• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

Archives for July 2022

โรคหูด สาเหตุ, อาการ, การรักษา

July 31, 2022 by thaihiv365 team

โรคหูด สาเหตุ, อาการ, การรักษา

เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยไม่จำกัดเพศ และอายุ แม้ว่าจะไม่ได้อันตรายมากนัก แต่ต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มิฉะนั้นอาจเป็นแผลติดเชื้อที่หนักกว่าเดิม รักษายากกว่าเดิมได้

โรคหูด (Warts) คืออะไร

หูด (Warts) เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อฮิวแมน แปปิโลมาไวรัส (Human papillomavirus) หรือเอชพีวี (HPV) โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้จะกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเกิดการหนาตัวหรือแข็งตัวขึ้น  จนเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายของผิวหนัง ซึ่งก็มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด อาจมีขนาดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็น หูดอาจจะขึ้นเพียงเดี่ยว ๆ หรือขึ้นหลายตุ่มก็ได้ โดยมักจะขึ้นที่มือ เท้า ข้อศอก ข้อเข่า ใบหน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรืออาจขึ้นตามผิวหนังส่วนอื่น ๆ รวมทั้งที่อวัยวะเพศก็ได้ 

โดยโรคนี้เมื่อเป็นแล้วก็ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด อาจจะทำให้ดูน่าเกลียดน่ารำคาญหรือทำให้มีอาการปวดได้เป็นบางครั้ง ส่วนมากแม้จะไม่ได้รับการรักษาก็มักจะยุบหายไปเองตามธรรมชาติภายหลังที่เป็นอยู่หลายเดือน แต่บางรายอาจเป็นอยู่แรมปีกว่าจะยุบหายไป และเมื่อหายแล้วก็อาจกกลับมาเป็นใหม่ได้อีก

ระยะฟักตัวของโรค

หลังจากรับเชื้อมาจนเกิดอาการมักจะใช้เวลาประมาณ 2-8 เดือน

สาเหตุการเกิดโรคหูด

โรคหูดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมน แปปิโลมา ไวรัส  หรือ เอชพีวี (Human Papilloma Virus – HPV) ซึ่งมีมากกว่า 100 ชนิดย่อย โดยแต่ละเชื้อชนิดย่อยก็ทำให้เกิดหูดในตำแหน่งต่าง ๆ และมีหน้าตาของหูดแตกต่างกันไป เช่น เอชพีวีสายพันธุ์ย่อย 1 จะก่อให้เกิดหูดที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า ส่วนเอชพีวีสายพันธุ์ย่อย 6 จะก่อให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศภายนอก เป็นต้น

โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้อันตราย โดยทั่วไปหูดจะเกิดขึ้นบนมือหรือเท้าของผู้ป่วย แต่เชื้อไวรัส HPV บางสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศหญิง ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หูดสามารถเกิดได้หลายที่ เช่น หูดที่นิ้วมือ หูดที่เท้า หูดที่มือ หูดที่นิ้ว หูดที่ลิ้น หูดที่หน้า หูดที่อวัยวะเพศ หูดในปาก หูดที่คอ 

หูดเป็นโรคติดต่อที่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสจากคนที่เป็นหูดโดยตรง  แต่ผิวหนังที่มีบาดแผลหรือรอยถลอกจะติดเชื้อได้ง่ายกว่าผิวหนังที่ปกติ เพราะเชื้อไวรัสสามารถแทรกตัวลงไปได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะใช้เวลาในการแบ่งตัวอยู่หลายเดือนจนกว่าจะเห็นเป็นก้อนหูด และเนื่องจากเชื้อหูดจะแบ่งตัวเฉพาะที่ผิวหนังและเยื่อบุเท่านั้น  จึงไม่ลุกลามเข้าสู่กระแสเลือดและไม่แพร่เชื้อเข้าสู่อวัยวะอื่น ๆ เชื้อชนิดนี้จึงไม่ติดต่อผ่านทางอื่น ๆ เช่น การไอ จามรดกัน หรืออย่างในกรณีที่มีหูดที่หน้า การมีเพศสัมพันธ์ก็ไม่ได้ทำให้ติดเชื้อหูดแล้วกลายเป็นหูดที่อวัยวะเพศหรือที่หน้า แต่ถ้าเอามือไปสัมผัสที่หน้า และมือก็ไปสัมผัสอวัยวะอื่น ๆ ด้วยก็อาจจะทำให้ติดเชื้อหูดจากหน้าได้

แต่สำหรับผู้ป่วยบางรายก็มีลักษณะเป็นพาหะโรค คือ ผิวหนังดูเป็นปกติทุกอย่าง ไม่มีตุ่มนูนให้เห็น แต่ที่ผิวหนังยังมีเชื้ออยู่ จึงยังสามารถแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นได้จากการสัมผัสผิวหนังส่วนที่มีเชื้อเช่นเดียวกัน  ซึ่งคนบางกลุ่มจะมีแนวโน้มที่จะติดหูดได้ง่ายกว่าปกติ รวมทั้งในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันลดลงเช่นในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

โรคหูดเกิดที่ไหนได้บ้าง

โรคหูดเกิดที่ไหนได้อีกบ้าง

หูดเป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อยมักจะเติบโตตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ พบที่นิ้วมือ หูดสามารถเกิดได้หลายที่ เช่น หูดที่นิ้วมือ หูดที่เท้า หูดที่มือ หูดที่นิ้ว หูดที่ลิ้น หูดที่หน้า หูดที่อวัยวะเพศ หูดในปาก หูดที่คอ

อาการของโรคหูด

  • มีติ่งนูนยื่นขึ้นมาบนผิวหนังขนาดหูดประมาณ 10 มิลลิเมตร
  • มีผิวหยาบ หรือผิวเรียบ
  • เกิดขึ้นทั้งเป็นตุ่มเดี่ยว และเป็นกลุ่ม
  • มีอาการคัน

เมื่อใด ควรไปพบแพทย์

  • เมื่อไม่แน่ใจว่าลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นตุ่ม และที่เป็นคือหูดหรือไม่
  • เมื่ออยากจะรักษาหูดเองที่บ้าน แต่ไม่แน่ใจว่าควรจะรักษาด้วยวิธีไหน
  • เมื่อรักษาหูดด้วยตัวเองที่บ้านแล้วไม่หาย ควรให้แพทย์ตรวจเพื่อยืนยันว่าตุ่มนั้นเป็นหูด ไม่ใช่มะเร็งหรือโรคผิวหนังชนิดอื่น
  • เมื่อมีเลือดออกจากหูด และหูดขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • เมื่อเข้ารับการรักษาหูดและมีอาการผิวหนังอักเสบติดเชื้อ เช่น ผื่นแดง มีความรู้สึกปวด มีหนองบริเวณที่รักษา ในผู้ป่วยบางคนผื่นแดงและอาการปวดเป็นเรื่องปกติหลังการรักษา ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อทำความเข้าใจถึงผลข้างเคียงของการรักษา

การวินิจฉัยโรคหูด

  • แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคหูดได้จากการดูอาการของผู้ป่วย จากการตรวจลักษณะของก้อนเนื้อ 
  • อาจต้องตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคหูด

แนวทางในการรักษาโรคหูดในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็นการรักษาด้วยยาใช้ภายนอก การผ่าตัดซึ่งก็มีอยู่หลายวิธี และการปล่อยไว้ไม่รักษา เพราะส่วนใหญ่หูดจะสามารถยุบหายไปได้เอง ซึ่งการรักษานี้จะไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุหรือเป็นการฆ่าเชื้อไวรัสที่เป็นต้นตอแต่อย่างใด เพราะในปัจจุบันยังไม่มีตัวยาที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ แพทย์จึงเน้นการรักษาไปที่ปลายเหตุด้วยการทำลายเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นรอยโรค จึงยังอาจทำให้มีเชื้อไวรัสหลงเหลืออยู่ในบริเวณรอบ ๆ ที่ผิวหนังที่เห็นเป็นปกติ ดังนั้นแม้จะเอาหูดและเนื้อเยื่อผิวหนังโดยรอบออกไปแล้ว แต่ก็ไม่อาจรับประกันได้ว่าเชื้อหูดจะหมดไป ทำให้มีโอกาสที่โรคนี้จะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

ซึ่งโดยทั่วไปการรักษาหูดก็มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ได้แก่

1. การทายา ยาที่ใช้จะเป็นยาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิซิลิก กรดแลคติก กรดไตรคลออะซิติก แต่การรักษาหูดด้วยการทายาจะต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์ หรือบางรายหลายเดือนกว่าจะหาย ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ไม่ควรซื้อยามาทาเอง

2. การจี้ด้วยความเย็น โดยใช้ไนโตรเจนเหลว (Cryotherapy)  วิธีนี้ใช้ได้ผลดีกับหูดขนาดไม่ใหญ่มาก โดยระหว่างจี้ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บหรือแสบ ต่อมาบริเวณที่จี้อาจจะพองเป็นตุ่มน้ำ และใหญ่ขึ้นเป็นถุงน้ำ หลังจากนั้นจะค่อยๆ แห้งลงและตกสะเก็ด และจะหายภายใน 1-3 สัปดาห์ ซึ่งอาจต้องจี้ซ้ำหลายครั้งจนกว่าจะหายขาด

3. การจี้ด้วยไฟฟ้า เป็นการทำลายตุ่มหูดด้วยความร้อน วิธีนี้ได้ผลค่อนข้างดี แต่อาจทำให้มีแผลเป็นได้

4. การรักษาด้วยเลเซอร์ วิธีนี้จะใช้เลเซอร์จี้ที่ตัวหูด ซึ่งได้ผลดีแต่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

5. การผ่าตัด คือการผ่าตัดเอาก้อนหูดออก ใช้สำหรับหูดที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล

6. การทายาเพื่อกระตุ้นภูมิ (DCP) หรือ ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)   วิธีทำคือ การฉีดสารบางชนิดไปยังบริเวณหูด เพื่อกระตุ้นภูมิของร่างกายให้มาทำลายหูด จะใช้ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีการอื่นไม่ได้ผล หรือหูดมีปริมาณมาก การรักษาใช้เวลาหลายเดือนและต้องมาทายาที่โรงพยาบาลทุกสัปดาห์

เป็นหูด ควรรีบพบแพทย์

การป้องกันโรคหูด

  • หากเป็นหูด ควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปบริเวณอื่นของร่างกาย และป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
  • หูดอาจเกิดขึ้นซ้ำได้อีก โดยมีปัจจัยโดยตรงมาจากภูมิคุ้มกันในร่างกาย ดังนั้นจึงควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้งห้าหมู่
  • เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่เป็นหูดหงอนไก่ หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับคนที่เป็นหูด ส่วนผู้ที่อยู่ในบ้านเดียวกันกับผู้ที่เป็นหูด ควรแยกของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าขนหนู เสื้อผ้า รองเท้า ถุงเท้า ถุงมือ กรรไกรตัดเล็บ มีดโกน ฯลฯ
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำเท้าเปล่าในสระว่ายน้ำสาธารณะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหูดที่เท้า โดยการสวมใส่รองเท้าในขณะอาบน้ำหรือรองเท้าแตะแบบหนีบอยู่เสมอ
  • ห้ามใช้เครื่องมือที่ใช้ตัดหรือเฉือนหูดร่วมกับผู้อื่น หรือพยายามหลีกเลี่ยงการทำเล็บในร้านที่ไม่สะอาด หรือตัดผมแบบที่มีการโกนขนหรือหนวดที่ต้องใช้ร่วมกัน
  • ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ โดยเฉพาะหากมีการสัมผัสกับคนที่เป็นหูด
  • หลีกเลี่ยงการถูกหูดที่ตำแหน่งใหม่
  • ควรเช็ดมือ และเท้าให้แห้ง
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหูดกับผู้ที่เป็นหูดโดยตรง
  • ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อได้บางชนิด ปัจจุบันได้รับการรับรองให้ใช้ได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

ทำความรู้จักกับ โรคฝีดาษลิง

กามโรคคืออะไร?

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • หูด เรื่องเล็กแต่เจ็บเหลือใจ (Warts) https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/496
  • หูด https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=34
  • หูด อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคหูด 40 วิธี !! (Warts) https://medthai.com/หูด/
  • เป็นหูดหายได้ ถ้ารักษาอย่างถูกต้อง https://www.phukethospital.com/th/healthy-articles/warts-disappear-if-treated-properly/หูด เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร https://amprohealth.com/symptoms/warts/

Filed Under: Uncategorized Tagged With: Human papillomavirus, Warts, สาเหตุการเกิดโรคหูด, อาการของโรคหูด, ฮิวแมน แปปิโลมาไวรัส, โรคหูด

การมีเซ็กส์อย่างปลอดภัยเป็นไปได้หรือไม่

July 19, 2022 by thaihiv365 team

การมีเซ็กส์อย่างปลอดภัย

เรื่องเซ็กส์เป็นเรื่องใหญ่ และสำคัญของทุกคน การป้องกันก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน การมีเซ็กส์ยังไงให้ปลอดภัย เพื่อการป้องกัน และลดความเสี่ยงการติดต่อของโรคทางเพศสัมพันธ์

Safe Sex คืออะไร 

คือ การมีเซ็กซ์ หรือเพศสัมพันธ์กันอย่างปลอดภัย ซึ่งคนส่วนใหญ่คิดว่ามีเพียงแค่การใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ แต่ความจริงแล้วการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยมีมากกว่านั้น อย่างเช่น การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่าการช่วยตัวเอง ซึ่งวิธีอย่างหนึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ร้ายแรง หรือน่ารังเกียจ

ทำไมต้อง Safe Sex? 

การ Safe Sex หรือการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยนั้น เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อเอชไอวี, โรคเอดส์, ซิฟิลิส, หนองใน ฯลฯ หรือช่วยในการคุมกำเนิด ตั้งท้องในขณะที่ยังไม่พร้อม 

การมีเซ็กส์อย่างปลอดภัยเป็นไปได้หรือไม่ 

เป็นไปได้ หากเรามีความรู้ และการเข้าใจในการมีเซ็กซ์ หรือเพศสัมพันธ์ อย่างถูกต้อง ทำให้เรามีเซ็กส์อย่างปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

Safe Sex มีแบบไหนบ้าง?

แบบที่ 1 ก่อนที่จะมี Sex กับใครได้โปรดตรวจเลือดเพื่อความชัวร์! 

แม้ว่าเราจะมั่นใจในตัวเอง หรือไว้ใจในคู่นอนของเรามากแค่ไหน แต่การตรวจเลือดก่อนมีเพศสัมพันธ์ก็จะชัวร์และปลอดภัยมากกว่า เพราะการที่เราตรวจเลือดก่อนมีเพศสัมพันธ์ก็เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เราสามารถตรวจได้จากเลือดนั้นเอง เช่น โรคเอดส์ โรคซิฟิลิส หรือโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี ที่ติดแล้วรักษายากมาก ๆ ซึ่งสามารถตรวจได้ตามโรงพยาบาลทั่วไปเลย ฉะนั้นก่อนมีเพศสัมพันธ์เราอยากจะแนะนำให้ตรวจเลือดก่อนทุกครั้งเพื่อเขาเพื่อเราจะได้ปลอดภั

แบบที่ 2 Safe Sex ด้วยถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชาย

ถุงยางอนามัยของผู้ชายนั้นเป็น Safe Sex แบบเบสิก ถ้าใช้ถูกวิธีรับรองว่าปลอดภัย 100% และหาซื้อง่าย ราคาไม่แพง เพราะนอกจากจะสามารถช่วยป้องกันเราจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้ว ยังสามารถคุมกำเนิดได้ดีอีกด้วย

ข้อดีของการใช้ถุงยางอนามัย

สามารถป้องกันเราจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือการคุมกำเนิดได้ 100% ถ้าถุงยาง ไม่รั่ว ไม่ขาด ไม่หมดอายุ ฉะนั้นเช็กดี ๆ ก่อนสวม ราคาไม่แพง หาซื้อง่ายตามร้านสะดวกซื้อ เปิดขายกันตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพหรือภาวะแทรกซ้อนด้วย

ข้อควรระวังในการใช้ถุงยาง

อาจทำให้เกิดการแพ้สารเคมีในถุงยางได้ และอาจทำให้ถุงยางรั่วหรือแตก ระวังกันด้วยน้าา เช็กวันหมดอายุ รวมถึงเช็กขนาด รอยขาด รอยรั่วด้วยเพื่อความปลอดภัยของเรา

ห้ามใช้ถุงยางอนามัยพร้อมกัน


แบบที่ 3 Safe Sex ด้วยถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิง

ถุงยางอนามัยของผู้หญิงมีความปลอดภัยสูง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะหลุดเข้าไปในช่องคลอดเช่นกัน และมีราคาแพงกว่าถุงยางของผู้ชาย ถุงยางผู้หญิงทำจากพลาสติกที่เรียกว่าโพลียูรีเทน (Polyurethane) ซึ่งมีขนาดบางมากก อ่อนนุ่ม ผู้หญิงทุกคนสามารถใช้ได้ แต่สำหรับคนที่แพ้สารโพลียูรีเทนหรือยางสังเคราะห์ หรืออวัยวะเพศมีความผิดปกติ ใส่ไม่พอดีหรือหลวมไปควรหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาด

ข้อดีของการใช้ถุงยางผู้หญิง

ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, สามารถป้องกันการตั้งท้องได้ ถ้าใช้อย่างถูกต้อง, สามารถใช้ได้ขณะมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ และไม่มีผลข้างเคียงจากการใช้งาน

ข้อควรระวังในการใช้ถุงยาง

แกะถุงยางอนามัยออกจากซองอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันการฉีกขาด โดยส่วนวงแหวนที่มีขอบยางหนาจะถูกสอดใส่ไว้ในอวัยวะเพศหญิง และวงแหวนที่มีขอบยางบางจะอยู่ที่ปากช่องคลอด ควรตรวจสอบว่าถุงยางไม่พลิกตัว หรือพับงอ และปลายเปิดของถุงยางอยู่ที่ปากอวัยวะเพศ

ควรถอดถุงยางผู้หญิงโดยการบิดวงแหวนด้านนอกหรือปลายเปิดของถุงยาง และดึงออกจากอวัยวะเพศ ห้ามใช้ทั้งถุงยางผู้หญิงและถุงยางผู้ชายพร้อมกันขณะร่วมเพศ เพราะอาจเกิดการเสียดสีกันจนฉีกขาดได้ถุงยางอนามัยของผู้หญิงสามารถใช้ได้กับสารหล่อลื่นทุกประเภท แต่ห้ามใช้วาสลีน หรือน้ำมัน

แบบที่ 4 Safe Sex ด้วยการทานยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด 

เป็นตัวเลือกของผู้หญิง ที่นิยมใช้กันมาก คือ ยาคุมกำเนิด แต่ไม่ป้องกันการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ ฉะนั้นอย่าลืมใช้ถุงยางทุกครั้งด้วย แต่ยาคุมชนิดเม็ดก็ยังเป็นที่นิยมอยู่

  • ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ประกอบด้วย ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ตัวนี้เป็นชนิดที่เราแนะนำเพราะมีผลข้างเคียงน้อยกว่าตัวอื่น ๆ
  • ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน แบบเดี่ยว เหมาะกับคนที่อยู่ช่วงให้นมลูก 
  • ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฉุกเฉิน ไม่แนะนำให้ทาน แต่ควรใช้เฉพาะกรณีฉุกเฉินมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกัน หรือการคุมกำเนิดที่ใช้อยู่ผิดพลาด เช่น ถุงยางแตก รั่วหรือหลุด เท่านั้น

ข้อดีของการทายาคุมชนิดฮอร์โมนรวม

ทานง่าย สะดวก หาซื้อได้ง่าย ตามร้านขายยาทั่วไป ไม่เป็นอุปสรรคระหว่างการมีเพศสัมพันธ์

ข้อควรระวังในการทานยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม

ให้เช็กตารางของการมีประจำเดือนให้ดี ๆ เพราะถ้าพลาดแล้วแก้ไขยาก ผลข้างเคียงมาก เช่น ทำให้รู้สึกง่วงนอน คลื่นไส้อาเจียน หน้ามืด น้ำหนักขึ้น ตัวบวม หรือบางครั้งอาจจะส่งผลให้มีอารมณ์แปรปรวนด้วยยาคุมไม่ได้ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

แบบที่ 5 Safe Sex ด้วยการฉีดยาคุมกำเนิด

การฉีดยาคุมสามารถคุมกำเนิดได้ 100% ซึ่งวิธีนี้สามารถคุมกำเนิดได้ยาวนาน 1-3 เดือน แต่ผลข้างเคียงเยอะมาก หากฉีดยาคุมควรปรึกษาหมอก่อนฉีด  ซึ่งวิธีนี้จะไม่ค่อยสะดวก และราคาสูงกว่าการทานยาคุมแบบเม็ด แต่การฉีดยาคุมถือว่ามีประสิทธิภาพสูงมากในการคุมกำเนิด 

ข้อดีของการฉีดยาคุม

คุมกำเนิดได้ยาวนาน 1-3 เดือน แล้วแต่ชนิดยา โดยไม่ต้องทานยาทุกวัน ไม่รบกวนต่อการมีเพศสัมพันธ์สามารถใช้ได้แม้จะอยู่ในช่วงให้นมลูก ช่วยแก้ปัญหารอบเดือนที่ผิดปกติได้

ข้อควรระวังในการฉีดยาคุม

ต้องฉีดยาคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพถึงจะหยุดใช้แล้ว เพราะอาจส่งผลจนกว่าระดับฮอร์โมนในร่างกายจะเป็นปกติ เป็นโรคกระดูกพรุน การใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉีดชนิดเมดรอกซีโปรเจสเทอโรนติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อกระดูก แต่ก็จะกลับสู่ภาวะปกติ หากหยุดใช้

ตรวจโรคอย่างสม่ำเสมอ

แนวทางการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  1. ตรวจหาโรคติตต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่เพียงแค่เรา แต่คู่นอนของเราเองก็ต้องหมั่นตรวจด้วยอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้สร้างความมั่นใจ และหาแนวทางในการป้องกัน หรือแก้ไขกันต่อไป เพราะเชื้อบางชนิดไม่ได้ออกอาการทันที ใช้ระยะเวลานานกว่าจะออกอาการ 
  2. ป้องกันอยู่เสมอโดยใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งสามารถพกพาถุงยางอนามัยไว้ป้องกันตัวเอง เพราะเราไม่รู้ว่าจะพาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงกันตอนไหน นอกจากนี้ควรย้ำกับคู่นอน หรือคุณแฟนเราอยู่เสมอว่าต้องใส่ถุงยางอนามัยป้องกันทุกครั้ง 
  3. รักเดียวใจเดียว ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งสำคัญกับเรื่องความรัก ในเรื่องเพศสัมพันธ์ก็เช่นเดียวกัน รักใครก็รักทีละคน จะมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยก็มีทีละคน ลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการรับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาจากคนอื่นด้วย
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเมื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว อาจทำให้สติ ความคิด ความยับยั้งชั่งใจที่ดีก็จะลดลงไปด้วย ทำให้เราอาจะไม่ได้นึกถึงการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย หรือถูกวิธี ซึ่งนั่นอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาและต้องมานั่งเสียใจทีหลังได้
  5. การคุมกำเนิด เมื่อคิดจะมีเซ็กส์แล้ว ก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่จะตามมาด้วย นอกจากเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้ว เรื่องการคุมกำเนิดก็เป็นสิ่งสำคัญมากๆ ทั้งยาคุมที่กินประจำทุกวัน และยาคุมฉุกเฉิน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์แบบไม่พร้อมนะคะ อยากจะเน้นย้ำว่า ยาคุมไม่มีผลต่อการป้องกันโรคติดต่อ ไม่สามารถป้องกันโรคได้ การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยจึงควรใช้ถุงยางอนามัยป้องกันโรคติดต่อทุกครั้ง

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

กามโรคคืออะไร?

โรคหนองในแท้ และหนองในเทียม ต่างกันยังไง

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ไม่ต้องอาย! ถ้า STOP ไม่ได้ ก็ “Safe Sex” เรียนรู้การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย https://www.sanook.com/women/130637/
  • Safe Sex แบบไหนปลอดภัยสุด! https://www.wongnai.com/beauty-tips/safe-sex

Filed Under: ถุงยางอนามัย, เอชไอวี HIV, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ Tagged With: Safe Sex, เพศสัมพันธ์กันอย่างปลอดภัย, เอชไอวี, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคเอดส์

เพร็พ PrEP ป้องกันเชื้อเอชไอวี

July 4, 2022 by 365team

PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) เพร็พ เป็นยาต้านไวรัส สำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือมีคู่นอนที่มีเชื้อเอชไอวี

เพร็พ (PrEP) เหมาะกับใคร

  • ชายที่มีเพศสัมพันธ์ชาย
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี
  • ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
  • ผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ
  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ภายใน 6 เดือน

ผลข้างเคียงของเพร็พ (PrEP)

โดยส่วนใหญ่ ผู้ที่ใช้ยาเพร็พ (PrEP) มักจะไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ซึ่งจากสถิติผู้ที่มี อาการข้างเคียงพบได้น้อยมาก และไม่ส่งผลที่อันตรายต่อร่างกาย อาจแสดงอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ ท้องเสีย หรือเบื่ออาหาร หลังจากนั้น อาการจะดีขึ้นเมื่อทานยาต่อเนื่องประมาณ 2-3 สัปดาห์ หากในกรณีที่มีความผิดปกตินอกเหนือที่กล่าวมาหรือรุนแรงมากขึ้นควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน

วิธีกินเพร็พ (PrEP) มีกี่วิธี

PrEP นิยมกินอยู่ 2 วิธี ผู้รับยาสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตัวเอง ดังนี้

Daily PrEP

เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถวางแผนการมีเพศสัมพันธ์ได้ หรือมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อเอชไอวี ขั้นตอนการกินที่ไม่ซับซ้อน กินเพียงแค่วันละ 1 เม็ด เริ่มต้นกิน 7 วันก่อนมีเพศสัมพันธ์ ต้องกินเวลาเดิมทุกวัน (เวลาไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องก่อนหรือหลังอาหาร)

On Demand PrEP

อีกไม่กี่วันต้องไปปาร์ตี้หนัก มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ สำหรับคนที่วางแผนการมีกิจกรรมของตัวเองได้ ขอแนะนำวิธีกิน PrEP แบบนี้ โดยมีสูตรในการกินคือ 2:1:1

  • 2 เม็ดแรก ก่อนมีเพศสัมพันธ์ 2-24 ชั่วโมง
  • 1 เม็ดถัดไป หลังมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว 24 ชั่วโมง
  • 1 เม็ดสุดท้าย หลังจากกิน PrEP ครั้งที่สองไปแล้ว 24 ชั่วโมง

จะรับเพร็พ (PrEP) ได้อย่างไร ?

ก่อนมารับเพร็พ (PrEP) ผู้มารับบริการจะได้รับการตรวจเอชไอวี ตรวจการทำงานของตับและไต หลังจากที่ได้รับยาเพร็พ (PrEP) ครั้งแรกจะนัดตรวจเลือด 1 เดือน หลังจากนั้นนัดตรวจเลือดทุก 3 เดือน หากต้องการหยุดยา ผู้มารับบริการต้องมาตรวจเลือดก่อนหยุดยาเพร็พ (PrEP) ทุกครั้ง

สารสารถจองคิวรับ เพร็พ (PrEP) ได้ที่ >>> Love2Test

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • U=U คืออะไร
  • ข้อดีของการตรวจ HIV ที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่สนใจ

ขอบคุณข้อมูล : trcarc ,love2test ,lovefoundation

Filed Under: PrEP Tagged With: PrEP, ยาต้านไวรัส, เพร็พ, เอชไอวี

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”
  • โรคฝีมะม่วง..ภัยร้ายใกล้ตัว
  • หนองในเทียม (Chlamydia)
  • CD4 ที่เท่าไหร่ถึงเรียกว่าระดับน่าเป็นห่วง

Archives

  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in