• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

ทำไมถึงควรตรวจเอชไอวีเป็นประจำ?

April 5, 2020 by admin

การตรวจเอชไอวีถือเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่หากคุณอยู่ในความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนก็ไม่จำเป็นต้องเข้าตรวจบ่อยมากนัก หรือตรวจแค่ปีละครั้งเพื่อความสบายใจก็ได้ เพราะคุณไม่ได้อยู่ในความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวี แต่ถ้าคุณมีการเปลี่ยนคู่นอนหลายครั้งก็ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 2-3 ครั้ง หรือทุก ๆ สามเดือนก็ได้เพื่อความสบายใจของตนเอง หรือหากมีผลเลือดเปลี่ยนไปก็จะได้เข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนจะอยู่ในระยะอันตราย หากไม่อยากกังวลเรื่องโรคเอชไอวี สิ่งที่ทำได้คือหมั่นใช้ถุงยางอนามัยให้เป็นนิสัย เพราะถุงยางอนามัยสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เกือบทุกชนิดหรืออีกทางเลือกหนึ่งก็คือการทานยาต้านเชื้อเอชไอวีก่อนเสี่ยง (PrEP) เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนมีเพศสัมพันธ์ก็ได้

ตรวจเอชไอวี his test

ปัจจุบันถ้าไม่นับโรค COVID-19 ที่แพร่ระบาดในระดับทั่วโลก หรือที่เรียกกันว่าเป็นแพนเดมิก (Pandemic) ก็มีโรคเอชไอวีนี่เองที่เป็นอีกโรคหนึ่งที่แพร่ระบาดระดับโลกเหมือนกัน ซึ่งปัจจุบันได้คร่าชีวิตคนไปกว่า 32 ล้านคนแล้วทั่วโลกนับตั้งแต่ครั้งแรกที่ค้นพบโรคนี้ในช่วงปี พ.ศ. 2463 และทุกวันนี้ก็ยังมีจำนวนคนเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี

เอชไอวีนี้เชื่อกันว่ามีจุดเริ่มต้นมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ที่ทวีปแอฟริกา ซึ่งแพร่กระจายได้เร็วมากเพราะสมัยก่อนวิทยาการทางการแพทย์ยังไม่พัฒนามากเท่าปัจจุบันทำให้ไม่สามารถตรวจพบได้ ประกอบกับธรรมชาติของโรคนี้ที่ไม่แสดงอาการใด ๆ เลยเป็นปี ๆ ทำให้โรคนี้ถือเป็นภัยที่แพร่ระบาดทั่วโลกมาร่วมหนึ่งสหัสวรรษแล้ว ซึ่งปัจจุบันโรคเอชไอวีสามารถแบ่งได้เป็นสองชนิด คือ HIV-1 และ HIV-2 แต่ที่พบได้ทั่วไปจะเป็นประเภท HIV-1 มากกว่าเพราะมีโอการติดโรคสูงกว่า HIV-2 ที่ส่วนมากพบในแถบตะวันตกของทวีปแอฟริกาเท่านั้น

ปกติแล้วคนไทยสามารถใช้สิทธิตรวจเอชไอวีฟรีได้ปีละสองครั้งที่สถานพยาบาลรัฐต่าง ๆ หากใครสนใจก็สามารถโทรสอบถามทางโรงพยาบาลได้ แต่การตรวจที่โรงพยาบาลอาจต้องใช้เวลานานเล็กน้อยตามแต่การบริหารจัดการของแต่ละแห่ง นอกจากนี้ยังมีทางเลือกอื่นก็คือคลินิกเฉพาะทางด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั่วไปที่จะสามารถทราบผลตรวจได้เร็วกว่าในโรงพยาบาลแต่อาจต้องมีค่าใช้จ่ายต่างกันเล็กน้อย

Table of Contents

  • วิธีการตรวจที่สามารถทำได้จะมีหลัก ๆ สองวิธี คือ
  • เอชไอวีติดต่อกันได้อย่างไร ?
  • ถุงยางอนามัยป้องกันเอชไอวี

วิธีการตรวจที่สามารถทำได้จะมีหลัก ๆ สองวิธี คือ

  • วิธีตรวจคัดกรองทั่วไป (Anti-HIV test) จะเป็นวิธีตรวจคัดกรองมาตรฐานที่รับรองโดยองค์การอนามัยโลกเพื่อเป็นวิธีตรวจหลักสำหรับโรคเอชไอวี โดยวิธีนี้จะสามารถตรวจได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยปรกติแล้วจะใช้เวลาตรวจแค่ 20-25 นาทีเท่านั้นแต่จะมีระยะเวลาฟักตัวก่อนตรวจได้แม่นยำอยู่ที่ 3 สัปดาห์ (สามารถตรวจได้เร็วสุด 2 สัปดาห์แต่ความแม่นยำจะลดลง) ปัจจุบันวิธีตรวจนี้มีแบบล่าสุดคือ 4th generation anti-HIV test ซึ่งในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ หรือคลินิกเฉพาะทางส่วนมากใช้เป็นมาตรฐานแล้ว แต่ก็ยังมีสถานพยาบาลบางแห่งใช้วิธี 3rd generation ที่เป็นวิธีเก่ากว่าอยู่ วิธี 3rd generation นี้จะมีความแม่นยำน้อยกว่าแบบล่าสุด และต้องใช้เวลานานกว่า 3 สัปดาห์ถึงจะตรวจได้ เพราะฉะนั้นควรสอบถามสถานพยาบาลให้ดีก่อนจะเข้ารับการตรวจ
  • วิธีตรวจ PCR สำหรับเอชไอวี ซึ่งเป็นทางเลือกอีกวิธีหนึ่งที่สามารถใช้ตรวจเอชไอวีได้และมีผลลัพธ์แม่นยำเหมือนวิธีตรวจคัดกรองทั่วไป และสามารถตรวจได้ภายใน 7 วันหลังจากมีความเสี่ยงรับเชื้อเอชไอวี แต่วิธีนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักเพราะมีวิธีการซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ามาก ประกอบกับการที่ต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าในการทำการตรวจแต่ละครั้งทำให้วิธีตรวจนี้เป็นเพียงทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการตรวจเท่านั้น

เอชไอวีติดต่อกันได้อย่างไร ?

อย่างที่ทุกคนรู้กันดีคือเอชไอวีนั้นติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่งในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น เลือด น้ำเหลือง น้ำนม น้ำอสุจิ หรือ น้ำหล่อลื่นจากอวัยวะเพศทั้งสอง ทำให้สาเหตุการติดมากที่สุดมาจากเพศสัมพันธ์ที่มีการสอดใส่ แต่สาเหตุอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นได้ก็จะเป็นการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้มีเชื้อ หรือการรับเลือดที่มีเชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยตรงซึ่งมีโอกาสเกิดน้อยกว่าการมีเพศสัมพันธ์มาก ฉะนั้นหากเพศสัมพันธ์คือสาเหตุหลัก สิ่งที่ป้องกันได้ดีที่สุดก็คือการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เพราะหากไม่มีการสัมผัสกันโดยตรงระหว่างเยื่อบุของอวัยวะเพศกับผนังเยื่อบุภายในร่างกายผู้อื่น สารคัดหลั่งก็จะไม่สามารถสัมผัสกันได้ทำให้แพร่เชื้อไม่ได้นั่นเอง

ถุงยางอนามัยป้องกันเอชไอวี

แต่ถึงคนจะใช้ถุงยางทุกครั้งก็ไม่ได้แปลว่าจะป้องกันเอชไอวีได้ร้อยละร้อยเพราะถุงยางอนามัยเป็นเหมือนการใช้สิ่งของมาเคลือบบริเวณอวัยวะเพศตอนมีเพศสัมพันธ์เท่านั้นและยังไม่สามารถคลุมบริเวณอื่น เช่น ผิวหนังตรงโคนอวัยวะเพศที่อาจเกิดบาดแผลจากสาเหตุต่าง ๆ ได้ เลยทำให้ถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันเอชไอวีได้ทั้งหมดเนื่องจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ฉะนั้นหากใครที่อยากรู้สถานะตนเองว่ามีเชื้อเอชไอวีอยู่หรือไม่ ก็ควรเข้ารับการตรวจเลือดหาเอชไอวีที่สถานพยาบาลต่าง ๆ เพราะถ้าไม่ตรวจดูก็จะไม่รู้เลยว่ามีเชื้อหรือไม่เนื่องจากโรคเอชไอวีเกือบร้อยละร้อยจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลยในช่วงแรก ๆ ที่ติดเชื้อ หากเริ่มมีก็จะอยู่ในระยะที่อันตรายแล้ว

Filed Under: เอชไอวี HIV

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”
  • โรคฝีมะม่วง..ภัยร้ายใกล้ตัว
  • หนองในเทียม (Chlamydia)
  • CD4 ที่เท่าไหร่ถึงเรียกว่าระดับน่าเป็นห่วง

Archives

  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in

Go to mobile version