• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

ตรวจเอชไอวี

ตรวจหาเชื้อเอชไอวีไม่เจอ ควรตรวจซ้ำอีกรอบหรือไม่?

October 19, 2022 by thaihiv365 team

ตรวจหาเชื้อเอชไอวีไม่เจอ

การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี  ถ้าผลตรวจออกมาเป็นลบ หรือไม่เจอเชื้อ ก็เป็นการได้เริ่มต้นป้องกันตัวเองอย่างจริงจัง หรือถ้าตรวจเจอเชื้อ ก็ถือว่าเป็นการรู้ตัวก่อนที่จะป่วยขึ้นมา เพื่อได้เข้าสู่กระบวนการรักษาแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่ป่วยหรือ เสียชีวิตจากโรคเอดส์ อีกทั้งสามารถป้องกันคนที่เรารักและคนอื่นๆ ไม่ให้ติดเชื้อจากเราได้

การตรวจหาเชื้อเอชไอวี สามารถแบ่ง 2 ลักษณะ คือ ตรวจคัดกรอง และตรวจยืนยัน

1. การตรวจคัดกรอง คือ การตรวจเพื่อกรองบุคคลผู้มีความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อเอชไอวี ว่ามีโอกาสได้รับเชื้อหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจโดย Rapid Test เป็นชุดตรวจที่ตรวจง่าย รู้ผลรวดเร็วภายในไม่กี่นาที ซึ่งมีความแม่นยำสูง 

หากผลตรวจพบว่า มีโอกาสพบเชื้อเอชไอวี ผู้ตรวจควรดำเนินการตรวจยืนยันที่โรงพยาบาล หรือคลินิกได้ทันที การตรวจแบบคัดกรองนี้ไม่สามารถยืนยัน หรือสรุปได้ว่าคุณเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี

2. การตรวจยืนยัน คือ การตรวจยืนยัน อีกครั้งหลังจาก คุณทำการตรวจคัดกรองมาแล้ว และพบว่ามีโอกาส ได้รับการติดเชื้อเอชไอวี 

ทำไมถึงต้องตรวจคัดกรองก่อน เพราะปัจจุบัน การตรวจยืนยัน ยังอาจใช้เวลานาน กว่าจะทราบผล และมีผู้ป่วยมารับบริการจำนวนมาก ดังนั้นหากมีการตรวจคัดกรองมาก่อน ก็จะสามารถช่วยคัดกรองผู้ป่วย ที่มีโอกาสพบเชื้อ กับผู้ที่ไม่มีโอกาสพบเชื้อ ให้สามารถเข้าสู่ระบบการตรวจรักษาได้เร็วขึ้น และลดภาระงาน ในการตรวจของเจ้าหน้าที่ได้มากขึ้น

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ เกิดขึ้นได้จากอะไรบ้าง

การจะแพร่เชื้อได้นั้น จะต้องมีปริมาณของเชื้อไวรัสมากพอสมควร โดยเกณฑ์ที่ใช้เทียบเคียง คือ ต้องมีปริมาณไวรัสในเลือดตั้งแต่ 200 – 1,000 copies/ซีซีของเลือด จึงจะสามารถแพร่เชื้อได้ และชุดตรวจเอชไอวีในปัจจุบัน สามารถตรวจได้ต่ำสุดตั้งแต่ 20-50 copies/ซีซีของเลือด

การตรวจเอชไอวีไม่เจอนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ จาก 2 กรณี ได้แก่

  • กรณีที่ 1 คือ ระยะเวลาในการตรวจนั้น เร็วเกินไป ผู้ที่ได้รับความเสี่ยงมา บางคนอาจจะใจร้อน รีบตรวจเกินไปร่างกายยังไม่มีการสร้างแอนติบอดีขึ้นมา ทำให้หากตรวจในระยะเวลาที่เร็วเกินไปอาจจะตรวจไม่เจอเอดส์ นั่นเอง 

    ปัจจุบันวิธีการตรวจจะพัฒนาขึ้นมาก และสามารถตรวจได้เร็วสุดภายในหนึ่งสัปดาห์ ด้วยวิธีการตรวจแบบ NAT แต่หากตรวจด้วยวิธีอื่น ระยะเวลาที่ดีที่สุดที่สมควรตรวจ คือ 30 วัน และควรตรวจซ้ำอีกทุก 30 วัน เป็นเวลา 3 เดือน หรือตรวจอีกครั้งหลัง 3 เดือน ก็สามารถทำได้ แต่หากตรวจพบว่ามีโอกาสพบเชื้อตั้งแต่ครั้งแรก ให้รีบตรวจยืนยันที่โรงพยาบาล หรือคลินิก ทันที หากไม่พบเชื้อถึงจะสามารถปิดเคสได้

  • กรณีที่ 2 คือ เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีอยู่แล้ว โดยรับประทานยาต้านไวรัสสอย่างต่อเนื่อง ในทุกๆ วัน ติดต่อกันนานกว่า 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งบุคคลเหล่านี้มีความเป็นไปได้ที่จะมีปริมาณไวรัสเอชไอวีอยู่ในเลือดต่ำกว่า 50 copies ต่อซีซีของเลือด ชุดทดสอบจึงตรวจไม่เจอ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า เชื้อหมดจากร่างกายแล้ว เพียงแต่ทานยาต้านไวรัสต่อเนื่อง แต่หากหยุดทานยา เชื้อก็จะเพิ่มขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์
ตรวจอีกครั้งหลัง 3 เดือน

ตรวจหาเชื้อ HIV มีโอกาสได้ผลผิดพลาดไหม?

มีโอกาสผิดพลาด คือ ได้รับผลการทดสอบเอชไอวีผิดพลาด จากการทดสอบที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ผิดพลาดตามไปด้วย เพราะการทดสอบมีระยะเวลา 3-6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ใครๆ ก็สามารถติดเชื้อเอชไอวีได้ แต่ไวรัสจะไม่ปรากฏในการทดสอบแอนติบอดี ซึ่งหมายความว่าอาจมีคนติดเชื้อเอชไอวีในช่วงเวลาดังกล่าว แต่จะไม่ปรากฏในการทดสอบแอนติบอดีจนกว่าจะผ่านไปนาน 6 เดือน

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ เท่ากับไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อแล้วหรือเปล่า?

  • ระยะเวลาในการตรวจนั้น เร็วเกินไป หลังไปเสี่ยงสัมผัสเชื้อมา  แนะนำให้ตรวจอีกรอบ เพื่อความมั่นใจ ในระยะที่น่าเชื่อถือ หรือระยะการตรวจเชื้อ หากไม่พบเชื้อถึงจะสรุปได้ว่าไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อ
  • การกินยาต้านไวรัสที่ทานมาอย่างยาวนาน ออกฤทธิ์ไปกดเชื้อไว้ ไม่ให้เพิ่มจำนวนขึ้น ไม่ให้เชื้อทำอันตรายต่อร่างกายไปมากกว่านี้ ซึ่งการตรวจอาจจะไม่เจอเชื้อไวรัส แต่เชื้อไวรัสเอชไอวียังคงอยู่ในร่างกายไม่หายขาด สรุปก็คือเป็นผู้ติดเชื้ออยู่นั่นเอง

U = U ตรวจไม่เจอเชื้อเอชไอวี = ไม่แพร่เชื้อ จริงหรือไม่

U=U หรือ Undetectable = Untransmittable คือ ไม่เจอ = ไม่แพร่ ดังนั้นหากทำการตรวจไม่เจอเชื้อเอชไอวี ก็จะไม่สามารถถ่ายทอด หรือแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้

หากตรวจเลือดแล้ว ไม่เจอว่ามีการติดเชื้อ และไม่ทำตัวเองให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อขึ้นอีกได้ การตรวจไม่เจอว่าติดเชื้อ ก็คือไม่แพร่เชื้อเช่นกัน แต่ถ้าหากมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ เช่น การไม่สวมถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์ หรือการใช้ PrEP หลังจากเสี่ยงสัมผัสเชื้อ ก็ทำให้เป็นผู้ที่ไม่ติดเชื้อมีโอกาสติดเชื้อได้อยู่

บทความอื่นๆเพิ่มเติม

ควรตรวจ HIV เมื่อไร?

เอชไอวี(HIV) ป้องกันง่ายกว่ารักษา

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ตรวจเอดส์ ไม่เจอ เกิดอะไรขึ้นกันแน่ ? http://www.thaihivhometest.com/ตรวจเอดส์-ไม่เจอ/
  • ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ (Undetectable = Untransmissable, U = U) http://www.thaiaidssociety.org/index.php?option=com_content&view=article&id=179&Itemid=90

Filed Under: ตรวจเอชไอวี, เอชไอวี HIV Tagged With: HIV, การตรวจหาเชื้อเอชไอวี, ตรวจเอชไอวี, ตรวจเอชไอวีไม่เจอ, เอชไอวี, เอดส์, โรคเอดส์

ควรตรวจ HIV เมื่อไร ?

October 3, 2022 by 365team

ปัจจุบันยังมีความเข้าใจผิดอยู่มาก เกี่ยวกับการตรวจ HIV และการติดเชื้อ HIV หลายคนเข้าใจว่าหากดูแลร่างกายให้แข็งแรงแล้ว ก็ไม่สามารถติดเชื้อได้อย่างแน่นอน หรือหลายคนคิดเพียงแค่ว่าตัวเองมีความเสี่ยงเพียงครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดก็ได้ เพราะไม่ติดเอชไอวีแน่นอน อาจเพราะมั่นใจในคู่นอนของตัวเองมาก แต่เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าใครมีความเสี่ยงมากน้อย ไม่สามารถดูได้จากภายนอกว่าใครมีเชื้อ ฉะนั้น การตรวจคัดกรองเพื่อหาเชื้อไวรัสเอชไอวี จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำ

เอชไอวีคืออะไร ?

เอชไอวี (HIV) ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus ไวรัสชนิดนี้ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงเรื่อยๆและทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ในที่สุดทำให้ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีจะไม่สามารถต้านการติดเชื้อต่างๆได้ เราเรียกภาวะนี้เรียกว่า ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ปัจจุบันยังไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสออกจากร่างกายได้แต่สามารถควบคุมเชื้อไวรัสได้ โดยการรับการรักษาเพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสและผู้ที่ได้รับการรักษาสามารถมีชีวิตอยู่ได้เหมือนคนปกติทั่วไป

ทำไมต้องตรวจ HIV ?

ถึงแม้ว่า ปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีกำจัดเชื้อไวรัสเอชไอวีให้หายขาดไปจากร่างกายได้ แต่การที่ติดเชื้อนั้นไม่ได้หมายความว่า คุณจะเข้าสู่ภาวะโรคเอดส์ และเสียชีวิตทันที เพราะเมื่อคุณได้รับตรวจที่รวดเร็ว คุณก็จะเข้าสู่กระบวนการ การรักษาที่รวดเร็วตามไปด้วย การทานยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างมีวินัย จะทำให้สุขภาพของคุณแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย และไม่ต้องเสี่ยงกับโรคฉวยโอกาสที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ข้อดีของการตรวจเอชไอวี

  1. หากพบเชื้อ สามารถรักษาได้ทันที ไม่ต้องรอให้มีอาการหรือเจ็บป่วย
  2. ได้ความรู้เกี่ยวกับไวรัสเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง
  3. หากไม่พบเชื้อ สามารถป้องกันตนเองไม่ให้มีความเสี่ยงได้ตลอดไป
  4. การตรวจเอชไอวีช่วยในการวางแผนครอบครัว

ตรวจ HIV ต้องรอกี่วัน ?

การตรวจ HIV จะขึ้นอยู่กับช่วงระยะฟักตัว หรือ Window Period เป็นช่วงที่หากร่างกายได้รับเชื้อมาแล้วจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันออกมาเพื่อต่อสู้กับไวรัส ซึ่งหากระยะเวลาน้อยเกินไปเราก็ไม่อาจตรวจเจอเชื้อ HIV ได้นั่นเอง โดยปกติมักจะใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือนถึงจะตรวจเจอระดับของภูมิคุ้มกันนี้ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล ซึ่งหากคุณตรวจเลือดในช่วงก่อนหน้านี้อาจไม่พบเชื้อเอชไอวี ทั้ง ๆ ที่ความจริงอาจมีเชื้ออยู่ก็ได้

ตรวจ HIV มีกี่แบบ ?

รูปแบบการตรวจระยะเวลาที่สามารถตรวจได้ (Window Period)
NAT7 วัน
Anti-HIV 4th Generation14 วัน
Anti-HIV 3th Generation30 วัน

ใครบ้างที่ควรตรวจ HIV ?

  • ผู้ที่ไม่สวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่คู่นอนประจำหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ถุงยางอนามัยแตก ฉีกขาด หรือหลุด ขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • อุบัติเหตุของบุคลากรทางการแพทย์ เช่น เข็มทิ่มตำ มีดบาด จากอุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • คู่สามีภรรยาที่ต้องการวางแผนมีลูก

“เอชไอวี ติดแล้ว ไม่ทำให้เสียชีวิต รักษาได้ และไม่ป่วยเป็นโรคเอดส์”

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • ทำความรู้จักกับ โรคฝีดาษลิง
  • ผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี

Filed Under: ตรวจเอชไอวี Tagged With: HIV, ตรวจ HIV, ตรวจเอชไอวี, เอชไอวี

ระยะฟักตัวของเชื้อเอชไอวี (Window period) 

June 19, 2022 by thaihiv365 team

ระยะฟักตัวของเชื้อเอชไอวี

หลักการตรวจ HIV คือ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ HIV ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น เพื่อต่อสู้กับการเชื้อไวรัส HIV ดังนั้นการตรวจ HIV จะใช้หลักการตรวจหาภูมิคุ้มกันนี้ในเลือด ปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณนึงหลังการติดเชื้อ HIV จึงจะตรวจพบระดับภูมิคุ้มกันนี้ได้  โดยถ้าตรวจก่อนอาจจะตรวจไม่พบ ทำให้ผลเป็นลบ ทั้งที่มีการติดเชื้อแล้ว แต่เชื้ออยู่ในระยะฟักตัว ทำให้ผลตรวจมีการคลาดเคลื่อนได้

Window period คืออะไร

ระยะฟักตัว (Window period)  คือ ช่วงเวลาที่อาจได้รับการติดเชื้อ HIV แล้ว แต่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยังไม่ขึ้นถึงระดับที่จะสามารถตรวจพบเชื้อได้ หรือยังตรวจไม่พบ ดังนั้นหากเข้ารับการตรวจ HIV ในช่วงระยะฟักตัว จะได้ผลเป็นลบ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว คุณอาจติดเชื้อ HIV แล้วก็ได้  ทำให้ ผลที่ออกมานี้จะทำให้เข้าใจผิดคิดว่า ตนเองไม่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งระยะที่ภูมิคุ้มกันของเราจะมีปฏิกิริยาต่อเชื้อเอชไอวีประมาณ 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป เราจึงจำเป็นต้องรอระยะเวลาก่อน  และในทางปฏิบัติหากมีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ก็ควรต้องมาตรวจซ้ำอีกครั้งหลัง 3 เดือนจากการตรวจครั้งแรก  ทั้งนี้ระยะ ฟักตัวของการตรวจแต่ละวิธีการตรวจเชื้อเอชไอวีก็ไม่เท่ากัน มีความแตกต่างกันออกไปด้วย 

ตรวจเอชไอวี มีกี่แบบ และรอระยะฟักตัวกี่วัน

การตรวจเอชไอวีในปัจจุบัน มีอยู่หลายวิธี โดยแบ่งออกเป็นวิธีต่าง ๆ ดังนี้

วิธีตรวจเอชไอวีระยะฟักตัว (วัน)รู้ผล
NAT5-75-7 วัน
HIV Gen 4th141-2 ชม.
Anti-HIV301-2 ชม.
  • การตรวจเอชไอวี แบบหาสารพันธุกรรมของเชื้อ (NAT)  ระยะฟักตัวตั้งแต่ 5-7 วันขึ้นไป วิธีนี้ถือเป็นการตรวจเอชไอวีที่รวดเร็ว และมีความแม่นยำสูง สามารถรู้ผลได้ 5-7 วันหลังจากทำการตรวจ ซึ่งการตรวจแบบนี้ แพทย์จะแนะนำให้กลับมาตรวจซ้ำอีกครั้งหลังจากนี้ 1-3 เดือน เพื่อยืนยันผล
  • การตรวจเอชไอวีแบบ HIV Ag/Ab (Gen 4th) ระยะฟักตัวตั้งแต่ 14 วันขึ้นไป วิธีนี้เป็นการตรวจเอชไอวีด้วยการใช้น้ำยา Gen 4th ซึ่งเป็นการพัฒนาของการตรวจเอชไอวีแบบหาภูมิต้านทาน (Antibody) และการตรวจเอชไอวีแบบหาโปรตีนจำเพาะของเชื้อ (Antigen) รวมอยู่ในน้ํายาเดียวกัน สามารถรู้ผลได้ภายใน 1-2 ชั่วโมง หลังจากทำการตรวจ
  • การตรวจเอชไอวีแบบหาภูมิต้านทาน (Anti-HIV) ระยะฟักตัวตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป และมักจะเป็นวิธีที่ใช้ตรวจซ้ำอีกครั้ง หลังจากเคยตรวจทั้งสองแบบแรกมาแล้ว สามารถรู้ผลได้ภายในวันเดียวเช่นกันกับการตรวจแบบน้ำยา Gen 4th

Window Period กี่วัน ถึงจะเชื่อถือได้

ช่วงระยะฟักตัว (Window period) จะใช้ระยะเวลา ประมาณ 1-3 เดือน เพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง โดยตรวจครั้งสุดท้ายที่หลัง 3 เดือน ก็เพียงพอที่จะมั่นใจได้แล้ว เพราะการตรวจเลือดหลังเสี่ยง 3 เดือน HIV ในระยะฟักตัวนี้ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้วจะสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้

ด้วยวิธีการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในปัจจุบัน สามารถลดระยะเวลาของ window period ให้สั้นลง จนสามารถทำการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี ได้เร็วที่สุดประมาณ 2 สัปดาห์ หลังการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม การตรวจเลือด เพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวีนั้น ถ้าจะให้ผลตรวจที่ชัดเจน และเชื่อถือได้นั้น ต้องเป็นการตรวจห่างจากความเสี่ยง จากครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 1 เดือน และตรวจติดตามอีกครั้งหลัง 3 เดือน เพราะเป็นการตรวจเลือด หาเชื้อในช่วงเวลา ที่จะสามารถให้ผลตรวจ ที่มีความแม่นยำมาก

ตรวจเอชไอวีเพียง 2 ครั้ง

แนะนำการตรวจเอชไอวีฉบับสายคิดมาก สายเซฟสุด

สำหรับผู้ที่ผลเลือดเป็นลบ (negative หรือ Non-Reactive)

• ตรวจครั้งแรก: พิจารณา ระยะเวลาเสี่ยงที่ได้รับ หากกังวลใจมาก แนะนำตรวจ NAT ซึ่งมีความแม่นยำมาก ตรวจได้ที่ โรงพยาบาลขนาดใหญ่ ราคาค่อนข้างสูง  แนะนำว่ารอให้เกิน 21 วัน หรือ 1 เดือน จะเหมาะสม เพราะหากคุณตรวจแบบ p24 antigen testing และ Antibody ในชุดตรวจเดียวกันเลย ก็จำเป็นจะต้อง ตรวจอีกครั้ง เพื่อติดตามผลแอนติบอดี ที่ระยะเวลา 21 วัน หรือ 1 เดือน อีกทั้งการตรวจที่ 21 วัน หรือ 1 เดือน จะแม่นยำมากขึ้น เนื่องจากปริมาณ Antigen มีมากขึ้น และร่างกายสร้างแอนติบอดีแล้ว ผลที่ได้ก็จะมีความแม่นยำมาก

• ตรวจซ้ำเพื่อเช็ค: สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ

– หากตรวจครั้งแรกแบบ NAT หรือ แบบ p24 antigen testing และ Antibody ในชุดตรวจเดียวกัน แนะนำให้ตรวจอีกครั้งที่เกิน 21 วัน หรือ 1 เดือน และอาจจะต้องตรวจอีกครั้ง ในช่วงระยะเวลา 3 เดือน

– หากตรวจครั้งแรกแบบ ตรวจหาภูมิคุ้มกันที่มีต่อเชื้อไวรัส (Antibody) แนะนำให้ตรวจอีกครั้ง หลังจากเสี่ยงเกิน 1 เดือน ไปแล้ว โดยอาจะตรวจ เมื่อไหร่ก็ได้ในช่วงระยะเวลา 3 เดือน

• ตรวจซ้ำเพื่อความสบายใจ: ตรวจเลือดหลังเสี่ยง 3 เดือน ในตอนนี้ก็สามารถสบายใจได้แล้ว เนื่องจากการตรวจครั้งนี้สามารถมั่นใจได้เกือบ 100% เพราะหากติดเชื้อเอชไอวีจริงในระยะเท่านี้จะต้องตรวจพบแอนติบอดี

โดยปกติทั่วไป ผู้ที่ได้รับความเสี่ยง บางรายอาจจะเลือก ตรวจเพียง 2 ครั้ง คือ ที่ 30 วัน และตรวจเช็คอีกครั้งที่ 3 เดือนหลังเสี่ยง เพียงเท่านี้ก็สามารถสบายใจได้ และเป็นการประหยัดเงินอีกด้วย

ตรวจเลือดหลังเสี่ยง 3 เดือน มั่นใจได้หรือยัง?

การตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวีนั้น ถ้าจะให้ผลตรวจที่ชัดเจน และเชื่อถือได้นั้น ต้องเป็นการตรวจ ห่างจากความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 1 เดือน  ผลตรวจมีความน่าเชื่อถือได้จะอยู่ที่ประมาณ 95%  และตรวจซ้ำอีกครั้งที่ 3 เดือน หลังจากที่ได้รับความเสี่ยงในครั้งสุดท้ายได้  เพราะเป็นการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในช่วงเวลานี้จะสามารถให้ผลตรวจ ที่มีความแม่นยำมากถึง 99.9% ทั้งนี้ หลังจากตรวจเช็คที่ 3 เดือนหลังเสี่ยงแล้ว ยังพบว่ามีหลายๆ ท่าน ที่ยังคงตรวจเช็คโรคนี้อยู่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ เพราะเป็นการช่วยให้ตนเองทราบผล และเป็นความสบายใจส่วนบุคคลมากขึ้น แต่โดยทั่วไป หากตรวจหลังเสี่ยง 3 เดือน แล้วไม่พบเชื้อ คุณหมอจะให้ปิดเคสได้แล้ว

หากผลตรวจ ออกมาเป็นบวก หรือลบ อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ให้ทำการตรวจซ้ำ อีกครั้ง หลังจากที่ตรวจครั้งแรก เพื่อยืนยัน ผลการตรวจที่แน่ชัด

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

U=U คืออะไร

ข้อดีของการตรวจ HIV ที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่สนใจ

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ตรวจเอชไอวีเมื่อไหร่ดีล่ะ? https://ตรวจเอชไอวี.com/ตรวจเอชไอวีเมื่อไหร่/
  • ตรวจเลือดหลังเสี่ยง 3 เดือน มั่นใจได้หรือยัง? http://www.thaihivhometest.com/ตรวจเลือดหลัง3เดือน/

Filed Under: ตรวจเอชไอวี, เอชไอวี HIV Tagged With: Window period, ตรวจเลือดเอชไอวี, ตรวจเอชไอวี, ระยะฟักตัว

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง สามารถทำได้จริงไหม?

September 28, 2021 by 365team

ข้อสงสัยนี้มักเกิดขึ้นกับใครหลาย ๆ คน ที่ยังคงไม่มั่นใจในชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง เนื่องด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่ยังคงเป็นไปในทางลบแม้ว่าจะเริ่มเปิดกว้างต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่หลายคนคุ้นเคยดีในชื่อ “เอดส์ (AIDS)” ซึ่งเกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสเอชไอวี HIV : Human Immunodeficiency Virus และภาวะแทรกซ้อนมากมายที่เกิดขึ้นได้ในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี จากความเข้าใจเมื่อครั้งอดีตที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่ได้ไม่นานก็เสียชีวิต จนกลายเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อมุมมองประเด็นต่าง ๆ จากสังคมในแง่ลบ การหาแนวทางเพื่อการตรวจ การวินิจฉัย ตลอดจนการเข้ารับการรักษาจึงเป็นไปได้ค่อนข้างยาก 

ปัจจุบันนับว่าแง่มุมต่อผู้ป่วยเอชไอวีเริ่มลดลงจากในอดีตมากพอสมควร ด้วยสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากการรณรงค์ การให้ความรู้ความเข้าใจที่มากขึ้น อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากมายในการลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การเปิดใจต่อการป้องกันความเสี่ยงมีมากยิ่งขึ้นตามลำดับด้วยเช่นกัน สิ่งหนึ่งที่จำเป็นอย่างมากต่อการสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน คือการทำความเข้าใจสาเหตุของโรคไปจนถึงการรักษาที่ถูกต้องตามหลักการทางการแพทย์ แน่นอนว่าหากเข้าใจพื้นฐานต่าง ๆ เหล่านี้มากเท่าไหร่ จะทำให้มุมมองต่อการมองชุดตรวจเอชไอวีเปลี่ยนไปในทางที่ดีด้วย

จากที่กล่าวมาข้างต้นเชื่อว่าหลายคนคงพอทราบแล้วว่า “การตรวจเอชไอวี” มีความสำคัญต่อการป้องกันรวมไปถึงสิ่งสำคัญที่สุดคือการรู้ทันโรคอย่างทันท่วงที เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรับมือกับสถานะเลือดได้เหมาะสม เป็นที่มาของการคิดค้นและพัฒนาแนวทางการตรวจที่เข้าถึงได้ง่าย โดยใช้การตรวจเบื้องต้นด้วยตนเองง่าย ๆ หรือที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศว่า ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง (HIV Self-Test)  ซึ่งในบทความนี้ได้รวบรวมข้อเท็จจริงจากหลากหลายแหล่งให้ได้ทำความเข้าเกี่ยวกับชุดตรวจเอชไอวีกันมากขึ้น

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองเกิดขึ้นได้อย่างไร?

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับผลการทดสอบและประสิทธิภาพของ ชุดตรวจเอชไอวี เป็นครั้งแรกในโลก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา พร้อมกับการกำหนดแนวทางการปฏิบัติในการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวี นับว่าเป็นการอัปเดตให้ผู้คนทั่วโลกได้ทำความเข้าใจในพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งมีผลต่อการเข้าถึงการตรวจเอชไอวีได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น โดยจากการวิจัยเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วพบว่าชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองที่ดีจะต้องประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่ใช้งานง่าย การออกแบบให้ทิ้งได้อย่างปลอดภัยต่อคนรอบข้างตลอดจนผู้ตรวจ พร้อมกันนั้นชุดตรวจเอชไอวีที่มีคุณภาพ จะต้องได้รับการรับรองจากองค์กรด้านอนามัยและสาธารณสุขของประเทศนั้น ๆ ด้วย จุดประสงค์ในการค้นคว้าชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองคือการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการตรวจคัดกรองเอชไอวีเบื้องต้นได้ง่ายยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญไม่แพ้กันคือการลดอัตราผู้ติดเชื้อเอชไอวีรวมไปถึงทราบผลได้อย่างทันท่วงที เพื่อเข้ารับการรักษาได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากเอชไอวีได้อย่างดี

ความน่าเชื่อถือของชุดตรวจเอชไอวีในปัจจุบัน 

อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเกี่ยวกับประเด็นที่ส่งผลให้ ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ภายในประเทศไทยยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากยังขาดความรู้ความเข้าใจทั้งในเรื่องของข้อเท็จจริงของเชื้อไวรัสเอชไอวี แนวทางการรักษาที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และความรู้ในการตรวจเบื้องต้น เป็นต้น ทั้งนี้ในด้านของทัศนคติต่อการติดเชื้อเอชไอวียังคงมีแง่ลบในสังคมอยู่พอสมควร ถึงแม้ว่าหลากหลายหน่วยงานได้รณรงค์ให้ความรู้อย่างต่อเนื่องก็ตาม หลายปัจจัยส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมให้มุมมองต่อการตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ยังคงมองว่าไม่มีความน่าเชื่อถือ แต่ข้อเท็จจริงในปัจจุบันมาตรฐานของการผลิตและการใช้งานของชุดตรวจถือว่ามีความแม่นยำมากกว่า 99% เมื่อเทียบกับการตรวจภายในสถานพยาบาล ด้วยการออกแบบให้ขั้นตอนการตรวจมีความสะดวก ทำได้เองง่าย ๆ โดยไม่ต้องอาศัยผู้อื่นช่วยแม้แต่นิดเดียว แนะนำให้ตรวจสอบสัญลักษณ์การรับรองมาตรฐานต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อดังต่อไปนี้

  • กระทรวงสาธารณสุข
  • คณะกรรมการอาหารและยา
  • มาตรฐานสากล WHO Pre-Qualified จากองค์กรอนามัยโลก
  • ตัวแทนจำหน่ายได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง
  • ช่องทางการจำหน่ายมีความเชื่อถือ
  • ระบุแหล่งที่ผลิตและรายละเอียดต่าง ๆ ของตัวแทนจำหน่ายอย่างชัดเจน

ข้อสรุปของชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองทำได้จริงไหม?

การเลือกใช้ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองนับว่าเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ลดอัตราผู้ติดเชื้อได้ รวมไปถึงสามารถคัดกรองการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วในผู้ที่ไม่สะดวกเข้ารับการตรวจในสถานพยาบาล ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ก็ตาม ผู้ตรวจจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมาภายในชุดตรวจอย่างละเอียด และไม่ละเลยขั้นตอน ข้อแนะนำ หรือข้อห้าม ที่ได้ระบุไว้เด็ดขาด เพื่อให้ผลการตรวจเอชไอวีที่ได้รับมีความแม่นยำมากที่สุดนั่นเอง 

สิ่งที่สำคัญมากไปกว่านั้นแน่นอนว่าเป็นระยะที่เหมาะสมต่อการใช้งานชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ซึ่งเป็นข้อควรปฏิบัติเช่นเดียวกับการตรวจในสถานพยาบาล ดังนั้นผู้ตรวจต้องตระหนักเสมอว่าการตรวจด้วยชุดตรวจเป็นเพียงการคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น หากได้ผลลัพธ์ว่าตนไม่มีเชื้อเอชไอวีควรดูแลตัวเองและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากได้ผลลัพธ์ว่าตนมีเชื้อเอชไอวีควรทำความเข้าใจพื้นฐานของโรครวมทั้งหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไปสู่คู่นอนด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ควรตรวจซ้ำอีกครั้งหลังจาก 3 เดือนให้มั่นใจมากยิ่งขึ้น

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • ทำไมถึงควรตรวจเอชไอวีเป็นประจำ?
  • ความก้าวหน้าของการรักษาเอชไอวีในปัจจุบัน

Filed Under: ตรวจเอชไอวี Tagged With: ชุดตรวจเอชไอวี, ตรวจเลือด, ตรวจเอชไอวี, เอชไอวี, เอดส์

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”
  • โรคฝีมะม่วง..ภัยร้ายใกล้ตัว
  • หนองในเทียม (Chlamydia)
  • CD4 ที่เท่าไหร่ถึงเรียกว่าระดับน่าเป็นห่วง

Archives

  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in