• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

ความก้าวหน้าของการรักษาเอชไอวีในปัจจุบัน

April 9, 2020 by thaihiv365 team

โรคเอชไอวีและเอดส์ ถือเป็นโรคร้ายที่อยู่กับคนเรามาร่วมหนึ่งร้อยปีแล้ว นับตั้งแต่การค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2463 ที่สมัยนั้น มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว เพราะโรคนี้ไม่มีอาการใด ๆ  แสดงออกมา ประกอบกับช่วงเวลานั้นที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ ยังไม่พัฒนามากนัก ทำให้โรคนี้ส่งต่อไปทั่วโลกโดยใช้เวลาไม่นาน

ข้อมูลโรคเอดส์สมัยก่อน

โรคเอชไอวีในสมัยก่อน สามารถรักษาได้ตามอาการเท่านั้น และยังไม่มียารักษาที่ได้ผล ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตทั่วโลกจำนวนมาก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2527 ก็ได้มีการคิดค้นชุดตรวจขึ้น สำหรับโรคเอชไอวี ทำให้สามารถยืนยันตัวผู้ป่วยได้ และในปี พ.ศ. 2530 ก็ได้มีการพัฒนายาต้านไวรัสเอชไอวีรุ่นแรกขึ้นมาชื่อว่า AZT (Azidothymidine) ที่มีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อเอชไอวี ไม่ให้แบ่งตัวได้เพื่อรอให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายพัฒนากลับขึ้นมา แต่เนื่องจากเป็นยารุ่นแรก ทำให้มีผลข้างเคียงที่รุนแรงในหลาย ๆ รายที่ทานยา และภายในปี พ.ศ. 2533 ทั่วทั้งโลกมียอดผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่พัฒนาไปเป็นเอดส์แล้วถึง 400,000 ราย

ผ่านมากว่า 30 ปี ก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี การรักษาเอชไอวีให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มีวิธีการตรวจเอชไอวีที่แม่นยำขึ้น และรวดเร็วขึ้นมาก รวมถึงมีต้นทุนที่ถูกลงอีกด้วย ทำให้การตรวจเอชไอวี สามารถทำได้ในสถานพยาบาลทุกแห่งที่มีเครื่องมือพร้อม ส่วนการรักษาเอชไอวีในปัจจุบัน ก็ยังเป็นการทานยาต้านไวรัสเอชไอวีเหมือนเดิม แต่ยาจะไม่ใช่ชุดที่ทานครั้งละหลาย ๆ เม็ดเหมือนสมัยก่อน แต่จะเป็นยารวมเม็ดที่อาจต้องทานแค่วันละ 1-2 เม็ดเท่านั้น ตามแต่แพทย์จะแนะนำ และอาจมีการนัดให้มาตรวจเลือด เพื่อดูปริมาณไวรัสในเลือดและปริมาณเม็ดเลือดขาวเป็นครั้งคราว เพื่อดูว่าคนไข้ตอบสนองต่อยาได้ดีแค่ไหน ถ้ารักษาด้วยการทานยาไปเรื่อย ๆ ก็จะสามารถลดปริมาณไวรัสในเลือดลงได้มากถึงขั้นที่ตรวจไม่พบเชื้อเลย ซึ่งถ้าถึงระดับนี้แล้วจะทำให้บุคคลนั้น ๆ ไม่สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่นได้อีกและเทียบได้กับผู้ไม่มีเชื้อ ตราบใดที่ยังทานยาอย่างสม่ำเสมออยู่

ตรวจเอชไอวี เอดส์ ยารักษาเอดส์ ยาต้านไวรัส ตรวจเอดส์ รักษาเอชไอวี ยาเพร็พ ยาเป๊ป ยาต้านฉุกเฉิน ผลเลือดบวก ผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี วิธีตรวจเอชไอวี

โดยหลักการนี้ เป็นผลสรุปมาจากงานวิจัยที่ศึกษาคู่รักจำนวนหนึ่ง ที่หนึ่งคนมีเชื้อเอชไอวี แต่อีกคนไม่มีเชื้อมาเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี และผลสรุปที่ได้ คือ ไม่มีคู่รักคนไหนเลยแม้แต่คนเดียวที่ติดเชื้อเอชไอวี ไม่ว่าจะเป็นคู่รักเพศเดียวกัน หรือต่างเพศก็ตาม ซึ่งหลักการนี้มีชื่อเรียกว่า

U=U (undetectable=Untransmittable)

หรือที่เรียกว่า ไม่พบ=ไม่แพร่ ซึ่งหลักการนี้ ถือเป็นงานวิจัยชิ้นสำคัญว่า เทคโนโลยีการรักษาโรคเอชไอวีพัฒนาไปไกลพอสมควรแล้ว นอกจากนี้ยาต้านไวรัสเอชไอวีที่ว่า ยังสามารถนำมาใช้ในบริบทอื่นได้อีกด้วย เช่น

  • ยาเพร็พ PrEP: ที่มีชื่อย่อมาจาก (Pre-Exposure Prophylaxis) หรือยาต้านเอชไอวีก่อนมีความเสี่ยง โดยยาสูตรนี้ ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อคนที่ยังไม่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ นำมาทานก่อนวางแผนจะไปมีเพศสัมพันธ์ที่อาจเสี่ยงรับเชื้อเอชไอวีในอนาคต โดยการทานยานี้จะเป็นการทานแบบดักไว้ก่อนไปมีความเสี่ยง เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีนั่นเอง
  • ยาเป๊ป PEP: ที่มีชื่อย่อมาจาก (Post-Exposure Prophylaxis) โดยยาสูตรนี้จะเป็นยาสำหรับคนที่ยังไม่มีเชื้อเอชไอวีเช่นกัน แต่ใช้ในกรณีที่ไปมีความเสี่ยงรับเชื้อมาแล้ว เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยกับคนที่สงสัยว่าจะมีเชื้อเอชไอวี หรือในบุคลากรการแพทย์ที่ต้องทำงานกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย แล้วเกิดอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำ หรือสารคัดหลั่งกระเด็นเข้าตา โดยยาสูตรนี้จำเป็นต้องทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากมีความเสี่ยงรับเชื้อมาเท่านั้น ถ้าหากทานยาได้ทันก็ต้องทานไปอย่างน้อย 28 วันหรือนานกว่านั้น และค่อยกลับมาตรวจเลือดซ้ำเพื่อสรุปผลการรักษา

ทั้งนี้ยาทั้งสองสูตรที่กล่าวมา มีข้อจำกัดคือ ต้องมีการตรวจเอชไอวีและตรวจเลือดเพื่อตรวจผลต่าง ๆ ก่อนการจ่ายยาทุกครั้ง เพราะยาเหล่านี้ เป็นยาควบคุมในโรงพยาบาลที่มีข้อจำกัดหลายอย่าง ฉะนั้นหากคิดว่าตนเองมีความเสี่ยง และอยากรับยาเพร็พ ยาเป๊ปก็ควรสอบถามแพทย์ผู้จ่ายยาให้ครบถ้วนก่อนเริ่มทานยา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

  • ยาเพร็พ (PrEP) คืออะไร
  • ยาเป๊ป (PEP) ยาฉุกเฉินหลังเสี่ยง

ตรวจเอชไอวี เอดส์ ยารักษาเอดส์ ยาต้านไวรัส ตรวจเอดส์ รักษาเอชไอวี ยาเพร็พ ยาเป๊ป ยาต้านฉุกเฉิน ผลเลือดบวก ผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี วิธีตรวจเอชไอวี

การรักษาเอชไอวี

ถึงแม้ในปัจจุบันยาต้านไวรัสเอชไอวี จะไม่ใช่วิธีการรักษาเอชไอวีให้หายขาดก็ตาม แต่หากทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะทำให้ผู้มีเชื้อเอชไอวีสามารถมีชีวิตยืนยาวได้ไม่ต่างกับคนอื่น ๆ และมีร่างกายแข็งแรงได้เหมือนกันทุกประการ แต่สิ่งสำคัญคือ การมีระเบียบในการทานยา และห้ามหยุดยาเท่านั้น ซึ่งเทคโนโลยีการรักษาทั้งหมดนี้ ใช้เวลาพัฒนาเพียงไม่นานเท่านั้นที่จะได้มา เพราะฉะนั้นถึงตอนนี้อาจจะต้องทานยาอยู่ แต่ในอนาคตอันใกล้ก็ไม่แน่ว่าอาจจะมีเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ทำให้ทุกคนหายขาดจากเอชไอวีไปเลยก็ได้

Filed Under: เอชไอวี HIV Tagged With: ยาต้านไวรัส, เอชไอวี, โรคเอดส์

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”
  • โรคฝีมะม่วง..ภัยร้ายใกล้ตัว
  • หนองในเทียม (Chlamydia)
  • CD4 ที่เท่าไหร่ถึงเรียกว่าระดับน่าเป็นห่วง

Archives

  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in

Go to mobile version