• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

เพร็พ PrEP

Table of Contents

  • รู้จักกับยาเพร็พ PrEP!
  • การทานยาเพร็พ
  • ใช้ยาเพร็พ แล้วยังต้องใช้ถุงยางด้วยหรอ?
  • ต้องทานยาเพร็พ นานแค่ไหน?
  • ทำยังไงถ้าลืมทานยาเพร็พ?
  • การตรวจเลือดต้องทำบ่อยแค่ไหน?
  • รับยาเพร็พ (PrEP) ได้ที่ไหนบ้าง?
  • ราคายาเพร็พ ในปัจจุบัน?

รู้จักกับยาเพร็พ PrEP!

ยาเพร็พ (PrEP) มีชื่อเรียกง่าย ๆ คือ ยาต้านฉุกเฉินก่อนเสี่ยง จุดประสงค์ของยานี้ คือ การป้องกันคนที่มีสถานะเอชไอวีเป็นลบ เพื่อไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวี โดยการกินยาดักไว้ก่อน เพื่อให้ระดับยาในร่างกายถึงเกณฑ์ที่กำหนด ก่อนไปมีเพศสัมพันธ์ที่อาจเสี่ยงต่อเอชไอวี แต่สิ่งสำคัญของยานี้ คือ จะต้องทำการตรวจเลือดก่อนการจ่ายยา เพราะยานี้ถือเป็นยาควบคุมที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ตามร้านขายยาทั่วไป ทำให้ต้องมีมาตรการที่ต้องตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนการจ่ายยา ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของผู้ทานยานั่นเอง

ยาเพร็พ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ยาต้านก่อนเสี่ยง PrEP ราคายาเพร็พ ทานยาเพร็พ กินยาเพร็พ ลืมกินยาเพร็พ ตรวจเลือด เอชไอวี เอดส์

การทานยาเพร็พ

การทานยาเพร็พมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่ตามปกติแล้ว การทานยานี้ จะต้องทานก่อนมีความเสี่ยงล่วงหน้า ประมาณ 7 วัน และหลังมีความเสี่ยงอีก 7 วันก็จะช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ หากท่านใดที่สนใจรับยา ก็สามารถติดต่อที่สถานพยาบาล เพื่อปรึกษาแพทย์และวางแผนการทานยาได้เลย

ผลข้างเคียงของยาเพร็พ อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ใช้ยาบางราย แต่ส่วนมากจะเป็นอาการที่ไม่มีความรุนแรงมากนัก ที่พบทั่วไป ได้แก่ อาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หรือท้องเสียเล็กน้อย และอาการเหล่านี้จะเป็นประมาณ 1 สัปดาห์เท่านั้น แต่บางรายก็จะไม่มีอาการใด ๆ เลย ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของยาที่รับประทานด้วย เพราะบางตัวยาอาจเป็นชนิดที่แรง และทำให้มีผลข้างเคียงรุนแรงกว่า เช่น เกิดอาการอ่อนเพลีย อาเจียน หรือชาบริเวณมือและเท้าได้ เพราะฉะนั้นควรสอบถามเรื่องตัวยาเพร็พ กับแพทย์ให้ดีก่อนเริ่มทานยา

ใช้ยาเพร็พ แล้วยังต้องใช้ถุงยางด้วยหรอ?

ยาเพร็พ มีประสิทธิภาพที่สามารถป้องกันเชื้อเอชไอวีได้สูงกว่าร้อยละ 90 แต่ไม่ถึง 100% เพราะฉะนั้นการที่ทานยาอยู่ ก็ไม่ได้ยืนยันว่าจะไม่ติดเอชไอวีแน่ ๆ เพราะฉะนั้นยานี้ จึงควรทานและใช้ร่วมกับถุงยางอนามัยจะดีกว่า เพราะสามารถป้องกันได้สองชั้นอุ่นใจมากกว่า นอกจากนี้การไม่ใช้ถุงยางอนามัยยังทำให้คุณอาจเสี่ยงต่อโรคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น หนองใน ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี หูดหงอนไก่ และอื่น ๆ อีกมากมายที่ยาเพร็พป้องกันไม่ได้

ต้องทานยาเพร็พ นานแค่ไหน?

การรับยาเพร็พครั้งแรก ปกติแพทย์จะจ่ายยาให้ทานสำหรับ 1 เดือนก่อน แต่หากคุณไม่ได้วางแผนจะไปมีความเสี่ยงก็สามารถหยุดยาได้ทันที ถ้าคุณต้องการที่จะทานยาเพร็พในระยะยาว แพทย์อาจมีการนัดให้มาตรวจเลือดซ้ำ เพื่อตรวจดูค่าไตได้ เพราะในระยะยาวยาเพร็พ อาจส่งผลให้ค่าไตสูงขึ้น แต่นอกจากเรื่องค่าไต ยาตัวนี้ก็ไม่ให้ผลเสียใด ๆ ร้ายแรงต่อสุขภาพ แม้ในคนที่ทานยามากว่า 5 ปีแล้วก็ตาม

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

  • การตรวจเอชไอวี
  • การป้องกันเอชไอวี

ทำยังไงถ้าลืมทานยาเพร็พ?

สิ่งแรกที่ควรทำ คือ การไปปรึกษาแพทย์ผู้จ่ายยา แล้วอธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้แพทย์ฟัง เมื่อผ่านการประเมินเบื้องต้น แพทย์อาจตัดสินใจจ่ายยาเป๊ป PEP (ยาหลังเสี่ยง) ให้คุณ หรือไม่จ่ายยาใดๆ แต่ให้คำแนะนำ หรือให้รีบทานยาทันทีที่นึกขึ้นได้แล้วค่อยติดต่อแพทย์

การตรวจเลือดต้องทำบ่อยแค่ไหน?

ปกติการตรวจเอชไอวี หลังการทานยาเพร็พ จะทำแค่ช่วงรับยาครั้งแรก ๆ เท่านั้น และหลังจากนั้นหากทานยาระยะยาว อาจมีการนัดมาตรวจทุก 3 หรือ 6 เดือน หลังจากตรวจเลือดแล้ว คุณก็สามารถกลับไปทานยาได้ตามปกติ

ยาเพร็พ จ่ายยาเพร็พ รับยาเพร็พ ราคายาเพร็พ ซื้อยาเพร็พ ยาเพร็พซื้อที่ไหน ยาเพร็พสภากาชาด ยาเพร็พโรงพยาบาล

รับยาเพร็พ (PrEP) ได้ที่ไหนบ้าง?

ยาเพร็พสามารถติดต่อขอรับได้ที่สถานพยาบาลทั่วไป หรือตามโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ของแต่ละจังหวัด แต่ยาที่จ่ายให้ตามโรงพยาบาล อาจเป็นยาที่ผลข้างเคียงรุนแรงกว่าปกติ หากท่านใดอยากทานยาที่มีประสิทธิภาพแต่ผลข้างเคียงน้อย ก็สามารถมารับยาเพร็พได้ที่ คลินิกนิรนาม สภากาชาดไทย หรือตามคลินิกเฉพาะทางด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ เพราะหากไปที่สถานพยาบาลเฉพาะทางจะมีตัวเลือกให้คุณมากกว่า

ราคายาเพร็พ ในปัจจุบัน?

ราคายาเพร็พจะแตกต่างไปตามสถานพยาบาลแต่ละแห่ง แต่ค่าบริการอาจจะรวมหลายส่วนเช่น

  • การตรวจเลือด
  • ค่าบริการทางการแพทย์
  • ค่ายา
  • ค่าบริการอื่น ๆ

โดยค่าบริการเบื้องต้นจะเริ่มตั้งแต่ 2,000 บาท ไปจนถึง 5,000 บาท โดยประมาณ

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”
  • โรคฝีมะม่วง..ภัยร้ายใกล้ตัว
  • หนองในเทียม (Chlamydia)
  • CD4 ที่เท่าไหร่ถึงเรียกว่าระดับน่าเป็นห่วง

Archives

  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in

Go to mobile version