• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

ยาเป๊ป

เป๊ป (PEP) ยาต้านไวรัส..ฉุกเฉิน

September 27, 2022 by 365team

ยาเป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉิน ย่อมาจากคำว่า Post-Exposure Prophylaxis เป็นยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพ ใช้สำหรับผู้ที่ไม่มีเชื้อเอชไอวีในร่างกาย โดยแพทย์จะจ่ายยาต้านฉุกเฉิน PEP ให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเอชไอวีหรือเพิ่งสัมผัสเชื้อเอชไอวี โดยจะต้องทาน PEP ภายใน 72 ชั่วโมง หลังมีความเสี่ยง ต้องทานยาอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง 28 วัน เพื่อประสิทธิภาพในการช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัสเอชไอวีที่สมบูรณ์

ใครบ้างที่ควรได้รับยาเป๊ป (PEP)

  1. มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่อาจมีเชื้อเอชไอวีและไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย
  2. ถุงยางอนามัยหลุดหรือฉีกขาด (ถุงแตก)
  3. ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  4. ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  5. ผู้ที่มีความเสี่ยงจากการทำงาน เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ

ทานยาเป๊ป (PEP) ต้องเตรียมอะไรบ้าง

ก่อนเริ่มรับประทานยาเป๊ป (PEP) ต้องซักประวัติเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและพิจารณาว่าจำเป็นต้องรับยาเป๊ป (PEP) หรือไม่ โดยแพทย์จะสั่ง ตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี ตรวจไวรัสตับอักเสบบี การทำงานของตับและไตก่อนรับยา (หากติดเชื้อเอชไอวีอยู่ก่อนแล้วจะไม่สามารถใช้ยาเป๊ปได้) หลังรับประทานยาครบ 28 วัน ตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีซ้ำ 1 เดือนและ 3 เดือน ในช่วงนี้ควรงดบริจาคเลือด และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

ยาเป๊ป (PEP) ราคาเท่าไหร่

เป๊ป (PEP) เป็นยาที่มีราคาแพง ราคาเริ่มต้นที่ 1200- 20000 บาท แล้วแต่ชนิของยา และดุลพินิจของแพทย์ และมีหลายองค์กรใช้บริการฟรี ตามกลุ่มเสี่ยงและโครงการ

ยาเป๊ป (PEP) มีผลข้างเคียงไหม

ส่วนใหญ่ผู้ที่กินยาเป๊ป (PEP) มักจะไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายรุนแรง เนื่องจากยามีความปลอดภัยต่อร่างกายและเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก ซึ่งในกรณีของผู้ที่มีภาวะข้างเคียงจะมีอาการดีขึ้นหลังกินยาผ่านประมาณ 1 สัปดาห์ โดยจะแสดงอาการที่เห็นได้ชัด เช่น 

  • คลื่นไส้ 
  • วิงเวียนศีรษะ 
  • อ่อนเพลีย
  • ท้องเสีย

ข้อแตกต่างระหว่าง PEP และ PrEP

PEP (Post-Exposure Prophylaxis)

  • ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี “หลัง” จากที่มีความเสี่ยงมาแล้ว
  • กินในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีเพศสัมพันธ์แล้วถุงยางอนามัยแตก
  • กินให้เร็วที่สุด หรือภายในไม่เกิน 72 ชั่วโมง
  • ประสิทธิภาพการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอยู่ที่ประมาณร้อยละ 70-80
  • กินให้ครบ 28 วัน หากกินไม่ครบประสิทธิภาพการป้องกันจะลดลง
  • มีสูตรยาหลายสูตรขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis)

  • ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี “ก่อน” ที่จะมีความเสี่ยง
  • กินในกรณีที่รู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยง เช่น ไม่ใส่ถุงยางอนามัย มีคู่นอนหลายคน
  • กินทุกวัน วันละ 1 เม็ด หรือเลือกทานแบบ PrEP- On Demand 2-1-1
  • ประสิทธิภาพการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอยู่ที่ประมาณร้อยละ 90 หากกินยาอย่างสม่ำเสมอ
  • แพทย์จะนัดทุก 3 เดือน เพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี และเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา
  • ถ้าไม่มีความเสี่ยงแล้ว สามารถหยุดได้หลังมีความเสี่ยงครั้งสุดท้าย 4 สัปดาห์

ขอบคุณข้อมูล : bumrungrad, Lovefoundation

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • ทำความรู้จักกับ โรคฝีดาษลิง
  • ผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี

Filed Under: PEP Tagged With: PEP, ยาต้านฉุกเฉิน, ยาเป๊ป, เป๊ป

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แผลริมอ่อน | Chancroid
  • ไวรัสตับอักเสบบี สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ
  • อวัยวะเพศชาย ดูแลให้เป็น ช่วยห่างไกลโรค
  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”

Archives

  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • แผลริมอ่อน
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง
  • ไวรัสตับอักเสบบี

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in