• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน

January 18, 2023 by thaihiv365 team

ถ้าพูดถึง HIV กับ AIDS คนหลายคน ก็เกิดมีความกลัวอย่างเห็นได้ชัด เพราะยังมีชุดความรู้ผิดๆ เกี่ยวกับเชื้อนี้อยู่มาก เนื่องจากยังไม่ค่อยมีสื่อเรื่องเพศศึกษา และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในสถานศึกษาอย่างจริงจัง พอได้ยินว่า “เลือดบวก” ก็จะตีความว่าเขาเป็นโรคเอดส์ทันที ในบทความนี้จะแยกให้เห็นว่า HIV กับ AIDS ไม่ได้เหมือนกันอย่างที่คิดครับ

แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน

Table of Contents

  • HIV กับ AIDS แตกต่างกันอย่างไร?
  • HIV ติดต่อได้ผ่าน
  • อาการของ HIV กับ AIDS
  • มาป้องกันตัวเองจาก HIV กับ AIDS กันเถอะ!
  • HIV กับ AIDS ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
  • อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

HIV กับ AIDS แตกต่างกันอย่างไร?

ความแตกต่างของ HIV กับ AIDS นั่นง่ายมาก เพราะ HIV คือ ไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค AIDS หมายความว่า AIDS เป็นเพียงอาการของผู้ที่ติดเชื้อ HIV และไม่ได้รับการรักษาเท่านั้น จึงจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคเอดส์ได้ในตอนท้าย สรุปอีกครั้งว่า HIV เป็นเชื้อไวรัส แต่ AIDS เป็นเพียงอาการของคนที่ไม่ได้รักษานั่นเอง ซึ่งกว่าจะกลายเป็นโรคแทรกซ้อน ไวรัสเอชไอวีจะต้องเข้าสู่ร่างกายมาสักระยะและผู้นั้นไม่ได้ทานยาต้านไวรัสเอชไอวี ตัวไวรัสจึงแพร่กระจายตัวไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้พังลงได้ในที่สุด

HIV ติดต่อได้ผ่าน

  • การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น และ
  • การติดเชื้อจากแม่สู่ลูก (พบได้น้อย)
HIV ติดต่อได้ผ่าน

อาการของ HIV กับ AIDS

ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า AIDS ที่เป็นอาการของผู้ติดเชื้อ HIV นั้นมีความเกี่ยวเนื่องกัน แต่ในระยะแรกที่ได้รับเชื้อมาใหม่ๆ คนๆ นั้นจะแทบไม่มีอาการใดปรากฏให้เห็นเลย หรือถ้ามีก็น้อยมากจนไม่ทันสังเกต เพราะอาจคิดว่าป่วยเป็นโรคธรรมดาทั่วไป โดยเราจะแบ่งระยะอาการออกเป็น 3 ระยะดังนี้

  1. ระยะติดเชื้อเฉียบพลัน : ระยะนี้จะเกิดขึ้นหลังจากได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวีมาแล้ว ประมาณ 2-4 สัปดาห์ ซึ่งจะมีอาการคล้ายกับคนเป็นไข้หวัด เช่น
    • ต่อมน้ำเหลืองโต
    • มีผื่นขึ้นตามร่างกาย
    • ปวดเนื้อเมื่อยตัว ไม่มีเรี่ยวแรง
    • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องเสีย
    • เป็นไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เจ็บคอ
  2. ระยะเริ่มแสดงอาการ : ระยะนี้ จะค่อยๆ เริ่มมีอาการ โดยจะใช้เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 7-10 ปีขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ติดเชื้อ แต่ก็ยังไม่อาจระบุได้ว่าเข้าสู่ภาวะเอดส์อย่างเต็มขั้น ซึ่งอาการจะค่อนข้างคล้ายคลึงในช่วงแรกที่ติดเชื้อ แต่อาจมีโรคอย่างอื่นด้วย เช่น
    • โรคงูสวัด
    • เกิดเชื้อราในช่องปาก
    • มีแผลเริมที่อวัยวะเพศ
    • พบผื่นคันตามร่างกาย คล้ายคนเป็นภูมิแพ้
  3. ระยะเอดส์ : ระยะนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีภูมิต้านทาน ในระดับต่ำมากๆ หรือผู้ที่ติดเชื้อแต่ไม่ได้รับการรักษา เชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าไปทำลายเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย และไม่มีภูมิต้านทานมาช่วยได้ ส่งผลทำให้มีโรคฉวยโอกาสเข้ามาได้บ่อยๆ เช่น
    • วัณโรค
    • โรคติดเชื้อในปอด
    • โรคติดเชื้อในสมอง
    • โรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น

มาป้องกันตัวเองจาก HIV กับ AIDS กันเถอะ!

อยากห่างไกลจากโรคเอดส์ ทำได้ง่ายๆ เลยเรื่องเดียวคือ ให้ความสำคัญกับการป้องกันตัวเอง เพราะเมื่อเราเซฟตัวเองดี คนอื่นรอบข้างก็ไม่มีความเสี่ยงไปด้วย

  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ รักเดียว ใจเดียว
  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • หมั่นตรวจเอชไอวีเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

HIV กับ AIDS ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

หากเราเรียนรู้และยอมรับเกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้น จะเห็นได้ว่า การอยู่ร่วมกับผู้มีเชื้อเอชไอวีไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวแต่อย่างใด เพราะเขาเหล่านี้ก็คือมนุษย์ปกติเหมือนกับเรา เพียงแต่เจ็บป่วยด้วยโรคประเภทหนึ่งเท่านั้น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนเรา เรียน ทำงาน หรือแม้แต่มีครอบครัว มีลูกได้เหมือนกัน ในความเป็นจริง คนที่ติดเชื้อและทำการรักษาเอชไอวีด้วยยาต้าน จะถูกกลไกของยาคอยควบคุมเชื้อไม่ให้แพร่กระจาย ไปทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ และเขาจะได้รับการติดตามผลการรักษาจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพราะยานี้จำเป็นต้องทานไปตลอดชีวิต จนกว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ถูกพัฒนามาให้กลุ่มผู้ติดเชื้อได้รักษาเอชไอวีให้หายขาดไปได้จริงจากร่างกายในอนาคตครับ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

  • โรคฝีมะม่วง ภัยร้ายใกล้ตัว
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”

Filed Under: เอชไอวี HIV Tagged With: AIDS, HIV, โรคเอดส์, ไวรัสเอชไอวี

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”
  • โรคฝีมะม่วง..ภัยร้ายใกล้ตัว
  • หนองในเทียม (Chlamydia)
  • CD4 ที่เท่าไหร่ถึงเรียกว่าระดับน่าเป็นห่วง

Archives

  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in

Go to mobile version