• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

เอชไอวีป้องกันได้ ด้วยการทาน “PrEP”

May 24, 2023 by 365team

เอชไอวีป้องกันได้ ด้วยการทาน PrEP

PrEP ย่อมาจาก Pre Exposure Prophylaxis คือ รูปแบบของการป้องกันเชื้อเอชไอวี ประเภทหนึ่ง โดยเป็นการให้ยากับคนที่ยังไม่ได้ติดเชื้อหรือป่วยโรคนี้ เพียงแค่อาจมีความเสี่ยงการติดเชื้อในอนาคต ซึ่ง เพร็พ ทานวันละ 1 เม็ด ทานทุกวัน ใช้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มชายรักชาย สาวประเภทสอง หรือผู้ที่มีพฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย คู่นอนมีเชื้อเอชไอวี เป็นต้น

Table of Contents

  • ใครบ้างที่ควรทาน PrEP
  • ขั้นตอนการรับ PrEP
  • วิธีทาน PrEP มีกี่แบบ ?
    • Daily PrEP
    • On Demand PrEP 
  • PrEP มีผลข้างเคียงหรือไม่ ?
  • ทำอย่างไรเมื่อลืมทาน PrEP
  • อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

ใครบ้างที่ควรทาน PrEP

PrEP เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี เช่น

  • ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนอยู่เป็นประจำ
  • ผู้ที่มีคู่นอนผลเลือดบวก
  • ผู้ที่มาขอรับ Post-Exposure Prophylaxis (PEP)* อยู่เป็นประจำ
  • ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย
  • ชายหรือหญิงที่ทำงานบริการ
  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

ขั้นตอนการรับ PrEP

ขั้นตอนการรับ PrEP
  • ก่อนมารับ PrEP ควรงดมีเพศสัมพันธ์ 2 สัปดาห์
  • ผู้รับบริการจะต้องได้รับการตรวจเอชไอวี และตรวจการทำงานของตับและไต
  • ทานติดต่อกันอย่างน้อย 7 วันก่อนมีเพศสัมพันธ์ 
  • หลังจากที่ได้รับยา PrEP ครั้งแรกจะนัดตรวจเลือดทุก 1 – 3 เดือน 
  • หากต้องการหยุดยา ผู้มารับบริการต้องมาตรวจเลือดก่อนหยุดยา PrEP ทุกครั้ง

การรับประทาน PrEP ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เนื่องจากต้องมีการตรวจเลือด ติดตามและต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

วิธีทาน PrEP มีกี่แบบ ?

Daily PrEP

  • ทานวันละ 1 เม็ด ให้ตรงเวลาทุกวัน

On Demand PrEP 

  • ทาน 2 เม็ด “ก่อน” มีเพศสัมพันธ์ 2-24 ชั่วโมง
  • ทาน 1 เม็ด “หลัง” ทานยาครั้งแรก 24 ชั่วโมง
  • ทานอีก 1 เม็ด “หลัง” ทานยาครั้งแรก 48 ชั่วโมง

PrEP มีผลข้างเคียงหรือไม่ ?

คนส่วนมากมักจะไม่มีผลข้างเคียงใดๆ แต่สำหรับคนที่มีผลข้างเคียงจะมีอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • คลื่นไส้
  • เวียนศีรษะ
  • ปวดหัว
  • ปวดท้องและท้องเสีย

อาการเหล่านี้จะหายไปเองได้ใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่ถ้ามีอาการนานมากกว่านั้นควรรีบปรึกษาแพทย์

ทำอย่างไรเมื่อลืมทาน PrEP

ทำอย่างไรเมื่อลืมทาน PrEP

ในกรณีคุณที่ลืมทาน PrEP หรือทานไม่ตรงเวลา เมื่อนึกออกให้รับประทานทันที แต่ถ้าหากใกล้ถึงเวลาการทานครั้งต่อไปอีก 2 – 3 ชั่วโมง ให้ทานเวลาครั้งต่อไปแทน แต่แนะนำว่าควรต้องทานให้ตรงเวลาทุกวัน เพื่อประสิทธิภาพของการป้องกัน

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • หนองในแท้ (Gonorrhoea) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ
  • ค่า CD4 คืออะไร?

PrEP เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี แต่ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ และใช้ร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เนื่องจาก PrEPไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อื่นๆ ได้

Filed Under: PrEP Tagged With: HIV, PrEP, ป้องกันเอชไอวี, ยาต้านไวรัส, เพร็พ, เอชไอวี

Primary Sidebar

Recent Posts

  • สารพัดประโยชน์ของถุงยางอนามัย
  • เอชไอวีป้องกันได้ ด้วยการทาน “PrEP”
  • หนองในแท้ (Gonorrhoea) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ
  • ค่า CD4 คืออะไร?
  • การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย..ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

Archives

  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • หนองในแท้
  • เอชไอวี HIV
  • เอดส์
  • แผลริมอ่อน
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง
  • ไวรัสตับอักเสบบี

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in

Go to mobile version