ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเอชไอวี
ปัจจุบันผู้ติดเชื้อเอชไอวี HIV มีสุขภาพที่ไม่ต่างไปจากผู้ที่ไม่มีเชื้อ นั้นเป็นเพราะว่า ในปัจจุบันมีการรักษาด้วยยาต้านไวรัส และยาต้านไวรัส ก็มีประสิทธิภาพสูงมาก โดยผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาได้ตามสิทธิด้านสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ หรือสิทธิบัตรทอง โดยผู้ติดเชื้อที่เข้าถึงการรักษาได้เร็ว จะมีประสิทธิภาพการรักษาที่ดี และสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนที่ไม่มีเชื้อเอชไอวี
เพร็พ PrEP
เพร็พ (PrEP) ย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis คือยาที่ใช้ในการป้องกันเชื้อเอชไอวี (HIV) ก่อนการสัมผัสโรค PrEP ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ จึงยังจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ
เป๊ป PEP
PEP ย่อมาจาก Post-Exposure Prophylaxis เป็นยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ในกรณีฉุกเฉิน ที่ต้องรับประทานให้เร็วที่สุดหลังสัมผัสความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวี ไม่ว่าจะเป็น ถุงยางแตก ถุงยางหลุด เมาไม่ได้สติ หรือไม่ได้ถุงยางขณะเพศสัมพันธ์ โดยจะต้องเริ่มรับประทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยง และรับประทานติดต่อกันนาน 28 วัน
ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ U = U
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเกิน 6 เดือนขึ้นไป จะมีปริมาณไวรัสในเลือดต่ำกว่า 50 copies ต่อซีซีของเลือด ที่เราเรียกกันว่าตรวจไม่เจอ (undetectable) ซึ่งไม่ได้แปลว่าเชื้อหมดจากร่างกายแล้ว แต่จำนวนปริมาณไวรัส เอชไอวีในเลือดต่ำมาก จนไม่สามารถถ่ายทอดให้คู่นอนได้ ( untransmittable)



ผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี สามารถมีชีวิตยืนยาว ได้ใกล้เคียงคนปกติทั่วไป
ผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี เมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างถูกต้อง และผู้ป่วยปฏิบัติตัวดี รับประทานยาอย่างครบถ้วน ตรงเวลา และไม่ไปรับเชื้อใหม่
สาเหตุ อาการ และการรักษา โรคซิฟิลิส
ซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) ซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญมานานหลายศตวรรษ ซิฟิลิสเกิดจากแบคทีเรีย Treponema pallidum…
การตรวจ HIV ในปัจจุบัน | HIV Test
เอชไอวี (HIV : Human Immunodeficiency Virus) คือ…
PEP ป้องกัน HIV ในกรณีฉุกเฉิน
PEP ย่อมาจาก post-exposure prophylaxis หรือยาต้านฉุกเฉิน ทานหลังจากมีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อ…
ครั้งสุดท้ายที่คุณตรวจ เอชไอวี คือ ?
การรู้สถานะของเอชไอวี ของตัวคุณเอง ช่วยให้คุณสามารถวางแผนอนาคตของคุณได้