• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

Archives for May 2022

ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี

May 29, 2022 by thaihiv365 team

ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวี ถือเป็นหัวใจสำคัญของการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยแพทย์จะพิจารณาให้ผู้ป่วยเริ่มกินยาต้านไวรัสเอชไอวีโดยเร็วที่สุด เพื่อเป็นการรักษาตัวผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีเอง และเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเอชไอวีไปสู่ผู้อื่น 

ยาต้านไวรัส คือ?

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี

Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผล HIV เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

ซึ่งจะใช้ช่วงก่อนหรือหลังจากการสัมผัสเชื้อ HIV สำหรับยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อนั้น เรียกว่ายา PrEP ซึ่งย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis (ยาต้านก่อนเสี่ยง) และยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากสัมผัสเชื้อนั้น เรียกว่ายา PEP โดยย่อมาจาก Post -Exposure Prophylaxis (ยาต้านฉุกเฉิน)

ยาต้านไวรัสเอชไอวีมี 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

  1. Reverse transcriptase inhibitors ยับยั้งขบวนการคัดลอก RNA ไปเป็น DNA ของไวรัส (reverse transcription) ยากลุ่มนี้ยังแบ่งย่อยเป็นกลุ่ม
    • Nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NRTIs) ได้แก่ Abacavir (ABC), Didanosine (ddI), Emtricitabine (FTC), Lamivudine (3TC), Stavudine (d4T), Tenofovir (TDF), Zalcitabine (ddC), Zidovudine (AZT)
    • Non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs) ได้แก่ Delavirdine (DLV), Efavirenz (EFV), Etravirine (ETR), Nevirapine (NVP), Rilpivirine (RPV)
  2. Protease inhibitors (PIs) ยับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัส ยากลุ่มนี้ได้แก่ Darunavir (DRV), Indinavir (IDV), Nelfinavir (NFV), Ritonavir (RTV), Saquinavir (SQV), Kaletra® (lopinavir/ritonavir, LPV/r), Reyataz® (atazanavir/ritonavir, ATV/r) เป็นต้น
  3. Integrase strand transfer inhibitors (INSTIs) ยับยั้งไม่ให้ DNA ของไวรัสรวมตัวกับ DNA ของคน ยากลุ่มนี้ได้แก่ Dolutegravir (DTG), Elvitegravir (EVG), Raltegravir (RAL) เป็นต้น
  4. Entry/Fusion inhibitors ยับยั้งไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ได้ ยากลุ่มนี้ได้แก่ Enfuvirtide (INN), Maraviroc (EVG) เป็นต้น
อาการข้างเคียงของยาแต่ละชนิด

3. ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี แต่ละชนิด ดังนี้

Zidovudine (AZT, ZDV) ยาต้านไวรัสที่ช่วยไม่ให้เชื้อเอชไอวีเพิ่มจำนวน และใช้ขณะตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวีถ่ายทอดเชื้อไปยังทารก

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เป็นไข้ เจ็บคอ
  • ปวดศีรษะ
  • โลหิตจาง
  • ลมพิษ
  • หายใจติดขัด 
  • บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ
  • เม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ
  • แสบร้อนที่ดวงตา ปวดผิว
  • ผิวและเล็บอาจมีสีคล้ำ

Lamivudine (3TC) เป็นยาต้านไวรัสในกลุ่มเอ็นอาร์ทีไอ (Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors: NRTI) ที่ออกฤทธิ์ช่วยลดจำนวนเชื้อเอชไอวีในร่างกายของผู้ป่วยติดเชื้อ ซึ่งจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อเอชไอวี เช่น การติดเชื้อบางชนิด และมะเร็ง เป็นต้น 

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส
  • ปวดศีรษะ
  • ตับออนอักเสบ

Didanosine (ddI) ใช้ในการรักษาภาวะติดเชื้อไวรัสเอชไอวีซึ่งทำให้เกิดโรคเอดส์หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) ยาไดดาโนซีนไม่สามารถรักษาภาวะติดเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องให้หายขาดได้ แต่อาจช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคได้

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ชาปลายมือ ปลายเท้า
  • ตับอ่อนอักเสบ

Stavudine (d4T) รักษาโรคตดิเช้ือ HIV ซ่ึงไมส่ ามารถทนตอ่ หรือด้ือตอ่ ยาอื่นๆ หรือใช้ยาอื่นไม่ ไดผ้ล

ผลข้างเคียง

  • ชาปลายมือ ปลายเท้า
  • ระดับแลคเตทในเลือดสูง
  • ตับออนอักเสบ
  • แก้มตอบ ไขมันใต้ผิวหนังลดลง
  • ระดับไขมันในเลือดสูง

Abacavir (ABC) ป็นยาต้านไวรัสในกลุ่มเอ็นอาร์ทีไอ (Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors: NRTI) ที่แพทย์นำมาใช้ร่วมกับยารักษาการติดเชื้อเอชไอวีชนิดอื่น ออกฤทธิ์ลดจำนวนเชื้อเอชไอวีในร่างกายของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ซึ่งช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดียิ่งขึ้น และยังลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อเอชไอวีอย่างการติดเชื้ออื่น ๆ และการเกิดมะเร็ง 

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ภาวะภูมิไวเกิน

Tenofovir (TDF) เป็นยาต้านไวรัส ใช้รักษาการติดเชื้อเอชไอวี และการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง อาจใช้ร่วมกับยาตัวอื่น ๆ เพื่อรักษาควบคู่กัน แต่ยานี้อาจไม่ได้ฆ่าเชื้อไวรัสทั้งหมด เพียงแต่ช่วยควบคุมโรคเท่านั้น

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องอืด แน่นท้อง
  • ท้องเสีย

Tenofovir+emtricitabine (TDF/FTC) ยาทั้ง 2 ชนิดนี้จะอยู่ในรูปของยาสูตรผสมที่ต้องรับประทานคู่กันเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องอืด แน่นท้อง
  • ท้องเสีย
  • ปวดศีรษะ

Efavirenz (EFV) เป็นยาต้านไวรัสที่ใช้รักษาการติดเชื้อเอชไอวี โดยยาจะช่วยลดปริมาณเชื้อเอชไอวีในร่างกายและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวีอย่างมะเร็งหรือการติดเชื้ออื่น ๆ 

ผลข้างเคียง

  • วิงเวียนศีรษะ
  • ง่วงนอน
  • อาการนอนไม่หลับ
  • อาการสับสน 
ผื่นsteven johnson syndrome

Etravirine (ETR) เป็นยาใหม่ในกลุ่ม non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor (NNRTI) ที่กำลังพัฒนาสำหรับใช้ในการรักษาผู้ที่ติดเชื้อ HIV

ผลข้างเคียง

  • ผื่นแพ้ อาจรุนแรง ถึง Steven Johnson Syndrome
  • ภาวะภูมิไวเกิน 
  • คลื่นไส้ 

Nevirapine (NVP) รักษาอาการติดเชื้อ HIV เป็นยาในกลุ่ม nucleoside reverse transcriptase inhibitor

ผลข้างเคียง

  • ผื่นแพ้ อาจรุนแรง ถึง Steven Johnson Syndrome
  • ตับอักเสบ อาจรุนแรงถึงตับวายเฉียบพลัน

Rilpivirine (RPV) เป็นยากลุ่ม non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs)

ผลข้างเคียง

  • ปวดศีรษะ
  • อาการนอนไม่หลับ
  • ผื่นแพ้ 
  • ซึมเศร้า 

Atazanavir sulfate (ATV)  ใช้สำหรับการรักษา, ควบคุม, ป้องกันและรักษาอาการและสภาพของการติดเชื้อเอชไอวีให้ดีขึ้น

ผลข้างเคียง

  • ภาวะตัวเหลือง 
  • คลื่นไส้
  • ผื่นแพ้ 
  • ท้องเสีย
  • ปวดศีรษะ 

Ritonavir (RTV) เป็นยาต้านไวรัสที่มักใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นเพื่อรักษาการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ลดปริมาณเชื้อเอชไอวี ส่งผลให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น ช่วยลดโอกาสของการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อเอชไอวีอย่างการติดเชื้อต่าง ๆ และโรคมะเร็ง 

ผลข้างเคียง

  • Gastrointestinal side effect คลื่นไส้ , อาเจียน, ท้องเสีย
  • ระดับไขมันในเลือดสูง 
  • ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง 
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง  

Lopinavir/ritonavir (LPV/r) ใช้ร่วมกับยาต้านรีโทรไวรัสตัวอื่นๆ ในการรักษา ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV-1

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ระดับไขมันในเลือดสูง  
  • ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ในเลือดสูง 
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง 

Darunavir (DRV)  เป็นยาต้านไวรัสอยู่ในกลุ่ม ยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส ใช้รักษาโรคติดเชื้อ HIV-1

ผลข้างเคียง

  • ผื่นแพ้ 
  • คลื่นไส้
  • ท้องเสีย
  • ปวดศีรษะ 

– Saquinavir (SQV) ใช้ร่วมกับยาริโทนาเวียร์ (ritonavir) และยารักษาโรคเอชไอวีอื่นๆ เพื่อควบคุมอาการติดเชื้อเอชไอวี โดยลดปริมาณของเชื้อเอชไอวีในร่างกาย เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดโอกาสของการเกิดอาการแทรกซ้อนของเอชไอวี

ผลข้างเคียง

  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้
  • ปวดท้อง 

Maraviroc (MVC) ป็นยาต้านไวรัสในกลุ่มตัวรับ CCR5 ที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี 

ผลข้างเคียง

  • ปวดท้อง 
  • ไอ 
  • วิงเวียนศีรษะ 
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 
  • อาการไข้ ตัวร้อน  
  • ผื่น 

Raltegravir (RAL) ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม Integrase inhibitor ในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ HIV-1 ที่ยังไม่เคยได้รับยารักษามาก่อน

ผลข้างเคียง

  • ผื่นแพ้ อาจรุนแรง ถึง Steven Johnson Syndrome
  • ภาวะภูมิไวเกิน 
  • คลื่นไส้
  • ปวดศีรษะ 
  • ท้องเสีย
  • อาการไข้ ตัวร้อน 

สรุปอาการข้างเคียงจากการกินยาต้านไวรัสเอชไอวี

  • อาการข้างเคียงในระยะสั้นและไม่รุนแรง พบได้และอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น ภายในเวลาประมาณ 2 – 3 เดือน เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องอืด นอนไม่หลับ ฝันร้าย มีผื่นขึ้นเล็กน้อย 
  • อาการข้างเคียงในระยะสั้นและรุนแรง เช่น ภาวะซีด ตับหรือตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ชาปลายมือปลายเท้า นิ่วในไต ซึ่งอาจพบได้ทุกช่วงของการกินยา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้าไม่รีบแก้ไข

ดังนั้น ต้องมีการติดตามอาการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด โดยมีการตรวจสุขภาพ และผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเป็นระยะ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ หรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องได้ ต้องให้ข้อมูลแก่แพทย์ให้มากที่สุดเพื่อประโยชน์ของตัวผู้ป่วยเอง

อาการข้างเคียงในระยะยาว มักพบหลังจากกินยาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่ตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป บางรายพบได้ในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี  อาการข้างเคียงในระยะยาว เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย การกระจาย และสะสมของไขมันผิดปกติและผิดที่ มีไขมันพอกที่ต้นคอ ลำตัวอ้วน แขนขาลีบ แก้มตอบ

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

PrEP เหมาะสำหรับใคร ?

ยาต้านฉุกเฉิน (PEP) คืออะไร ?

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ยาต้านไวรัสเอดส์ (Antiretrovirals) http://mutualselfcare.org/medicine/medicative/antiretrovirals.aspx?M=k&G=a
  • ยาต้านเอชไอวี
    http://www.thaiaidssociety.org/images/PDF/bms_arvdrug.pdf
  • อาการข้างเคียงและอาการแพ้ยา
    https://www.mplusthailand.com/hivaids/ยาต้านไวรัส/อาการข้างเคียงและอาการ/


Filed Under: ยาต้านไวรัส, เอชไอวี HIV Tagged With: Exposure prophylaxis, ยาต้านไวรัส, ยาต้านไวรัสเอชไอวี

โรคหนองในแท้ และหนองในเทียม ต่างกันยังไง 

May 16, 2022 by thaihiv365 team

โรคหนองในแท้ และหนองในเทียม ต่างกันยังไง

หนองใน เป็นอีกหนึ่งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน จึงสามารถรับเชื้อได้โดยง่ายแบบไม่ทันตั้งตัว และบ่อยครั้งผู้ป่วยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหนองในทั้ง หนองในแท้ และเทียม ว่ามีความแตกต่างกันยังไง? เมื่อเป็นโรคหนองในแล้วกี่วันจะหาย?  อาการจะรุนแรงมากน้อยแค่ไหน? โรคหนองในเป็นแล้วรักษาหายหรือไม่? หรือเป็นแล้วไม่รักษาได้ไหมเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหนองในมากขึ้น ป้องกันและดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง 

หนองในมีกี่ประเภท

โรคหนองในแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดได้แก่ โรคหนองในแท้ และโรคหนองในเทียม

โรคหนองในแท้ (Gonorrhoea)

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื้อว่า Neisseria gonorrhea  สามารถติดต่อได้ทั้งชายและหญิงรวมทั้งทารกแรกเกิด โรคหนองในแท้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีระยะการฟักตัวสั้น ประมาณ 1 – 10 วัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีการฟักตัวภายใน 5 วัน และเป็นโรคภายใน 7 วัน  โรคหนองในแท้สามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นหมัน หรืออาการอักเสบในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น

โรคหนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis : NSU)

มีเชื้อก่อโรคหนองในเทียมที่พบบ่อยที่สุดคือ เชื้อแบคทีเรียชื่อว่า คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis) สามารถติดต่อได้ทั้งชายและหญิง  โรคหนองในเทียมมีระยะการฟักตัวของโรคนานกว่าโรคหนองในแท้ นั่นคือ มากกว่า 10 วันขึ้นไป แต่ปัจจุบันในบางกรณีอาจพบว่าไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป อาการอาจลุกลามจนถึงขั้นอัณฑะอักเสบในผู้ชายและร้ายแรงที่สุดคือ เป็นหมัน   ส่วนฝ่ายหญิง อาการอาจลุกลามจนเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบจนถึงขั้นเป็นหมัน หรือตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

เชื้อแบคทีเรีย

โรคหนองในแท้ และหนองในเทียม ต่างกันยังไง 

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่แตกต่างกัน โดยโรคหนองในแท้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื้อว่า Neisseria gonorrhea ส่วนหนองในเทียมเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis)   แต่มีอาการของโรคหนองในจะคล้ายคลึงกัน หรืออาจจะเกิดร่วมกันได้

การแยกโรคหนองในแท้ และหนองในเทียม อาจพิจารณาจากอาการแสดง เช่น ลักษณะของหนองโรคหนองในแท้จะมีลักษณะขุ่น ส่วนหนองในเทียมส่วนมากจะมีลักษณะใส  แต่พบว่าในโรคหนองในเทียมสามารถพบได้ทั้งหนองลักษณะใสหรือขุ่นได้เช่นกัน และโรคทั้งสองพบอุบัติการณ์การเกิดร่วมกันได้มาก

จึงยากในการใช้อาการแสดงทางคลินิกในการแยก จึงอาจใช้การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการร่วมด้วย 

กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อหนองในเทียม

  1. ผู้ที่มีอายุยังน้อย หรือกลุ่มวัยรุ่น
  2. ผู้ที่ติดยาเสพติด
  3. ผู้ที่มีคู่นอนมากกว่า 1 คน หรือมีการเปลี่ยนคู่นอนใหม่
  4. ผู้ที่ใช้คู่นอนร่วมกับผู้อื่น
  5. ผู้ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยในขณะมีเพศสัมพันธ์

อาการหนองในแท้-หนองในเทียม

  • อาการหนองในของผู้ชาย จะมีอาการปัสสาวะแสบและมีหนองไหล อาการอาจมีมากน้อยแล้วแต่บุคคล ในกรณีที่มีอาการรุรแรงมากมักมีอาการแทรกซ้อน ซึ่งจะเกิดหลังจากที่ได้รับเชื้อแล้ว 2-5 วัน เช่น รู้สึกระคายเคืองท่อปัสสาวะ หลังจากนั้นจะมีอาการปวดแสบเวลาปัสสาวะ มีหนองสีเหลืองออกจากท่อปัสสาวะ อัณฑะบวม อักเสบ
  • อาการหนองในของผู้หญิง  จะมีอาการตกขาวที่มีกลิ่นเหม็น มีหนองหรือมูกปนหนอง ปัสสาวะแสบขัด ปวดท้องน้อย ในบางรายอาจมีอาการอักเสบที่ท่อปัสสาวะ ปากมดลูก ช่องทวารหนัก หรืออาจรุนแรงไปถึงเกิดฝีที่ต่อมบาร์โธลิน เชื้อโรคอาจลุกลามไปยังโพรงมดลูก ปีกมดลูก ทำให้อุ้งเชิงกรานอักเสบ ต้นเหตุของการตั้งครรภ์นอกมดลูก และเป็นหมันได้
  • อาการหนองในของทารก  ทารกแรกคลอดโดยมากจะเกิดการติดเชื้อที่ตา อาจพบอาการตาแดง ตาอักเสบ หรืออาจเกิดภาวะปอดอักเสบ

การวินิจฉัยหนองในแท้ และหนองในเทียม

การวินิจฉัยหนองในแท้

  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น : Gram stain พบ gram-negative intracellular diplococci
  • การตรวจเพื่อยืนยันผล: Culture พบ Neisseria gonorrhoeae

การวินิจฉัยหนองในเทียม

  • มีประวัติพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ร่วมกับ
  • ตรวจพบ urethral Gram stain พบ PMN มากกว่าหรือเท่ากับ≥ 5 cells/oil field หรือ
  • ตรวจพบ mucopurulent discharge ที่ cervix ในผู้หญิงโดยไม่พบ Gram negative intracellular diplococci จาก cervical Gram stain หรือ
  • Chlamydial test positive

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังการติดเชื้อหนองใน

  • สำหรับผู้หญิง เชื้อสามารถแพร่กระจายไปยังมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบที่อุ้งเชิงกรานและอาจทำให้เกิดแผลในส่วนต่างๆ ที่เชื้อเข้าถึง ทั้งยังอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากด้วย หรืออาจตั้งครรภ์นอกมดลูกที่มีอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดปัญหากับทารก โดยอาจทำให้ทารกเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคติดเชื้อที่ดวงตาจนอาจทำให้เด็กตาบอดได้หากไม่ได้รับการรักษา
  • สำหรับผู้ชาย เชื้อหนองในสามารถแพร่กระจายไปยังหลอดเก็บอสุจิ ทำให้เกิดอาการปวดและบวมบริเวณอัณฑะ การติดเชื้อนี้จะทำให้เนื้อเยื่อส่วนที่ติดเชื้อเป็นแผล ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

นอกจากนี้โรคหนองในอาจส่งผลต่ออวัยวะและส่วนต่างๆ ของร่างกายทั้งผู้ชายและผู้หญิงได้ ไม่ว่าจะเป็นหลอดลม ดวงตา หัวใจ สมอง ผิวหนัง และข้อต่อต่างๆ แต่จะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก

การรักษาหนองในแท้-เทียม

การรักษาโรคหนองในแท้-หนองในเทียม

การรักษาแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Ceftriaxone  และ Azithromycin เมื่อได้รับยาอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงใน 24 ชั่วโมง แพทย์จะให้ยารักษาประมาณ 1 สัปดาห์แล้วกลับมาตรวจซ้ำ ในช่วงที่กำลังรักษาให้งดการมีเพศสัมพันธ์เด็ดขาด เพราะสามารถแพร่เชื้อได้ และเสี่ยงต่อการอักเสบติดเชื้อ แม้แต่การใช้ถุงยางอนามัยก็ไม่ควร

หากมีสามีหรือภรรยา รวมถึงคู่นอน ควรจะแจ้งอีกฝ่ายว่าเป็นโรคแล้วรีบพามาตรวจรักษาพร้อมกัน และการรักษาต้องผ่านไปแล้ว 1 สัปดาห์มาตรวจซ้ำว่าไม่พบเชื้อจึงจะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ มิเช่นนั้น ท่านก็จะติดเชื้อซ้ำๆ ต้องรักษาไม่จบสิ้นจนกว่าจะหายขาดและไม่ได้รับเชื้ออีก

การป้องกันโรคหนองในแท้-หนองในเทียม

  • ใช้ถุงยางทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองใน หรือคู่นอนที่มีความเสี่ยง แต่หากเลือกที่จะมีเพศสัมพันธ์ก็ควรป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางด้านหน้า ทางทวารหนัก หรือการใช้ปากสำเร็จความใคร่ก็ตาม
  • ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ เพราะ จะเพิ่มความสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีอาการผิดปกติ โดยเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ปวดแสบขณะปัสสาวะ เจ็บหรือมีผื่นขึ้นที่อวัยวะเพศ
  • พูดคุยสอบถามคู่ของตนเองเกี่ยวกับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงโรคหนองในแท้ก่อนเริ่มมีความสัมพันธ์ทางเพศ
  • หลีกเลี่ยงการสวนล้างภายในร่างกาย โดยเฉพาะในเพศหญิง เพราะจะเป็นการลดจำนวนแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อช่องคลอด และเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • หนองในเทียมจะไม่ติดต่อผ่านการจูบ การกอด การใช้ช้อนส้อม การใช้สระว่ายน้ำ การใช้ห้องน้ำหรือห้องอาบน้ำร่วมกับผู้ป่วย
  • ควรหมั่นไปพบแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจร่างกาย ตรวจเลือด หรือตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ควรดื่มน้ำก่อนร่วมเพศและถ่ายปัสสาวะทันทีหลังร่วมเพศ หรือฟอกล้างสบู่ทันทีหลังร่วมเพศ อาจช่วยลดการติดเชื้อลงได้บ้าง แต่ไม่ใช่ว่าจะได้ผลทุกราย
  • หากมีอาการที่บ่งชี้ว่ากำลังเป็นโรคหนองในแท้ หนองในเทียม หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์และรีบไปพบแพทย์ เพราะหากผลตรวจออกมาพบว่าเป็นโรคหนองในเทียม และผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ก็จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังที่กล่าวมาได้ นอกจากนี้ยังต้องแจ้งให้คู่นอนที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยภายในช่วง 60 วันที่ผ่านมาได้ทราบเพื่อเข้ารับการตรวจรักษาที่เหมาะสมจนกว่าจะหายดี ก่อนที่จะเริ่มมีเพศสัมพันธ์อีกครั้ง
ตรวจตามนัดทุกครั้ง

การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคหนองในแท้-หนองในเทียม

  • ในระหว่างที่ทำการรักษาโรคหนองใน ควรงดการร่วมเพศ รวมทั้งสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ รวมทั้งพาคู่นอนไปตรวจโดยเร็วที่สุด 
  • ดูแลสุขภาพของตนเอง รักษาอวัยวะเพศและบริเวณใกล้เคียงให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
  • ในผู้ชายไม่ควรรีดอวัยวะเพศเพื่อดูหนอง เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น 
  • ไม่ควรซื้อยารักษาตนเอง 
  • ไปรับการตรวจตามนัดทุกครั้ง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ 
  • ควรงดดื่มเหล้า-เบียร์และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด

ความคุ้มค่าในการรักษาทั้ง 2 โรคพร้อมกัน

เนื่องจากโรคหนองในแท้ และหนองในเทียม มีโอกาสการเกิดโรคร่วมกันสูง จึงมักให้รักษาโรคหนองในแท้และหนองในเทียมร่วมกัน แต่ยังไม่พบการศึกษาที่เปรียบเทียบการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลระหว่างการรักษาแบบแยกโรค และการรักษาแบบร่วมกัน

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

หนองใน

อาการแบบนี้ ใช่โรคหนองในเทียมหรือเปล่า?

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • โรคหนองในแท้ VS โรคหนองในเทียม https://www.ocare.co.th/blog/โรคหนองในแท้-vs-โรคหนองใน/
  • โรคหนองในมีกี่ประเภท รักษาและป้องกันอย่างไร https://hd.co.th/neisseria-chlamydia-gonorrhoea-disease
  • จะแยกได้อย่างไรระหว่างหนองในแท้และหนองเทียม และความคุ้มค่าในการรักษาทั้ง 2 โรคพร้อมกัน https://apps.phar.ubu.ac.th/dhi/view_question.php?q=30

Filed Under: โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ Tagged With: Chlamydia trachomatis, Gonorrhoea, อาการหนองในแท้, อาการหนองในแท้เทียม, เชื้อแบคทีเรีย, โรคหนองใน, โรคหนองในเทียม

SEXUAL HEADACHE อาการปวดหัวระหว่างมีเพศสัมพันธ์

May 1, 2022 by thaihiv365 team

SEXUAL HEADACHE

อาการปวดศีรษะสามารถเกิดขึ้นก่อน และระหว่างมีกิจกรรมทางเพศได้ หรือตอนที่ถึงจุดสุดยอด หรือหลังจากมีเซ็กส์ไปแล้วหลายชั่วโมงก็ยังปวดอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยตัวเอง หรือตอน Oral Sex อาการอาจจะดูไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรที่จะปล่อยไว้ เพื่อเป็นปัญหาทำลายความสุขในชีวิตรักได้

การปวดศีรษะจากการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual Headache)  คือ

อาการปวดหัวหลังมีเซ็กส์นั้น เป็นอาการปวดหัวที่หาได้ยาก สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งระหว่างการมีเซ็กส์และหลังจากการมีเซ็กส์ แต่โดยปกติแล้วมักจะเกิดขึ้นหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากการสำเร็จความใคร่ โดยที่อาการปวดหัวนี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรค หรือความผิดปกติของร่างกายอื่นๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้ว คุณอาจจะรู้สึกว่ามีอาการปวดตุบๆที่บริเวณศีรษะและลำคอเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างที่กำลังทำกิจกรรมทางเพศ หรืออาจจะมีอาการปวดหัวจี๊ดขึ้นมาอย่างรุนแรงขณะสำเร็จความใคร่

อาการปวดมักจะมีอาการปวดหัวอย่างหนักนานไม่เกิน 1 วัน และอาการปวดเบาๆ อีกไม่เกิน 3 วัน อาการปวดนี้จะคล้ายกันอาการคล้ายกับอาการปวดหัวไมเกรน สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ และพบได้มากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

อาการSEXUAL HEADACHE

เช็คอาการผิดปกติ

หากมีอาการปวดศีรษะ ปวดตื้อๆ บริเวณศีรษะ และลำคอ มักเกิดเมื่อมีความตื่นเต้น และแรงกระตุ้นทางเพศที่สูงขึ้นในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ อาจเกิดตั้งแต่เริ่มเกิดขึ้นก่อน ระหว่างทำกิจกรรมทางเพศ หรือเสร็จการทำกิจกรรทางเพศแล้วนั้น โดยอาจปวดเพียงครู่เดียว หรือต่อเนื่องกันหลายนาที หลายชั่วโมงไปจนถึงหลายวัน 

ผู้ที่มีความเสี่ยงอาการปวดหัวตอนมีเพศสัมพันธ์

  1. อายุมากกว่า 40 ปี
  2. เพศหญิง
  3. ผู้ที่เป็นโรคปวดศีรษะไมเกรนหรือมีคนในครอบครัวเป็น
  4. ปวดมากกว่า 24 ชั่วโมง
  5. มีอาการทางระบประสาทอื่น ๆ ร่วมด้วย

ทำไมมีเซ็กส์แล้วถึงปวดหัว

สาเหตุที่แตกต่างกันในแต่ละคน แต่สาเหตุที่พบกันบ่อยๆ ก็จะมีประมาณนี้

  • การหดตัวของหลอดเลือด ก็เหมือนกับการเป็นไมเกรน ประมาณครึ่งหนึ่งของคนมี sex headache เป็นไมเกรนอยู่ก่อน เซ็กส์จึงเป็นเพียงตัวกระตุ้นให้เกิดอาการของไมเกรนเท่านั้นเอง
  • การเกร็งตัวอย่างสุดขีดของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อท้ายทอย มักจะทำให้ปวดแบบตื้อ มากกว่าแบบแปล๊บ
  • ผลจากยา โดยเฉพาะยาช่วยให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวอย่าง sildenafil (Viagra)
  • มีความดันเลือดสูงอยู่แต่ไม่รู้ตัว พอออร์กัสซั่มปุ๊ปความดันจะยิ่งพุ่งขึ้นไปอยู่แล้ว อย่างน้อยก็จะขึ้นไปถึง 240 มม. ดังนั้นถ้าใครมีความดันเลือดสูงเป็นพื้นอยู่แล้ว ก็ไม่แปลกที่อาจจะมีอาการปวดหัวได้
  • การปริแตกของหลอดเลือดที่โป่งพองอยู่แล้วในสมอง คือวัยรุ่นจำนวนหนึ่งมีจุดที่หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดแดงมาต่อกันแบบลุ่นๆแทนที่จะต่อผ่านหลอดเลือดฝอย เรียกว่ามี AVM ย่อมาจาก ateriovenous malformation เวลามันปริหรือแตกก็จะปวดหัวแบบสายฟ้าฟาด (thunderclap headache) และเวลาเกิดออร์แกสซั่มก็เป็นเวลาเหมาะที่จะปริ เพราะเป็นจังหวะที่ความดันจู๊ดขึ้นได้ที่พอดี
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ พอหัวใจขาดเลือดจากความดันขึ้น และหลอดเลือดหดตัว แทนที่จะเจ็บที่หน้าอกแบบปกติ ก็อาจจะมีบางคนที่ขึ้นไปเจ็บที่กราม ท้ายทอย หรือในหัวแทนถึงไม่ร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรเพิกเฉย

ทำไมปวดหัวตอนช่วยตัวเอง

อาการปวดศีรษะ ปวดท้ายทอย เวลาที่ช่วยตัวเอง จะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง ระยะเวลาปวดศีรษะนานประมาณ 15-20 นาที ปวดบริเวณท้ายทอย ต้นคอ หลังเบ้าตา และอาจกระจายไปทั่วทั้งศีรษะได้ เหตุเกิดจากการเพิ่มขึ้นของความดันโลหิตที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วขณะถึงจุดสุดยอด

หากมีอาการบ่อย ปวดศีรษะ ปวดต้นคอมากขึ้น ควรไปตรวจพบแพทย์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องค่ะ

ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น

อาการปวดศีรษะที่อาจเกิดขึ้นขณะทำกิจกรรมทางเพศแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. ปวดศีรษะขณะใกล้ถึงจุดสุดยอดจะมีอาการปวดตื้อ ๆ หนัก ๆ ที่บริเวณท้ายทอย อาการปวดศีรษะมักจะไม่รุนแรง แต่ถ้ามีเพศสัมพันธ์รุนแรงมากขึ้น จะทำให้อาการปวดศีรษะเป็นเพิ่มขึ้นได้
  2. ปวดศีรษะขณะถึงจุดสุดยอดมักจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงเฉียบพลัน แล้วตามด้วยอาการปวดตึบ ๆ บริเวณต้นคอ ท้ายทอย ปวดบริเวณด้านหน้า เบ้าตา แล้วกระจายไปทั่ว บางคนเป็นเพียง  1 นาที บางคนอาจมีอาการปวดศีรษะได้เป็นวัน

บางคนอาจจะมีอาการทั้งสองแบบนี้พร้อมกัน อาการปวดหัวนั้นสามารถอยู่ได้นานตั้งแต่ไม่กี่นาทีไปจนถึงหลายวัน ผู้ที่เคยมีอาการปวดหัวกว่า 75% รายงานว่ารู้สึกถึงอาการปวดที่ศีรษะทั้งสองข้าง และหากยิ่งขยับก็จะยิ่งมีอาการปวดมากยิ่งขึ้น

ควรไปพบแพทย์

จะทำอย่างไรดีถ้าเป็น Sexual Headache

1. ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจและประเมินดังนี้ 

  • ประเมินความดันเลือด
  • ประเมินยาที่กินอยู่ 
  • ประเมินหลอดเลือดหัวใจ
  • ประเมินการมีอยู่ของ AVM ในสมองด้วยการตรวจ MRI ของสมองด้วย เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

2. ถ้าพบแพทย์แล้วไม่มีอะไรที่น่ากังวล ก็เป็นเรื่องง่ายแล้ว คือ sexual headache ส่วนใหญ่หายเอง 

  • ถอยห่างจากเซ็กส์ไปตั้งหลักสักพัก
  • กลับมามีเซ็กส์ใหม่ก็หัดค่อยๆ ไปแบบช้าๆ  ไม่ใช่เร่งรีบ
  • อย่าไปเกร็งตั้งคอไว้นาน เปลี่ยนท่าให้กล้ามเนื้อคอได้ผ่อนคลายบ้าง เทคนิคนี้จะช่วยได้มากกับพวกที่มีสาเหตุจากการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
  • วันไหนที่เครียดมากทำท่าจะปวดหัวอยู่แล้ว ก็อย่ามีเซ็กส์ เก็บเซ็กส์ไว้เป็นกิจกรรมเมื่อเรารู้สึกผ่อนคลาย
  • ดูแลตัวเองให้มีสุขภาพทั่วไปดี ปัญหา sexual headache มักเป็นกับคนที่สุขภาพแย่ เช่นอ้วน ความดันสูง เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของ Sexual Headache

โดยปกติแล้วอาการปวดศีรษะจากเพศสัมพันธ์นั้นไม่เป็นอันตราย แต่หากเกิดอาการเกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น อาการคอแข็ง อาเจียน หมดสติ หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรงต่อเนื่องกันเกิน 1 วัน เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

วิธีการรักษาอาการปวดหัวตอนมีเพศสัมพันธ์

โดยปกติแล้ว อาการปวดหัวหลังมีเซ็กส์มักจะหายไปได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา บางคนอาจจะมีอาการเพียงแค่ครั้งเดียว แต่ก็มีบ้างที่อาจจะมีอาการปวดหัวอย่างเรื้อรังเป็นเวลานาน และจำเป็นต้องรับการรักษา

วิธีการรักษาอาการปวดหัวหลังมีเซ็กส์นั้น จะขึ้นอยู่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัว เนื่องจากอาการปวดหัวเนื่องจากเซ็กส์นั้น มักจะไม่เกี่ยวข้องกับโรคอื่น ๆ ดังนั้นการรับประทานยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้เอง เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือยาอินโดเมทาซิน (Indomethacin) ก็อาจจะเพียงพอที่จะรักษาอาการปวดหัวนี้ได้

ในบางกรณีแพทย์อาจจะสั่งยา เช่น ยาในกลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta-blockers)ให้รับประทานเป็นประจำ เพื่อป้องกันอาการปวดหัวหลังมีเซ็กส์เพิ่มเติมอีกด้วยแต่ในบางครั้ง อาการปวดหัวหลังมีเซ็กส์อาจจะเป็นผลมาจากสภาวะหรือโรคอื่นๆ ที่แอบแฝงอยู่ก็เป็นได้

ดังนั้นทางที่ดีจึงควรรับการตรวจจากแพทย์ เพื่อวินิจฉัยโรคและหาสาเหตุของอาการปวดหัวที่แท้จริง เพื่อที่จะได้ทำการรักษาและป้องกันอาการปวดหัวได้อย่างถูกวิธี

  • ปวดศีรษะไม่รุนแรงจากการมีเพศสัมพันธ์ และเป็นไม่บ่อย สามารถรักษาโดยการทานยาแก้การอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ก่อนมีเพศสัมพันธ์
  • ปวดศีรษะรุนแรงจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นครั้งแรก แนะนำให้ไปพบแพทย์ทันที เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตราย อาทิเช่น เส้นเลือดสมองแตก, เส้นเลือดสมองหดตัวชั่วคราว, ผนังเส้นเลือดฉีกขาด

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับถุงยางอนามัย

ความก้าวหน้าของการรักษาเอชไอวีในปัจจุบัน

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ปวดหัวหลังมีเซ็กส์ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการปวดหัวหลังมีเซ็กส์ที่คุณควรรู้ https://www.sanook.com/women/153489/
  • เรื่องน่าห่วงปวดหัวเมื่อมี SEX https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/diseases-and-treatments/sexual-headache
  • ปวดหัวตอนมี sex อาจเป็น Sexual Headache ได้นะ https://today.line.me/th/v2/article/GoK1DQ
  • ปวดหัวหลังมีเซ็กส์ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการปวดหัวหลังมีเซ็กส์ที่คุณควรรู้
    https://hellokhunmor.com/สุขภาพทางเพศ/เคล็ดลับเรื่องบนเตียง/ปวดหัวหลังมีเซ็กส์/

Filed Under: ตรวจเอชไอวี, ถุงยางอนามัย, เอชไอวี HIV Tagged With: Oral Sex, Sexual Headache, การช่วยตัวเอง, ทำไมปวดหัวตอนช่วยตัวเอง, ปวดศีรษะจากการมีเพศสัมพันธ์, อาการปวดศีรษะ

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แผลริมอ่อน | Chancroid
  • ไวรัสตับอักเสบบี สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ
  • อวัยวะเพศชาย ดูแลให้เป็น ช่วยห่างไกลโรค
  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”

Archives

  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • แผลริมอ่อน
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง
  • ไวรัสตับอักเสบบี

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in