• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

PrEP

เพร็พ PrEP ป้องกันเชื้อเอชไอวี

July 4, 2022 by 365team

PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) เพร็พ เป็นยาต้านไวรัส สำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือมีคู่นอนที่มีเชื้อเอชไอวี

Table of Contents

  • เพร็พ (PrEP) เหมาะกับใคร
  • ผลข้างเคียงของเพร็พ (PrEP)
  • วิธีกินเพร็พ (PrEP) มีกี่วิธี
    • Daily PrEP
    • On Demand PrEP
  • จะรับเพร็พ (PrEP) ได้อย่างไร ?
  • อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

เพร็พ (PrEP) เหมาะกับใคร

  • ชายที่มีเพศสัมพันธ์ชาย
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี
  • ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
  • ผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ
  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ภายใน 6 เดือน

ผลข้างเคียงของเพร็พ (PrEP)

โดยส่วนใหญ่ ผู้ที่ใช้ยาเพร็พ (PrEP) มักจะไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ซึ่งจากสถิติผู้ที่มี อาการข้างเคียงพบได้น้อยมาก และไม่ส่งผลที่อันตรายต่อร่างกาย อาจแสดงอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ ท้องเสีย หรือเบื่ออาหาร หลังจากนั้น อาการจะดีขึ้นเมื่อทานยาต่อเนื่องประมาณ 2-3 สัปดาห์ หากในกรณีที่มีความผิดปกตินอกเหนือที่กล่าวมาหรือรุนแรงมากขึ้นควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน

วิธีกินเพร็พ (PrEP) มีกี่วิธี

PrEP นิยมกินอยู่ 2 วิธี ผู้รับยาสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตัวเอง ดังนี้

Daily PrEP

เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถวางแผนการมีเพศสัมพันธ์ได้ หรือมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อเอชไอวี ขั้นตอนการกินที่ไม่ซับซ้อน กินเพียงแค่วันละ 1 เม็ด เริ่มต้นกิน 7 วันก่อนมีเพศสัมพันธ์ ต้องกินเวลาเดิมทุกวัน (เวลาไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องก่อนหรือหลังอาหาร)

On Demand PrEP

อีกไม่กี่วันต้องไปปาร์ตี้หนัก มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ สำหรับคนที่วางแผนการมีกิจกรรมของตัวเองได้ ขอแนะนำวิธีกิน PrEP แบบนี้ โดยมีสูตรในการกินคือ 2:1:1

  • 2 เม็ดแรก ก่อนมีเพศสัมพันธ์ 2-24 ชั่วโมง
  • 1 เม็ดถัดไป หลังมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว 24 ชั่วโมง
  • 1 เม็ดสุดท้าย หลังจากกิน PrEP ครั้งที่สองไปแล้ว 24 ชั่วโมง

จะรับเพร็พ (PrEP) ได้อย่างไร ?

ก่อนมารับเพร็พ (PrEP) ผู้มารับบริการจะได้รับการตรวจเอชไอวี ตรวจการทำงานของตับและไต หลังจากที่ได้รับยาเพร็พ (PrEP) ครั้งแรกจะนัดตรวจเลือด 1 เดือน หลังจากนั้นนัดตรวจเลือดทุก 3 เดือน หากต้องการหยุดยา ผู้มารับบริการต้องมาตรวจเลือดก่อนหยุดยาเพร็พ (PrEP) ทุกครั้ง

สารสารถจองคิวรับ เพร็พ (PrEP) ได้ที่ >>> Love2Test

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • U=U คืออะไร
  • ข้อดีของการตรวจ HIV ที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่สนใจ

ขอบคุณข้อมูล : trcarc ,love2test ,lovefoundation

Filed Under: PrEP Tagged With: PrEP, ยาต้านไวรัส, เพร็พ, เอชไอวี

PrEP เหมาะสำหรับใคร ?

November 17, 2020 by 365team

PrEP เพร็พ

             ยา PrEP เป็นยาสำหรับป้องกัน HIV ล่วงหน้าก่อนการมีเพศสัมพันธ์ ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง ซึ่งจะเหมาะกับใครก็ตามที่สามารถวางแผนการมีเพศสัมพันธ์ได้และต้องการวิธีป้องกันตัวเองจากเชื้อเอชไอวี PrEP สามารถ ทานและหยุดเมื่อไหร่ก็ได้ ตราบใดที่ทานครบตามสูตรที่กำหนด

กลุ่มคนที่เหมาะกับ ยาPrEP

–          ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ไม่ทราบผลเลือด

–          ผู้ที่มีแฟนเป็นผู้มีเชื้อ HIV

–          ผู้ที่ทำงานกลางคืน

–          ผู้ที่ทำงานสายการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น เลือด หรือ น้ำเหลืองเป็นประจำ

–          หรือใครก็ตามที่อยากป้องกันตัวเองจากเชื้อ HIV จากการมีเพศสัมพันธ์ทั่วไป

Filed Under: PrEP

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แผลริมอ่อน | Chancroid
  • ไวรัสตับอักเสบบี สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ
  • อวัยวะเพศชาย ดูแลให้เป็น ช่วยห่างไกลโรค
  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”

Archives

  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • แผลริมอ่อน
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง
  • ไวรัสตับอักเสบบี

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in