอวี ประเภทหนึ่ง โดยเป็นการให้ยากับคนที่ยังไม่ได้ติดเชื้อหรือป่วยโรคนี้ เพียงแค่อาจมีความเสี่ยงการติดเชื้อในอนาคต ซึ่ง เพร็พ ทานวันละ 1 เม็ด ทานทุกวัน ใช้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มชายรักชาย สาวประเภทสอง หรือผู้ที่มีพฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย คู่นอนมีเชื้อเอชไอวี เป็นต้น
Table of Contents
ใครบ้างที่ควรทาน PrEP
PrEP เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี เช่น
- ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนอยู่เป็นประจำ
- ผู้ที่มีคู่นอนผลเลือดบวก
- ผู้ที่มาขอรับ Post-Exposure Prophylaxis (PEP)* อยู่เป็นประจำ
- ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย
- ชายหรือหญิงที่ทำงานบริการ
- ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
ขั้นตอนการรับ PrEP
- ก่อนมารับ PrEP ควรงดมีเพศสัมพันธ์ 2 สัปดาห์
- ผู้รับบริการจะต้องได้รับการตรวจเอชไอวี และตรวจการทำงานของตับและไต
- ทานติดต่อกันอย่างน้อย 7 วันก่อนมีเพศสัมพันธ์
- หลังจากที่ได้รับยา PrEP ครั้งแรกจะนัดตรวจเลือดทุก 1 – 3 เดือน
- หากต้องการหยุดยา ผู้มารับบริการต้องมาตรวจเลือดก่อนหยุดยา PrEP ทุกครั้ง
การรับประทาน PrEP ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เนื่องจากต้องมีการตรวจเลือด ติดตามและต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
วิธีทาน PrEP มีกี่แบบ ?
Daily PrEP
- ทานวันละ 1 เม็ด ให้ตรงเวลาทุกวัน
On Demand PrEP
- ทาน 2 เม็ด “ก่อน” มีเพศสัมพันธ์ 2-24 ชั่วโมง
- ทาน 1 เม็ด “หลัง” ทานยาครั้งแรก 24 ชั่วโมง
- ทานอีก 1 เม็ด “หลัง” ทานยาครั้งแรก 48 ชั่วโมง
PrEP มีผลข้างเคียงหรือไม่ ?
คนส่วนมากมักจะไม่มีผลข้างเคียงใดๆ แต่สำหรับคนที่มีผลข้างเคียงจะมีอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่
- คลื่นไส้
- เวียนศีรษะ
- ปวดหัว
- ปวดท้องและท้องเสีย
อาการเหล่านี้จะหายไปเองได้ใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่ถ้ามีอาการนานมากกว่านั้นควรรีบปรึกษาแพทย์
ทำอย่างไรเมื่อลืมทาน PrEP
ในกรณีคุณที่ลืมทาน PrEP หรือทานไม่ตรงเวลา เมื่อนึกออกให้รับประทานทันที แต่ถ้าหากใกล้ถึงเวลาการทานครั้งต่อไปอีก 2 – 3 ชั่วโมง ให้ทานเวลาครั้งต่อไปแทน แต่แนะนำว่าควรต้องทานให้ตรงเวลาทุกวัน เพื่อประสิทธิภาพของการป้องกัน
อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม
PrEP เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี แต่ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ และใช้ร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เนื่องจาก PrEPไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อื่นๆ ได้