• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

Archives for May 2023

สารพัดประโยชน์ของถุงยางอนามัย

May 31, 2023 by 365team

สารพัดประโยชน์ของถุงยางอนามัย

ในปัจจุบัน ถุงยางอนามัยมีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการคุมกำเนิด ถุงยางอนามัยมีให้เลือกใช้ ทั้งแบบสำหรับผู้ชายและแบบสำหรับผู้หญิง แต่ที่นิยมแพร่หลายและนิยมใช้มากในปัจจุบันจะเป็นถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชาย

ประโยชน์ของถุงยางอนามัย

คุมกำเนิด

ถุงยางอนามัยช่วยป้องกันไม่ให้อสุจิเล็ดลอดเข้าไปในบริเวณช่องคลอดได้ ซึ่งการสวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์จะช่วยให้มีโอกาสคุมกำเนิดได้มากขึ้น หากสวมอย่างถูกวิธี

ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ถุงยางอนามัยช่วยลดโอกาสการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆได้ เช่น เอชไอวี หนองใน ซิฟิลิส หูดหงอนไก่ เป็นต้น เพราะการรติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสกันโดยตรงของสารคัดหลั่งและอวัยวะเพศ ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อได้ง่าย

ลดการบาดเจ็บ

ถุงยางอนามัย มีส่วนผสมของสารหล่อลื่นในปริมาณที่พอเหมาะ เมื่อใช้ขณะมีเพศสัมพันธ์จะทำให้ลดโอกาสบาดเจ็บของอีกฝ่ายได้ ทั้งนี้ถุงยางอนามัยสามารถใช้ร่วมกับสารหล่อลื่นได้อีกด้วย

เพิ่มอรรถรสทางเพศ

ถุงยางอนามัยในปัจจุบันมีให้เลือกใช้งานได้หลายรูปแบบ ทั้งผิวเรียบ ผิวไม่เรียบ ผิวขรุขระ มีสี มีกลิ่น ให้เลือกใช้งานได้ตามรสนิยมของผู้ใช้งาน จึงทำให้ช่วยเพิ่มอรรถรสในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ได้

ขั้นตอนการใส่ถุงยางอนามัย

ขั้นตอนการใส่ ถุงยางอนามัย
  • ฉีกซองถุงยางอนามัยออกมาแล้วเลือกด้านที่ถูกต้อง โดยเลือกด้านที่มีกระเปาะไว้ด้านนอก ใช้นิ้วมืออีกข้างบีบบริเวณหัวของถุงยางอนามัยเพื่อไล่อากาศ
  • แน่ใจก่อนว่าอวัยวะเพศแข็งตัวเต็มที่แล้วก่อนที่จะสวมถุงยางอนามัย เมื่อสวมแล้วรูดถุงยางอนามัยลงมาจนสุด เพื่อป้องกันการหลุดออกในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
  • ก่อนสอดใส่ตรวจดูให้แน่ใจว่าถุงยางอนามัยไม่ชำรุด ปลายถุงยางอนามัยไม่มีรอยรั่วหรือแตกออก บริเวณขอบที่รูดลงมาไม่มีรอยฉีกขาด
  • เมื่อเสร็จกิจแล้วควรถอดถุงยางอนามัยในขณะที่อวัยวะเพศแข็งตัวอยู่ เพื่อไม่ให้มีการหกเลอะเทอะ โดยใช้มือดึงออกจากส่วนโคนก่อน ดึงออกอย่างระมัดระวัง และอาจจะใช้กระดาษชำระห่อก่อนนำไปทิ้ง
  • หากมีเพศสัมพันธ์ในยกต่อไป ควรทิ้งถุงยางอนามัยอันเก่าแล้วเปลี่ยนอันใหม่ เนื่องจากประสิทธิภาพของการป้องกันเชื้อโรคจะลดลง

สาเหตุที่ทำให้ถุงยางอนามัยแตก

  • เลือกถุงยางอนามัยผิดขนาด
  • แกะบรรจุภัณฑ์ผิดวิธี หรือใช้ของมีคมในการแกะ
  • ถุงยางอนามัยหมดอายุ
  • สวมใส่ถุงยางผิดวิธี
  • เก็บรักษาถุงยางอนามัยที่ไม่เหมาะสม เช่น เก็บในที่ที่โดนแสงแดด
  • ใช้ถุงยางอนามัยแบบไม่มีสารหล่อลื่น

การเลือกขนาดถุงยางอนามัย

การเลือกขนาด ถุงยางอนามัย

ถุงยางอนามัยที่เหมาะสมกับแต่ละคน สามารถสังเกตตัวเองได้เมื่ออวัยวะเพศมีการแข็งตัวเกิดขึ้น โดยทั่วไปจะขยายได้ใหญ่กว่าเดิม 3-5 เท่า การเลือกขนาดถุงยางอนามัย ควรเลือกให้พอดี ไม่หลวม หรือคับแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้ฉีกขาดง่าย หรือหลุดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งขนาดของถุงยางจะแตกต่างกันไปตามแต่ละยี่ห้อ โดยวัดจากเส้นรอบวงองคชาต ไม่ใช่ความยาว การเลือกถุงยางอนามัยจะวัดได้จากรอบวงเป็นมิลลิเมตร ดังนี้

  • ถุงยางอนามัย ขนาด 49 มิลลิเมตร (เส้นรอบวงองคชาต 11-12 เซนติเมตร หรือ ประมาณ 4.5 นิ้ว)
  • ถุงยางอนามัยขนาด 52 มิลลิเมตร (เส้นรอบวงองคชาต 12-13 เซนติเมตร หรือ ประมาณ 5 นิ้ว)
  • ถุงยางอนามัย ขนาด 54 มิลลิเมตร (เส้นรอบวงองคชาต 13-14 เซนติเมตร หรือ ประมาณ 5.5 นิ้ว)
  • ถุงยางอนามัยขนาด 56 มิลลิเมตร (เส้นรอบวงองคชาต 14-15 เซนติเมตร หรือ ประมาณ 6 นิ้ว)

ขอบคุณข้อมูล : pri.moph, samitivejhospitals

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • เอชไอวีป้องกันได้ ด้วยการทาน “PrEP”
  • หนองในแท้ (Gonorrhoea) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ

ถุงยางอนามัย มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดมากถึง 98 % หากใช้อย่างถูกวิธี นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆได้อีกด้วย และที่สำคัญสามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายยาทั่วไป จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าถุงยางอนามัยมีประโยชน์สารพัด ช่วยป้องกันตัวคุณเองและคนรักของคุณ

Filed Under: ถุงยางอนามัย Tagged With: Condom, HIV, คุมกำเนิด, ถุงยาง, ถุงยางอนามัย, เอชไอวี, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เอชไอวีป้องกันได้ ด้วยการทาน “PrEP”

May 24, 2023 by 365team

เอชไอวีป้องกันได้ ด้วยการทาน PrEP

PrEP ย่อมาจาก Pre Exposure Prophylaxis คือ รูปแบบของการป้องกันเชื้อเอชไอวี ประเภทหนึ่ง โดยเป็นการให้ยากับคนที่ยังไม่ได้ติดเชื้อหรือป่วยโรคนี้ เพียงแค่อาจมีความเสี่ยงการติดเชื้อในอนาคต ซึ่ง เพร็พ ทานวันละ 1 เม็ด ทานทุกวัน ใช้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มชายรักชาย สาวประเภทสอง หรือผู้ที่มีพฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย คู่นอนมีเชื้อเอชไอวี เป็นต้น

ใครบ้างที่ควรทาน PrEP

PrEP เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี เช่น

  • ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนอยู่เป็นประจำ
  • ผู้ที่มีคู่นอนผลเลือดบวก
  • ผู้ที่มาขอรับ Post-Exposure Prophylaxis (PEP)* อยู่เป็นประจำ
  • ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย
  • ชายหรือหญิงที่ทำงานบริการ
  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

ขั้นตอนการรับ PrEP

ขั้นตอนการรับ PrEP
  • ก่อนมารับ PrEP ควรงดมีเพศสัมพันธ์ 2 สัปดาห์
  • ผู้รับบริการจะต้องได้รับการตรวจเอชไอวี และตรวจการทำงานของตับและไต
  • ทานติดต่อกันอย่างน้อย 7 วันก่อนมีเพศสัมพันธ์ 
  • หลังจากที่ได้รับยา PrEP ครั้งแรกจะนัดตรวจเลือดทุก 1 – 3 เดือน 
  • หากต้องการหยุดยา ผู้มารับบริการต้องมาตรวจเลือดก่อนหยุดยา PrEP ทุกครั้ง

การรับประทาน PrEP ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เนื่องจากต้องมีการตรวจเลือด ติดตามและต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

วิธีทาน PrEP มีกี่แบบ ?

Daily PrEP

  • ทานวันละ 1 เม็ด ให้ตรงเวลาทุกวัน

On Demand PrEP 

  • ทาน 2 เม็ด “ก่อน” มีเพศสัมพันธ์ 2-24 ชั่วโมง
  • ทาน 1 เม็ด “หลัง” ทานยาครั้งแรก 24 ชั่วโมง
  • ทานอีก 1 เม็ด “หลัง” ทานยาครั้งแรก 48 ชั่วโมง

PrEP มีผลข้างเคียงหรือไม่ ?

คนส่วนมากมักจะไม่มีผลข้างเคียงใดๆ แต่สำหรับคนที่มีผลข้างเคียงจะมีอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • คลื่นไส้
  • เวียนศีรษะ
  • ปวดหัว
  • ปวดท้องและท้องเสีย

อาการเหล่านี้จะหายไปเองได้ใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่ถ้ามีอาการนานมากกว่านั้นควรรีบปรึกษาแพทย์

ทำอย่างไรเมื่อลืมทาน PrEP

ทำอย่างไรเมื่อลืมทาน PrEP

ในกรณีคุณที่ลืมทาน PrEP หรือทานไม่ตรงเวลา เมื่อนึกออกให้รับประทานทันที แต่ถ้าหากใกล้ถึงเวลาการทานครั้งต่อไปอีก 2 – 3 ชั่วโมง ให้ทานเวลาครั้งต่อไปแทน แต่แนะนำว่าควรต้องทานให้ตรงเวลาทุกวัน เพื่อประสิทธิภาพของการป้องกัน

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • หนองในแท้ (Gonorrhoea) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ
  • ค่า CD4 คืออะไร?

PrEP เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี แต่ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ และใช้ร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เนื่องจาก PrEPไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อื่นๆ ได้

Filed Under: PrEP Tagged With: HIV, PrEP, ป้องกันเอชไอวี, ยาต้านไวรัส, เพร็พ, เอชไอวี

หนองในแท้ (Gonorrhoea) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ

May 16, 2023 by 365team

หนองในแท้ (Gonorrhoea) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ

 “หนองในแท้” (Gonorrhoea) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง สามารถพบได้บ่อยมากเป็นอันดับต้นๆ คือ พบได้ประมาณ  40 – 50% ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหมด ซึ่งสามารถแพร่เชื้อผ่านทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด  ปาก หรือ ทางทวารหนัก หนองใน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

  • หนองในแท้
  • หนองในเทียม

อาการหนองในแท้ เป็นอย่างไร ?

หนองในแท้ มักแสดงอาการหลังติดเชื้อมาประมาณ 3 – 5 วัน ทั้งนี้ อาการของหนองในแท้ ในเพศชายและเพศหญิงอาจมีอาการแตกต่างกัน คือ

เพศชาย

  • มีหนองไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ
  • องคชาติอักเสบ
  • ปัสสาวะแสบขัด
  • บางรายอาจมีอาการอัณฑะอักเสบ

เพศหญิง

  • ตกขาวมีสีหรือกลิ่นผิดปกติ
  • ปัสสาวะแสบขัด
  • ปวดท้องน้อย
  • บางรายมีอาการช่องคลอดอักเสบ

นอกจากนี้ หนองในแท้สามารถติดเชื้อบริเวณอื่นได้เช่นกัน ได้แก่ ดวงตา ทวารหนัก ลำคอ ต่อมน้ำเหลือง

หนองในแท้ สาเหตุเกิดจากอะไร ?

หนองในแท้ สาเหตุเกิดจากอะไร

หนองในแท้ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae เป็นแบคทีเรียที่สามารถเติบโตและเพิ่มจำนวนในเยื่อเมือกบุผิวของร่างกายได้อย่างง่ายดาย โดยสามารถเติบโตในพื้นที่ที่มีความอุ่นและชื้นอย่างระบบสืบพันธ์ุ ได้แก่ ปากมดลูก มดลูก ท่อนำไข่ และท่อปัสสาวะ รวมถึงบริเวณปาก ลำคอ และทวารหนัก ซึ่งเชื้อนี้จะแพร่จากคนไปสู่คนผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน

การวินิจฉัย หนองในแท้

หนองในแท้ สามารถวินิจฉัยได้หลากหลายวิธี โดยส่วนใหญ่จะใช้สำลีป้ายเก็บตัวอย่างเชื้อจากบริเวณที่อาจมีการติดเชื้อเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ การเก็บตัวอย่างนั้นใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที และไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยหนองในแท้ในเพศชายและเพศหญิงอาจมีข้อแตกต่างกัน คือ

  • เพศชาย : มักใช้การตรวจปัสสาวะ หรือเก็บตัวอย่างจากของเหลวที่ออกมาจากปลายอวัยวะเพศ
  • เพศหญิง : แพทย์มักจะใช้สำลีป้ายเก็บตัวอย่างจากช่องคลอดหรือปากมดลูก

การป้องกัน หนองในแท้

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ช่องทางใดก็ตาม
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งผู้ป่วยหนองใน
  • หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่แผลบริเวณอวัยวะเพศ
  • หากมีอาการที่คล้ายกับหนองในแท้ ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจคัดกรอง
  • เข้ารับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำทุกปี

หนองในแท้ รักษาได้อย่างไร ?

หนองในแท้ รักษาได้อย่างไร

หนองในแท้ สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาคือ การฉีดยาและกินยาปฏิชีวนะ หลังจากการรักษาอาการจะดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ แต่ถึงแม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้ว ควรกลับมาพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาด้วย เพื่อไม่ให้หนองในแท้กลับมาเป็นซ้ำ นอกจากนี้ควรพาคู่นอนมารับการตรวจและรักษาด้วย

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

  • การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย..ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ปัสสาวะแสบขัดบ่อยๆลักษณะอาการของ”หนองในเทียม”

ขอบคุณข้อมูล : Pobpad

หากมีอาการปัสสาวะแสบขัด มีหนองไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ หรือผื่นขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษา เพื่อป้องกันการลุกลามของโรคไม่ให้ไปสู่ระยะที่รุนแรง

Filed Under: หนองในแท้ Tagged With: หนองใน, หนองในแท้, หนองในแท้ สาเหตุ, อาการหนองในแท้, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ค่า CD4 คืออะไร?

May 3, 2023 by thaihiv365 team

การตรวจนับ ค่า CD4 (ซีดีโฟร์) ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในการวินิจฉัย การรักษา และติดตาม การติดเชื้อเอชไอวี การรักษาภาวะโรคเอดส์ เป็นต้น ค่า CD4 หมายถึง จำนวนเซลล์ CD4 หรือเซลล์ T-helper ในเลือด เซลล์ CD4 เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ที่ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีหรือโรคอื่นๆ ได้ดี โดยเฉพาะไวรัสเอชไอวีนี้จะมุ่งเข้าโจมตีและทำลายเซลล์ CD4 เป็นหลัก ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และทำให้ร่างกายอ่อนแอต่อการติดเชื้อและการเจ็บป่วยค่า CD4 เป็นตัววัดที่สำคัญของสุขภาพและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ใช้เพื่อระบุระยะของโรค ความจำเป็นในการรักษา และประสิทธิผลของยารักษาเอชไอวี บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายว่าจำนวน CD4 คืออะไร วิธีการใช้ในการจัดการเอชไอวีและโรคเอดส์ และความสำคัญในการวินิจฉัย การรักษา และการติดตามโรค

ค่า CD4 คืออะไร

จำนวน ค่า CD4 สัมพันธ์กับ HIV อย่างไร?

  • จำนวน CD4 และระบบภูมิคุ้มกันเซลล์
    • CD4 มีบทบาทสำคัญในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน พวกมันช่วยกระตุ้นและประสานเซลล์ภูมิคุ้มกันอื่นๆ เช่น บีเซลล์ และเซลล์ทีเป็นพิษต่อเซลล์ในการต่อสู้กับการติดเชื้อ เมื่อค่า CD4 ต่ำ ระบบภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอลง และร่างกายจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและโรคต่างๆ มากขึ้น
  • จำนวน CD4 และการลุกลามของเชื้อ HIV
    • เชื้อ HIV โจมตีและทำลายเซลล์ CD4 ทำให้จำนวนเซลล์ T-helper ในร่างกายลดลง เมื่อจำนวน CD4 ลดลง ระบบภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอลง และความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และความเจ็บป่วยก็เพิ่มขึ้น เอชไอวีดำเนินไปตามระยะต่างๆ และจำนวน CD4 จะใช้ในการกำหนดระยะของโรค
ระยะของโรคขึ้นอยู่กับจำนวน ค่า CD4

ระยะของโรคเอชไอวีขึ้นอยู่กับจำนวน CD4 ดังนี้

  • ระยะที่ 1: CD4 มีค่ามากกว่า 500 เซลล์/ลบ.มม.
  • ระยะที่ 2: มีค่า CD4 ระหว่าง 200 ถึง 499 เซลล์/ลบ.มม.
  • ระยะที่ 3: มีค่า CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม.

จำนวน CD4 และการแพร่เชื้อเอชไอวี การนับ CD4 ยังมีบทบาทในการแพร่เชื้อเอชไอวี ผู้ที่ติดเชื้อที่มีปริมาณ CD4 ต่ำมีแนวโน้มที่จะแพร่เชื้อไวรัสไปยังผู้อื่น นี่เป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ทำให้พวกมันไวต่อการติดเชื้อ รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) ซึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อเอชไอวี

การนับ CD4 และการรักษาเอชไอวีการนับ CD4 ใช้เพื่อกำหนดความจำเป็นในการรักษาเอชไอวี และติดตามประสิทธิภาพของยารักษาเอชไอวี การรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ART) เป็นการรักษามาตรฐานสำหรับเอชไอวี และได้ผลโดยการยับยั้งไวรัสและฟื้นฟูการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน จำนวน CD4 ใช้เพื่อระบุว่าเมื่อใดควรเริ่ม ART การรักษาทำงานได้ดีเพียงใด และเมื่อใดที่ควรเปลี่ยนแปลงสูตรยา

วิธีการตรวจ ค่า CD4

การตรวจค่า CD4 จะวัดจำนวนเซลล์ T-helper ในเลือด มีหลายวิธีในการทดสอบ CD4 รวมถึงโฟลว์ไซโตเมทรี การทดสอบ ณ จุดดูแล และการทดสอบในห้องปฏิบัติการ Flow cytometry เป็นวิธีการทดสอบ CD4 ที่ใช้บ่อยที่สุด ใช้ตัวอย่างเลือดเพื่อวัดจำนวนเซลล์ CD4 และคำนวณจำนวน CD4 การทดสอบ ณ จุดดูแลคือการทดสอบ CD4 ที่รวดเร็วซึ่งให้ผลในเวลาน้อยกว่า 30 นาที โดยทั่วไปจะใช้ในการตั้งค่าที่มีทรัพยากรจำกัด ซึ่งการเข้าถึงการทดสอบในห้องปฏิบัติการมีจำกัด ความถี่ในการตรวจ CD4 แนะนำให้ตรวจ CD4 ในการวินิจฉัยโรค และทุก 3-6 เดือนสำหรับผู้ที่ติดเชื้อ HIV/AIDS ซึ่งไม่ได้อยู่ใน ART สำหรับผู้ที่ใช้ยา ART แนะนำให้ตรวจ CD4 ในการวินิจฉัย เมื่อเริ่มใช้ยา ART และทุก ๆ หกถึง 12 เดือนหลังจากนั้น

การตีความผลการตรวจ CD4

จำนวน CD4 ถูกรายงานเป็นจำนวนเซลล์ CD4 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร (มม. 3) ของเลือด ค่า CD4 ปกติในผู้ใหญ่มีค่าตั้งแต่ 500 ถึง 1,500 เซลล์/ลบ.มม. อย่างไรก็ตาม จำนวน CD4 อาจแตกต่างกันไปตามอายุ เพศ และปัจจัยอื่นๆ ค่า CD4 ที่ต่ำบ่งชี้ว่าระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และค่า CD4 ที่สูงกว่าบ่งชี้ว่าระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น จำนวน CD4 ใช้ในการกำหนดระยะของโรคเอชไอวีและความจำเป็นในการรักษาด้วยยาต้านไวรัส

ข้อจำกัดของการตรวจ CD4

การทดสอบ CD4 มีข้อจำกัดบางประการ จำนวน CD4 สามารถผันผวนได้เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การติดเชื้อ การฉีดวัคซีน และความเครียด จำนวน CD4 อาจไม่สะท้อนถึงการทำงานโดยรวมของระบบภูมิคุ้มกัน และบางคนที่มีจำนวน CD4 ต่ำอาจมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่รุนแรง

ปริมาณ CD4 และการรักษาเอชไอวี

การรักษาด้วยยาต้านไวรัสการรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ART) เป็นการรักษามาตรฐานสำหรับเอชไอวี/เอดส์ ART ทำงานโดยการยับยั้งไวรัสและฟื้นฟูการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ยา ART มักประกอบด้วยยาต้านไวรัสตั้งแต่สามชนิดขึ้นไปจากประเภทต่างๆ กัน

  • จำนวน CD4 และการเริ่มต้น ART จำนวน CD4 ใช้เพื่อกำหนดเวลาที่จะเริ่ม ART โดยทั่วไป แนะนำให้ใช้ ART สำหรับผู้ที่ติดเชื้อ HIV/AIDS โดยมีค่า CD4 ต่ำกว่า 350 เซลล์/ลบ.มม. อย่างไรก็ตาม อาจแนะนำให้ใช้ยา ART สำหรับผู้ที่มีปริมาณ CD4 สูงกว่า 350 เซลล์/ลบ.มม. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพโดยรวม และปัจจัยอื่นๆ ของบุคคลนั้นๆ
  • ปริมาณ CD4 และการเกาะติดของยา ARTยา ART ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการใช้ยาอย่างเคร่งครัดจึงจะได้ผล จำนวน CD4 ใช้เพื่อตรวจสอบความสม่ำเสมอและประสิทธิผลของ ART ปริมาณ CD4 ที่เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอเป็นสัญญาณว่าการรักษาได้ผล
  • จำนวน CD4 และการตอบสนองของ ART การนับ CD4 ยังใช้เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของ ART เมื่อเวลาผ่านไป ยา ART สามารถลดปริมาณไวรัสและเพิ่มจำนวน CD4 การเพิ่มขึ้นของจำนวน CD4 บ่งชี้ถึงระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงขึ้น และความเสี่ยงในการติดเชื้อและการเจ็บป่วยที่ลดลง
ความสัมพันธ์ระหว่าง ค่า CD4 & HIV

การนับ CD4 เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการเอชไอวีและโรคเอดส์ ใช้เพื่อระบุระยะของโรคเอชไอวี ความจำเป็นในการรักษา และประสิทธิภาพของยารักษาเอชไอวี แนะนำให้ตรวจ CD4 ในการวินิจฉัยและหลังจากนั้นเป็นประจำสำหรับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ART คือ การรักษามาตรฐานสำหรับเอชไอวีและโรคเอดส์ และจำนวน CD4 จะใช้เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามและการตอบสนองของยาต้าน ART

อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

CD4 ที่เท่าไหร่ถึงเรียกว่าระดับน่าเป็นห่วง

แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน

อนาคตของการตรวจ CD4 และการรักษา HIV/AIDS นั้นสดใส ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการทดสอบ CD4 อาจนำไปสู่วิธีการทดสอบ CD4 ที่แม่นยำและเข้าถึงได้มากขึ้น ยาและสูตรการรักษาเอชไอวีแบบใหม่อาจให้ทางเลือกมากขึ้นสำหรับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ด้วยการวิจัยและความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

Filed Under: เอดส์ Tagged With: AIDS, CD4, HIV, ซีดีโฟร์, รักษาเอชไอวี, รักษาเอดส์, วินิจฉัยเอชไอวี, ไวรัสเอชไอวี

Primary Sidebar

Recent Posts

  • สาเหตุ อาการ และการรักษา โรคซิฟิลิส
  • การตรวจ HIV ในปัจจุบัน | HIV Test
  • PEP ป้องกัน HIV ในกรณีฉุกเฉิน
  • สารพัดประโยชน์ของถุงยางอนามัย
  • เอชไอวีป้องกันได้ ด้วยการทาน “PrEP”

Archives

  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • หนองในแท้
  • เอชไอวี HIV
  • เอดส์
  • แผลริมอ่อน
  • โรคซิฟิลิส
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง
  • ไวรัสตับอักเสบบี

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in