• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

โรคหูดข้าวสุก

หูดข้าวสุก ถือเป็นการติดเชื้อไวรัสบริเวณผิวหนัง และเกิดขึ้นได้บนผิวหนังทุกส่วนในร่างกาย ทำให้บางครั้งสามารถติดต่อระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ได้ และเนื่องจากโรคนี้เกิดขึ้นได้ทุกส่วนบนร่างกาย ทำให้ถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันโรคนี้ได้ โดยส่วนมากแล้ว หูดข้าวสุก จะพบได้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กอายุยังน้อย ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายยังไม่สมบูรณ์ รวมถึงเด็กจะมีการเล่นกีฬาที่ต้องสัมผัสตัวผู้อื่นหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่นบ่อย ๆ ทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคนี้มากกว่า

โรคหูดข้าวสุก หูด หูดข้าวสุก อาการหูดข้าวสุก รักษาหูดข้าวสุก ยาหูดข้าวสุก โรคติดต่อ หูดข้าวสุกรักษาหายไหม ตุ่มหูดข้าวสุก

อาการของหูดข้าวสุก

หูดข้าวสุก จะมีลักษณะคล้ายอีสุกอีใส คือ จะเป็นตุ่มใส ๆ ที่ไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจมีอาการบวมหรือมีอาการคันได้ แต่ถึงไม่ได้รักษาเลย หูดข้าวสุกก็สามารถหายได้เองภายใน 2 เดือนถึงประมาณ 4 ปี

หูดข้าวสุก คืออีกโรคหนึ่งที่ติดต่อได้ง่ายเพียงแค่สัมผัสบริเวณที่มีอาการ หรือการไปแกะ เกาตรงที่มีอาการก็อาจทำให้ตุ่มเกิดแตกขึ้นมาแล้วไปติดตามเสื้อผ้า หรือไปติดข้าวของเครื่องใช้อื่น ๆ ได้ เพราะฉะนั้นการรักษาความสะอาดถือเป็นสิ่งสำคัญ หากใครที่มีอาการ อาจนำผ้าหรือพลาสเตอร์แปะแผลมาติดไว้ก็ได้ เพื่อไม่ให้หูดข้าวสุกไปสัมผัสกับอย่างอื่นโดยไม่รู้ตัว

โดยรวมแล้วโรคนี้ ถือเป็นการติดเชื้อที่บริเวณผิวหนังชั้นนอกเท่านั้น และจะไม่ส่งผลใด ๆ ร้ายแรงต่อสุขภาพ หากมีอาการ ก็สามารถปล่อยให้หายไปเอง หรือรักษาก็ได้ จึงไม่ใช่โรคที่อันตราย แต่ก็จะมีอาการข้างเคียงได้ เช่น

  • อาจมีอาการผื่นแดงขึ้น บริเวณเดียวกับที่มีอาการหูดข้าวสุก และอาจมีอาการคันตรงผื่น
  • หูดข้าวสุกอาจขึ้นที่บริเวณเปลือกตา และอาจทำให้มีอาการเยื่อตาอักเสบได้
  • หากมีการแกะหรือเกาบริเวณที่มีหูดข้าวสุก อาจทำให้เกิดการติดแบคทีเรียอื่น ๆ จนทำให้เกิดอาการอักเสบและเป็นแผลได้

หูดข้าวสุกในเด็ก โรคหูดข้าวสุก หูด หูดข้าวสุก อาการหูดข้าวสุก รักษาหูดข้าวสุก ยาหูดข้าวสุก โรคติดต่อ หูดข้าวสุกรักษาหายไหม ตุ่มหูดข้าวสุก

การรักษาหูดข้าวสุก

การรักษาสามารถทำได้โดยการศัลยกรรม หรือใช้เลเซอร์ แต่เพราะโรคนี้สามารถหายได้ตามปกติจึงไม่มีความจำเป็นต้องทำการรักษา หากใครที่ไม่เคยเป็น ก็มีวิธีป้องกันง่าย ๆ คือ หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้อื่น และหลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวคนที่มีอาการอยู่ รวมถึงการล้างมือบ่อย ๆ ก็สามารถช่วยป้องกันการติดโรคนี้ได้ด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

  • โรคหูดหงอนไก่
  • โรคหนองในแท้
  • โรคหนองในเทียม

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”
  • โรคฝีมะม่วง..ภัยร้ายใกล้ตัว
  • หนองในเทียม (Chlamydia)
  • CD4 ที่เท่าไหร่ถึงเรียกว่าระดับน่าเป็นห่วง

Archives

  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in

Go to mobile version