• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

Archives for March 2023

แผลริมอ่อน | Chancroid

March 22, 2023 by 365team

แผลริมอ่อน Chancroid

แผลริมอ่อน (Chancroid) หรือ ซิฟิลิสเทียม เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Haemophilus Ducreyi  เกิดขึ้นได้ทั้งในเพศชาย และเพศหญิง ทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศ และต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโตติดกันเป็นพืดและเจ็บ ระยะฟักตัวของโรค หลังจากที่ได้รับเชื้อ อยู่ในช่วง 5-7 วัน จึงเริ่มพัฒนาอาการให้เห็นชัดตามมา โรคนี้ติดต่อได้ง่าย แต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่ง

แผลริมอ่อนสาเหตุเกิดจากอะไร ?

แผลริมอ่อนสาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ฮีโมฟิลุส ดูเครย์ (Haemophilus ducreyi) โดยเชื้อชนิดนี้จำนวนมากจะอยู่ที่หนอง และจะเข้าสู่ร่างกายผ่านรอยถลอกทางผิวหนัง จากนั้นเชื้อจะสร้างสารพิษ (HdCDT) ขึ้นมาทำให้เกิดแผลบริเวณอวัยวะเพศ และมีหนองไหล ทำให้หากสัมผัสโดนของเหลวจากแผลโดยตรง ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น ทางผิวหนังที่เกิดบาดแผลหรือมือที่มีเชื้อไปสัมผัสโดนดวงตา รวมถึงการสัมผัสถูกเชื้อในขณะมีเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ทั้งการร่วมเพศทางปาก ทางทวารหนัก หรือการมีเพศสัมพันธ์แบบปกติ

แผลริมอ่อน อารการเป็นอย่างไร

แผลริมอ่อน อารการเป็นอย่างไร ?

อาการแผลริมอ่อนในผู้ชาย

  • อาจมีตุ่มนูนสีแดงเล็กๆ ขึ้นบนอวัยวะเพศหนังหุ้มปลายองคชาต และถุงอัณฑะ  ซึ่งอาจเปลี่ยนเป็นแผลเปื่อยภายใน 1-2 วัน และแผลอาจก่อตัวขึ้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของอวัยวะเพศก็ได้
  • เมื่อเกิดแผล ผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อน และเจ็บปวดที่บริเวณแผลมาก

อาการแผลริมอ่อนในผู้หญิง

  • อาจมีตุ่มสีแดง บวมแดง บนแคมนอก หรือระหว่างแคมนอก รูทวาร หรือบนต้นขา
  • อาจรู้สึกอาการคัน แสบร้อน หรือเจ็บในระหว่างที่ขับปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • อาจมีตกขาวมากและกลิ่นรุนแรง

การวินิจฉัยแผลริมอ่อน

  • การป้ายหนองมาย้อมสีแกรม (Gram stain) เพื่อตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุ ซึ่งจะเป็นการวินิจฉัยแบบคร่าว ๆ ถ้าเป็นเชื้อ Haemophilus ducreyi จะย้อมติดเป็นสีแดง ลักษณะเป็นแท่งสั้น ๆ (Coc cobacilli) และอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ คล้ายฝูงปลาว่ายตามกันไปที่เรียกว่า School of Fish
  • การส่งหนองหรือน้ำเหลืองจากแผลไปเพาะเชื้อ เป็นวิธีที่มีความแม่นยำต่ำ การเพาะเลี้ยงเชื้อทำได้ยาก เพราะเชื้อนี้เจริญในสภาพที่ไร้ออกซิเจน
  • การตรวจ Polymerase chain reaction (PCR) ที่มีความไว 96-100% เป็นการวินิจฉัยได้อย่างแน่ชัด แต่ก็มีราคาแพงและต้องใช้เวลา
  • การตรวจด้วย Immunochromatography แต่ก็มีความไวต่ำ

การป้องกันแผลริมอ่อน

  • หากเป็นแผลที่อวัยวะเพศควรงดการมีเพศสัมพันธ์
  • ควรสวมถุงยางป้องกันทุกครั้งก่อนการมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลที่อวัยวะเพศ
  • ควรรักษาความสะอาดของอวัยวะเพศ
  • หมั่นออกกำลังกายและรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
การรักษา แผลริมอ่อน

การรักษาแผลริมอ่อน

แผลริมอ่อน สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบถ้วนตามที่แพทย์สั่ง และไม่มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงซ้ำ ช่วยให้ผู้ป่วยหายได้ไวขึ้น และลดรอยแผลเป็น แต่ในบางรายที่มีอาการต่อมน้ำเหลืองบวมจนมีขนาดใหญ่อาจต้องเข้ารับการผ่าตัด (หากรักษาไม่ครบจะทำให้เชื้อดื้อยา)

ภาวะแทรกซ้อนแผลริมอ่อน

  • แผลทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ง่ายขึ้น 
  • อาจมีผลพวงจากการเป็นแผลที่มีการติดเชื้อชนิดอื่น ๆ ซ้ำได้
  • อาจทำให้เป็นแผลดึงรั้งจนเกิดภาวะหนังหุ้มปลายองคชาตตีบตัน
  • ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบแตกเป็นหนองไหลออกมา หากไม่รักษาภายใน 5-8 วันหลังจากเกิดแผล เมื่อแผลหายแล้วอาจทำให้เป็นแผลเป็นได้
  • แผลอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียได้
  • ในบางรายที่เป็นรุนแรง อาจทำให้อวัยวะเพศแหว่งหายได้

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

  • ไวรัสตับอักเสบบี สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ
  • อวัยวะเพศชาย ดูแลให้เป็น ช่วยห่างไกลโรค

แผลริมอ่อน (Chancroid) สามารถติดต่อได้ง่าย แต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วน และไม่มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงซ้ำ

Filed Under: แผลริมอ่อน Tagged With: การป้องกันแผลริมอ่อน, การรักษาแผลริมอ่อน, อาการแผลริมอ่อน, แผลริมอ่อน, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ไวรัสตับอักเสบบี สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ

March 8, 2023 by 365team

ไวรัสตับอักเสบบี สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Virsu : HBV) เกิดจากการอักเสบของเซลล์ตับ และทำให้เซลล์ตับถูกทำลาย หากติดเชื้อเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน จะเรียกว่าภาวะตับอักเสบเรื้อรัง และการอักเสบเรื้อรังดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดพังผืดที่ตับ จากนั้นก็จะทำให้ตับแข็ง และกลายเป็นมะเร็งตับได้

ไวรัสตับอักเสบบี มีกี่ระยะ ?

ไวรัสตับอักเสบบี แบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ

  • ระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 1-4 เดือนหลังติดเชื้อ ซึ่งจะมีอาการดังนี้อาการไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสียและอาเจียน อ่อนเพลีย ผื่น ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เกิดจากการที่เซลล์ตับถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ในกรณีนี้อาจทำให้เกิดภาวะตับวายได้อาการตับอักเสบระยะเฉียบพลันจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ และจะหายเป็นปกติเมื่อร่างกายสามารถกำจัดและควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ ซึ่งมักใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน แต่ผู้ป่วยส่วนน้อย (5-10%) ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด ทำให้ผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง
  • ระยะเรื้อรัง แบ่งผู้ป่วยได้เป็น 2 กลุ่มคือ
    • พาหะ คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ผลการตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ
    • ตับอักเสบเรื้อรัง คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย และตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ
ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้อย่างไร

ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้อย่างไร ?

  • ไม่สวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีโดยไม่ได้ป้องกัน
  • ใช้เข็มฉีดยา เข็มสัก เข็มเจาะหู ร่วมกับผู้อื่น
  • ใช้แปรงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกับผู้อื่น
  • ติดเชื้อขณะคลอดจากแม่ที่มีเชื้อ
  • สัมผัสกับเลือด สารคัดหลั่ง โดยผ่านเข้าทางบาดแผล

ไวรัสตับอักเสบบี มีอาการอย่างไร?

เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ได้รับเชื้อจะไม่รู้ตัว ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้

  • มีไข้ต่ำๆ
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ตาเหลือง และตัวเหลือง
  • จุกแน่นใต้ชายโครงขวาเนื่องจากตับโต

การรักษา ไวรัสตับอักเสบบี

การรักษาไวรัสตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยสามารถหายจากโรคนี้ได้ในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในการดูแลตนเอง เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีโภชนาการสูง และดื่มน้ำในปริมาณมาก ๆ เพราะร่างกายกำลังต่อสู้ในการกำจัดเชื้อไวรัสชนิดนี้อยู่ อาศัยอยู่ในพื้นที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก

การรักษาไวรัสตับอักเสบบี ระยะเรื้อรัง ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อลดความเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคตับที่รุนแรง และป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น โดยการรักษานั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วย ใช้การรักษาด้วยยาต้านเชื้อไวรัส ตามคำแนะนำจากแพทย์

ไวรัสตับอักเสบบี ป้องกันได้อย่างไร

ไวรัสตับอักเสบบี ป้องกันได้อย่างไร ?

  • งดดื่มแอลกอฮอล์
  • มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
  • ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรตรวจเช็คตับปีละ 1 ครั้ง

ใครบ้างที่ควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ?

  • ทารกแรกเกิด เด็ก
  • วัยรุ่นที่ไม่ได้รับวัคซีนเมื่อแรกเกิด
  • ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี
  • บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่ทำงานในสถานพยาบาล
  • ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไต
  • ผู้ป่วยที่ได้รับเลือดบ่อย ๆ
  • ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
  • ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมทางเพศ เช่น รักร่วมเพศ มีคู่นอนหลายคน

ขอบคุณข้อมูล : sikarin princsuvarnabhumi

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมที่นี่

  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์(STI) ที่พบได้บ่อย

Filed Under: ไวรัสตับอักเสบบี Tagged With: ตับอักเสบ, ไวรัสตับอักเสบ, ไวรัสตับอักเสบบี

Primary Sidebar

Recent Posts

  • สาเหตุ อาการ และการรักษา โรคซิฟิลิส
  • การตรวจ HIV ในปัจจุบัน | HIV Test
  • PEP ป้องกัน HIV ในกรณีฉุกเฉิน
  • สารพัดประโยชน์ของถุงยางอนามัย
  • เอชไอวีป้องกันได้ ด้วยการทาน “PrEP”

Archives

  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • หนองในแท้
  • เอชไอวี HIV
  • เอดส์
  • แผลริมอ่อน
  • โรคซิฟิลิส
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง
  • ไวรัสตับอักเสบบี

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in