• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

โรคฝีดาษลิง

ทำความรู้จักกับ โรคฝีดาษลิง

June 21, 2022 by 365team

โรคฝีดาษลิง โรคนี้พบมากในแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก พบผู้ป่วยในประเทศนอกเขตแอฟริกา เช่น สหรัฐอเมริกา อิสราเอล สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร มักเกิดจากการเดินทางระหว่างประเทศหรือการนำเข้าสัตว์ติดเชื้อ โรคฝีดาษลิงเคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี เชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิดโดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า รวมทั้งคนก็สามารถติดโรคได้

Table of Contents

  • โรคฝีดาษลิง คือ ?
  • การวินิจฉัยโรคฝีดาษลิง
  • อาการโรคฝีดาษลิง
  • การป้องกันโรคฝีดาษลิง
  • การรักษาโรคฝีดาษลิง
  • อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

โรคฝีดาษลิง คือ ?

โรคฝีดาษลิง ฝีดาษวานร หรือ Monkeypox เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะบนทวีปแอฟริกา โดยเชื้อไวรัสนี้แพร่เชื้อไปยังสัตว์อื่น และสามารถแพร่จากสัตว์ไปสู่คนได้ ซึ่งการรายงานที่พบโรคนี้ครั้งแรกเกิดจากลิงในห้องทดลอง จึงเรียกว่าฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานรนั่นเอง ซึ่งหมายความว่าลิงไม่ใช่แหล่งกำเนิดของโรคนี้อย่างที่เข้าใจกัน การระบาดที่พบในตอนนี้ เกิดในประเทศบนทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปเป็นส่วนใหญ่

การวินิจฉัยโรคฝีดาษลิง

การวินิจฉัยอาการ ว่าเป็นโรคฝีดาษลิงหรือไม่ แพทย์จะทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยวิธี PCR ของเหลวจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง การดำเนินโรคใช้เวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ โดยมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 10 % โดยมีสาเหตุจากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในปอด การขาดน้ำและภาวะสมองอักเสบ

อาการโรคฝีดาษลิง

  • ระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน อาจนานถึง 21 วัน
  • อาการเริ่มแรกจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น อ่อนเพลีย
  • 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนในหน้าและลำตัว
  • ระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะเป็นสะเก็ดแล้วหลุดมา

การป้องกันโรคฝีดาษลิง

  1. หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ
  2. หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์
  3. ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศโดยไม่มีการคัดกรองโรค
  4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ
  5. หลังกลับจากประเทศที่เป็นเขตติดโรค ต้องทำการคัดกรองและเฝ้าระวังอาการจนครบ 21 วัน หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์

การรักษาโรคฝีดาษลิง

หากพบว่าเป็นโรคฝีดาษลิง สามารถรักษาโดยให้ยาต้านไวรัส Cidofovir, Tecovirimat, Brincidofovir ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายเองได้ แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพิ่มเติม

ขอบคุณข้อมูลจาก : paolohospital ,bpksamutprakan ,princhealth

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • U=U คืออะไร
  • ข้อดีของการตรวจ HIV ที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่สนใจ

Filed Under: โรคฝีดาษลิง Tagged With: ป้องกันโรคฝีดาษลิง, ฝีดาษลิง, รักษาโรคฝีดาษลิง, อาการโรคฝีดาษลิง, โรคฝีดาษลิง

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แผลริมอ่อน | Chancroid
  • ไวรัสตับอักเสบบี สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ
  • อวัยวะเพศชาย ดูแลให้เป็น ช่วยห่างไกลโรค
  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”

Archives

  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • แผลริมอ่อน
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง
  • ไวรัสตับอักเสบบี

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in