• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

ยาต้านไวรัส

ทำความรู้จักกับยาต้านไวรัสเอชไอวี (ARV)

October 10, 2022 by thaihiv365 team

ทำความรู้จักกับยาต้านไวรัสเอชไอวี (ARV)

เอชไอวี คือ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่จำเป็นต้องป่วยเป็นโรคเอดส์เสมอไป หากมีการติดเชื้อเอชไอวีแล้วนั้นเชื้อจะอยู่ในร่างกายผู้ติดเชื้อตลอดไป 

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาการติดเชื้อเอชไอวีให้หายขาดได้ แต่มียาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งถ้าผู้ติดเชื้อเอชไอวีกินยาได้เร็ว กินยาอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ สามารถทำให้ผู้ติดเชื้อมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อเอชไอวีนี้ไปยังผู้อื่นได้ด้วย

Table of Contents

  • ยาต้านไวรัสเอชไอวีคืออะไร?
  • ยาต้านหรือยารักษาเอชไอวี มีกี่แบบ
  • ใครบ้างควรรับยาต้านไวรัสเอชไอวี
  • ยาต้านไวรัสเอชไอวี รับได้ที่ไหน
  • ยาต้านไวรัสเอชไอวี ต้องทานตอนไหน และการปฏิบัติตัวหลังทานยาต้าน
  • ยาต้านไวรัสเอชไอวี กับผลข้างเคียง มีดังนี้
  • ต้องทานยาต้านไวรัสเอชไอวี ไปตลอดไหม
  • การกินยาต้านไวรัสเอชไอวี ไม่ตรงเวลา

ยาต้านไวรัสเอชไอวีคืออะไร?

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี

Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผลเอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

ซึ่งจะใช้ช่วงก่อนหรือหลังจากการสัมผัสเชื้อเอชไอวี สำหรับยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อนั้น เรียกว่ายา PrEP ซึ่งย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis (ยาต้านก่อนเสี่ยง) และยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากสัมผัสเชื้อนั้น เรียกว่ายา PEP โดยย่อมาจาก Post -Exposure Prophylaxis (ยาต้านฉุกเฉิน)

ยาต้านหรือยารักษาเอชไอวี มีกี่แบบ

ปัจจุบันยาต้าน ยารักษา HIV หรือที่เรียกว่ายา Antiretroviral (ARV) นั้นที่ใช้กันนั้น ดังนี้

  1. Nucleoside reverse transcriptase inhibitors (RTIs)  มีกลไกลการยับยั้งการทำงานของ Reverse transcriptase ซึ่งเป็นenzymeที่ไว้เปลี่ยน RNA ของเชื้อเป็น DNA เพื่อใช้ในการเข้าสู่ host cell ซึ่งส่งผลทำให้การเชื่อมต่อสารพันธุกรรมของเชื้อหยุดลง เชื้อไวรัสจึงไม่สามารถเพิ่มจำนวนต่อไปได้  ยาในกลุ่มนี้เช่น AZT (Retrovir), DDI (Videx), DDC (Hivid), 3TC (Epivir), และ D4T (Zerit) enofovir disoproxil fumarate (TDF), Emtricitabine (FTC) เป็นต้น
  2. Protease inhibitors (PIs) มีกลไกรบกวนการทำงานของ Protease ซึ่งทำให้เชื้อไม่สามารถรวมโปรตีนเพื่อสร้างเซลล์ใหม่ได้ เช่น Indinavir (Crixivan), Nelfinavir (Viracept), Ritonavir (Norvir), Saquinavir, Lopinavir+Ritonavir (LPV/r)
  3. Non-nucleoside reverse transcriptase Inhibitor (NNRTIs) มีกลไกของยากลุ่มนี้จะยับยั้งการทำงานของ Reverse transcriptase เช่นเดียวกับยากลุ่ม NRTIs มียาที่ใช้อยู่ เช่น Delavirdine (Rescriptor), Efavirenz (Sustiva), Nevirapine (Viramune) Efavirenz (EFV), Rilpivirine (RVP)
  4. Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) มีกลไลยับยั้งกระบวนการ integration โดยในยากลุ่มนี้จะยับยั้งการทำงานของ integrase ของเชื้อที่ใช้ในการเชื่อมสาย DNA ของตัวเชื้อเข้ากับ host cell ยาในกลุ่มนี้ เช่น Dolutegravir (DTG), Bictegravir (BIC)

ใครบ้างควรรับยาต้านไวรัสเอชไอวี

เมื่อผู้ป่วยมีอาการของโรคเอดส์ เซลล์ CD4 ลดลง มีปริมาณเชื้อมาก (viral load) การรักษาผู้ป่วยจะแยกเป็นกรณี ดังนี้

  • การรักษาหลังสัมผัสโรคติดเชื้อเอชไอวี( Post-Exposure Prophylaxis) ผู้ที่ได้รับสัมผัสเชื้อภายใน 72 ชั่วโมง การให้ยาแก่คนที่สัมผัสโรคสามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ โดยผู้ที่สัมผัสโรคต้องปรึกษากับแพทย์ว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ให้ยา และจะให้ยานานแค่ไหน ผลข้างเคียงของยามีอะไรบ้าง
  • Primary Infection หมายถึงภาวะตั้งแต่เริ่มได้รับเชื้อจนกระทั้งภูมิต่อเชื้อHIV เพิ่มจนสามารถตรวจพบได้ ระยะนี้มีเวลาประมาณ 12-20 สัปดาห์ หากพบผู้ป่วยระยะนี้ต้องรีบให้การรักษาโดยเร็ว แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำว่าให้รับประทานตลอดชีวิต แต่บางท่านแนะนำให้รับประทานยา 24 เดือนแล้วลองหยุดยา
  • ผู้ที่ติดเชื้อHIV โดยที่ไม่มีอาการ (Asymptomatic Patients with Established Infection ) การรักษาผู้ที่ติดเชื้อซึ่งไม่มีอาการยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าจะมีประโยชน์หรือไม่ แต่ก็มีคำแนะนำในการรักษาตามตารางข้างล่าง

ยาต้านไวรัสเอชไอวี รับได้ที่ไหน

ยาต้านไวรัส HIV ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการได้ตามสถานบริการของรัฐ เอกชน หรือคลินิกเฉพาะทางที่มีแพทย์ประจำ เนื่องจากการรับยาต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์ และจำเป็นจะต้องมีการตรวจเลือดทุกครั้งที่รับยา เพื่อความปลอดภัย และลดผลข้างเคียงที่อาจจะตามมาได้หลังจากการรับยา

ยาร่วมกัน 3 ชนิด HAART

ยาต้านไวรัสเอชไอวี ต้องทานตอนไหน และการปฏิบัติตัวหลังทานยาต้าน

การทานยาต้านแต่ละตัวนั้นมีความแตกต่างกันตามกลุ่มของยา โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำให้ให้คำปรึกษาในการรับยาพิจารณาจากผลการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการว่าผู้ป่วยเหมาะสมกับยาสูตรใดชนิดใด 

ซึ่งต้องใช้ตัวยาร่วมกัน 3 ชนิด หรือเรียกว่า Highly Active Antiretroviral Therapy (HAART) จะช่วยให้ผลการรักษาได้ดี ลดการเกิดเชื้อดื้อยา ลดอัตราการป่วยจากภาวะแทรกซ้อน และอัตราการเสียชีวิตลดลงได้อย่างมาก

 แม้ปัจจุบันจะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุขมากขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยควรให้ความสำคัญอย่างมากกับการรับประทานยา ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

ยาต้านไวรัสเอชไอวี กับผลข้างเคียง มีดังนี้

  • อาการข้างเคียงในระยะสั้นและไม่รุนแรง พบได้และอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น ภายในเวลาประมาณ 2 – 3 เดือน เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องอืด นอนไม่หลับ ฝันร้าย มีผื่นขึ้นเล็กน้อย
  • อาการข้างเคียงในระยะสั้นและรุนแรง เช่น ภาวะซีด ตับหรือตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ชาปลายมือปลายเท้า นิ่วในไต ซึ่งอาจพบได้ทุกช่วงของการกินยา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้าไม่รีบแก้ไข ดังนั้น ต้องติดตามอาการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด   มารับการตรวจตามนัดสม่ำเสมอ ถ้าพบอาการผิดปกติ เช่น  ท้องอืด  อาเจียน   อ่อนเพลีย   หมดแรง (อาการของภาวะกรดในเลือด)   ต้องมาพบแพทย์ก่อนวันนัด
  • อาการข้างเคียงในระยะยาว มักพบหลังจากกินยาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่ตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป บางรายพบได้ในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี อาการข้างเคียงในระยะยาว เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย การกระจายและสะสมของไขมันผิดปกติและผิดที่ มีไขมันพอกที่ต้นคอ ลำตัวอ้วน แขนขาลีบ แก้มตอบ

หากรับประทานยาต้านไวรัสเป็นเวลา 6 เดือน ขึ้นไปแพทย์แนะนำให้ตรวจค่าการทำงานของตับและการทำงานของไตเนื่องจากยาต้านไวรัสส่งผลต่อการทำงานของตับและไต

ต้องทานยาต้านไวรัสเอชไอวี ไปตลอดไหม

ยาต้านไวรัสเพื่อให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาว ใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป แม้ว่าผลการตรวจเลือดของผู้ป่วยบางราย หลังจากทานยาต้านไวรัสเป็นเวลานาน จะพบเชื้อน้อยลงจนแทบไม่พบเชื้อ แพทย์ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าหายขาดแล้ว ผู้ป่วยต้องทานยาต่อไปตลอดชีวิต  และตัวผู้ป่วยเองก็ต้องดูแลร่างกายของตัวเองให้ดี ไม่ทำพฤติกรรมเสี่ยงใดๆ ที่อาจมีผลต่อการรักษา ทานยาสม่ำเสมอในทุกวัน

การกินยาต้านไวรัสเอชไอวี ไม่ตรงเวลา

ผู้ที่ได้รับเชื้อเอชไอวี กับการทานยาต้านให้ตรงเวลานั้นมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยรักษาระดับยาจะให้คงที่ในกระแสเลือด ช่วยลดปริมาณเชื้อไวรัสไม่เพิ่มจำนวน ลดอาการผลข้างเคียง และลดโอกาสการดื้อยาที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ดังนั้นหากทานยาต้านไม่ตรงเวลา หรือขาดยา ก็อาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล เชื้อไวรัสเอชไอวี ก็จะเพิ่มปริมาณขึ้น ผู้ป่วยอาจจะต้องเปลี่ยนยาไปใช้ในสูตรที่แรงการสูตรเดิมรวมทั้งอาจเกิดผลข้างเคียงที่มากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หรือ ติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

บทความอื่นๆเพิ่มเติม

เอชไอวี(HIV) ป้องกันง่ายกว่ารักษา

ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ยาต้านไวรัส HIV แบบป้องกันและฉุกเฉิน คืออะไร รับได้ที่ไหน https://www.bangkoksafeclinic.com/th/arv/
  • ยาต้านไวรัสเอดส์ http://www.samrong-hosp.com/คัมภีร์การใช้ยา/ยาต้านไวรัสเอดส์

Filed Under: ยาต้านไวรัส, เอชไอวี HIV Tagged With: Antiretroviral, ARV, HIV, ยาต้านไวรัสเอชไอวี, เอชไอวี

ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี

May 29, 2022 by thaihiv365 team

ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวี ถือเป็นหัวใจสำคัญของการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยแพทย์จะพิจารณาให้ผู้ป่วยเริ่มกินยาต้านไวรัสเอชไอวีโดยเร็วที่สุด เพื่อเป็นการรักษาตัวผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีเอง และเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเอชไอวีไปสู่ผู้อื่น 

Table of Contents

  • ยาต้านไวรัส คือ?
  • ยาต้านไวรัสเอชไอวีมี 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
  • 3. ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี แต่ละชนิด ดังนี้
  • สรุปอาการข้างเคียงจากการกินยาต้านไวรัสเอชไอวี

ยาต้านไวรัส คือ?

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี

Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผล HIV เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

ซึ่งจะใช้ช่วงก่อนหรือหลังจากการสัมผัสเชื้อ HIV สำหรับยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อนั้น เรียกว่ายา PrEP ซึ่งย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis (ยาต้านก่อนเสี่ยง) และยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากสัมผัสเชื้อนั้น เรียกว่ายา PEP โดยย่อมาจาก Post -Exposure Prophylaxis (ยาต้านฉุกเฉิน)

ยาต้านไวรัสเอชไอวีมี 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

  1. Reverse transcriptase inhibitors ยับยั้งขบวนการคัดลอก RNA ไปเป็น DNA ของไวรัส (reverse transcription) ยากลุ่มนี้ยังแบ่งย่อยเป็นกลุ่ม
    • Nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NRTIs) ได้แก่ Abacavir (ABC), Didanosine (ddI), Emtricitabine (FTC), Lamivudine (3TC), Stavudine (d4T), Tenofovir (TDF), Zalcitabine (ddC), Zidovudine (AZT)
    • Non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs) ได้แก่ Delavirdine (DLV), Efavirenz (EFV), Etravirine (ETR), Nevirapine (NVP), Rilpivirine (RPV)
  2. Protease inhibitors (PIs) ยับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัส ยากลุ่มนี้ได้แก่ Darunavir (DRV), Indinavir (IDV), Nelfinavir (NFV), Ritonavir (RTV), Saquinavir (SQV), Kaletra® (lopinavir/ritonavir, LPV/r), Reyataz® (atazanavir/ritonavir, ATV/r) เป็นต้น
  3. Integrase strand transfer inhibitors (INSTIs) ยับยั้งไม่ให้ DNA ของไวรัสรวมตัวกับ DNA ของคน ยากลุ่มนี้ได้แก่ Dolutegravir (DTG), Elvitegravir (EVG), Raltegravir (RAL) เป็นต้น
  4. Entry/Fusion inhibitors ยับยั้งไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ได้ ยากลุ่มนี้ได้แก่ Enfuvirtide (INN), Maraviroc (EVG) เป็นต้น
อาการข้างเคียงของยาแต่ละชนิด

3. ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี แต่ละชนิด ดังนี้

Zidovudine (AZT, ZDV) ยาต้านไวรัสที่ช่วยไม่ให้เชื้อเอชไอวีเพิ่มจำนวน และใช้ขณะตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวีถ่ายทอดเชื้อไปยังทารก

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เป็นไข้ เจ็บคอ
  • ปวดศีรษะ
  • โลหิตจาง
  • ลมพิษ
  • หายใจติดขัด 
  • บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ
  • เม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ
  • แสบร้อนที่ดวงตา ปวดผิว
  • ผิวและเล็บอาจมีสีคล้ำ

Lamivudine (3TC) เป็นยาต้านไวรัสในกลุ่มเอ็นอาร์ทีไอ (Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors: NRTI) ที่ออกฤทธิ์ช่วยลดจำนวนเชื้อเอชไอวีในร่างกายของผู้ป่วยติดเชื้อ ซึ่งจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อเอชไอวี เช่น การติดเชื้อบางชนิด และมะเร็ง เป็นต้น 

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส
  • ปวดศีรษะ
  • ตับออนอักเสบ

Didanosine (ddI) ใช้ในการรักษาภาวะติดเชื้อไวรัสเอชไอวีซึ่งทำให้เกิดโรคเอดส์หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) ยาไดดาโนซีนไม่สามารถรักษาภาวะติดเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องให้หายขาดได้ แต่อาจช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคได้

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ชาปลายมือ ปลายเท้า
  • ตับอ่อนอักเสบ

Stavudine (d4T) รักษาโรคตดิเช้ือ HIV ซ่ึงไมส่ ามารถทนตอ่ หรือด้ือตอ่ ยาอื่นๆ หรือใช้ยาอื่นไม่ ไดผ้ล

ผลข้างเคียง

  • ชาปลายมือ ปลายเท้า
  • ระดับแลคเตทในเลือดสูง
  • ตับออนอักเสบ
  • แก้มตอบ ไขมันใต้ผิวหนังลดลง
  • ระดับไขมันในเลือดสูง

Abacavir (ABC) ป็นยาต้านไวรัสในกลุ่มเอ็นอาร์ทีไอ (Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors: NRTI) ที่แพทย์นำมาใช้ร่วมกับยารักษาการติดเชื้อเอชไอวีชนิดอื่น ออกฤทธิ์ลดจำนวนเชื้อเอชไอวีในร่างกายของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ซึ่งช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดียิ่งขึ้น และยังลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อเอชไอวีอย่างการติดเชื้ออื่น ๆ และการเกิดมะเร็ง 

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ภาวะภูมิไวเกิน

Tenofovir (TDF) เป็นยาต้านไวรัส ใช้รักษาการติดเชื้อเอชไอวี และการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง อาจใช้ร่วมกับยาตัวอื่น ๆ เพื่อรักษาควบคู่กัน แต่ยานี้อาจไม่ได้ฆ่าเชื้อไวรัสทั้งหมด เพียงแต่ช่วยควบคุมโรคเท่านั้น

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องอืด แน่นท้อง
  • ท้องเสีย

Tenofovir+emtricitabine (TDF/FTC) ยาทั้ง 2 ชนิดนี้จะอยู่ในรูปของยาสูตรผสมที่ต้องรับประทานคู่กันเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องอืด แน่นท้อง
  • ท้องเสีย
  • ปวดศีรษะ

Efavirenz (EFV) เป็นยาต้านไวรัสที่ใช้รักษาการติดเชื้อเอชไอวี โดยยาจะช่วยลดปริมาณเชื้อเอชไอวีในร่างกายและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวีอย่างมะเร็งหรือการติดเชื้ออื่น ๆ 

ผลข้างเคียง

  • วิงเวียนศีรษะ
  • ง่วงนอน
  • อาการนอนไม่หลับ
  • อาการสับสน 
ผื่นsteven johnson syndrome

Etravirine (ETR) เป็นยาใหม่ในกลุ่ม non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor (NNRTI) ที่กำลังพัฒนาสำหรับใช้ในการรักษาผู้ที่ติดเชื้อ HIV

ผลข้างเคียง

  • ผื่นแพ้ อาจรุนแรง ถึง Steven Johnson Syndrome
  • ภาวะภูมิไวเกิน 
  • คลื่นไส้ 

Nevirapine (NVP) รักษาอาการติดเชื้อ HIV เป็นยาในกลุ่ม nucleoside reverse transcriptase inhibitor

ผลข้างเคียง

  • ผื่นแพ้ อาจรุนแรง ถึง Steven Johnson Syndrome
  • ตับอักเสบ อาจรุนแรงถึงตับวายเฉียบพลัน

Rilpivirine (RPV) เป็นยากลุ่ม non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs)

ผลข้างเคียง

  • ปวดศีรษะ
  • อาการนอนไม่หลับ
  • ผื่นแพ้ 
  • ซึมเศร้า 

Atazanavir sulfate (ATV)  ใช้สำหรับการรักษา, ควบคุม, ป้องกันและรักษาอาการและสภาพของการติดเชื้อเอชไอวีให้ดีขึ้น

ผลข้างเคียง

  • ภาวะตัวเหลือง 
  • คลื่นไส้
  • ผื่นแพ้ 
  • ท้องเสีย
  • ปวดศีรษะ 

Ritonavir (RTV) เป็นยาต้านไวรัสที่มักใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นเพื่อรักษาการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ลดปริมาณเชื้อเอชไอวี ส่งผลให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น ช่วยลดโอกาสของการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อเอชไอวีอย่างการติดเชื้อต่าง ๆ และโรคมะเร็ง 

ผลข้างเคียง

  • Gastrointestinal side effect คลื่นไส้ , อาเจียน, ท้องเสีย
  • ระดับไขมันในเลือดสูง 
  • ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง 
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง  

Lopinavir/ritonavir (LPV/r) ใช้ร่วมกับยาต้านรีโทรไวรัสตัวอื่นๆ ในการรักษา ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV-1

ผลข้างเคียง

  • คลื่นไส
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ระดับไขมันในเลือดสูง  
  • ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ในเลือดสูง 
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง 

Darunavir (DRV)  เป็นยาต้านไวรัสอยู่ในกลุ่ม ยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส ใช้รักษาโรคติดเชื้อ HIV-1

ผลข้างเคียง

  • ผื่นแพ้ 
  • คลื่นไส้
  • ท้องเสีย
  • ปวดศีรษะ 

– Saquinavir (SQV) ใช้ร่วมกับยาริโทนาเวียร์ (ritonavir) และยารักษาโรคเอชไอวีอื่นๆ เพื่อควบคุมอาการติดเชื้อเอชไอวี โดยลดปริมาณของเชื้อเอชไอวีในร่างกาย เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดโอกาสของการเกิดอาการแทรกซ้อนของเอชไอวี

ผลข้างเคียง

  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้
  • ปวดท้อง 

Maraviroc (MVC) ป็นยาต้านไวรัสในกลุ่มตัวรับ CCR5 ที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี 

ผลข้างเคียง

  • ปวดท้อง 
  • ไอ 
  • วิงเวียนศีรษะ 
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 
  • อาการไข้ ตัวร้อน  
  • ผื่น 

Raltegravir (RAL) ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม Integrase inhibitor ในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ HIV-1 ที่ยังไม่เคยได้รับยารักษามาก่อน

ผลข้างเคียง

  • ผื่นแพ้ อาจรุนแรง ถึง Steven Johnson Syndrome
  • ภาวะภูมิไวเกิน 
  • คลื่นไส้
  • ปวดศีรษะ 
  • ท้องเสีย
  • อาการไข้ ตัวร้อน 

สรุปอาการข้างเคียงจากการกินยาต้านไวรัสเอชไอวี

  • อาการข้างเคียงในระยะสั้นและไม่รุนแรง พบได้และอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น ภายในเวลาประมาณ 2 – 3 เดือน เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องอืด นอนไม่หลับ ฝันร้าย มีผื่นขึ้นเล็กน้อย 
  • อาการข้างเคียงในระยะสั้นและรุนแรง เช่น ภาวะซีด ตับหรือตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ชาปลายมือปลายเท้า นิ่วในไต ซึ่งอาจพบได้ทุกช่วงของการกินยา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้าไม่รีบแก้ไข

ดังนั้น ต้องมีการติดตามอาการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด โดยมีการตรวจสุขภาพ และผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเป็นระยะ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ หรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องได้ ต้องให้ข้อมูลแก่แพทย์ให้มากที่สุดเพื่อประโยชน์ของตัวผู้ป่วยเอง

อาการข้างเคียงในระยะยาว มักพบหลังจากกินยาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่ตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป บางรายพบได้ในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี  อาการข้างเคียงในระยะยาว เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย การกระจาย และสะสมของไขมันผิดปกติและผิดที่ มีไขมันพอกที่ต้นคอ ลำตัวอ้วน แขนขาลีบ แก้มตอบ

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

PrEP เหมาะสำหรับใคร ?

ยาต้านฉุกเฉิน (PEP) คืออะไร ?

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ยาต้านไวรัสเอดส์ (Antiretrovirals) http://mutualselfcare.org/medicine/medicative/antiretrovirals.aspx?M=k&G=a
  • ยาต้านเอชไอวี
    http://www.thaiaidssociety.org/images/PDF/bms_arvdrug.pdf
  • อาการข้างเคียงและอาการแพ้ยา
    https://www.mplusthailand.com/hivaids/ยาต้านไวรัส/อาการข้างเคียงและอาการ/


Filed Under: ยาต้านไวรัส, เอชไอวี HIV Tagged With: Exposure prophylaxis, ยาต้านไวรัส, ยาต้านไวรัสเอชไอวี

U=U คืออะไร

January 24, 2022 by thaihiv365 team

U=U คืออะไร

เมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าไปสู่ร่างกาย จะเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่ร่างกาย จึงทำให้ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงจนในที่สุด ร่างกายของผู้ป่วย ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้ และอาจเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ เช่น วัณโรค เชื้อรา ปอดบวม เป็นต้น โดยส่วนมากผู้ป่วยจะมีปริมาณของไวรัส ในเลือดมากกว่า 200-1,000 ตัว ต่อซีซีของเลือด แต่ะเมื่อได้เข้ารับการรักษา ทำให้มีปริมาณของเชื้อไวรัส ในเลือดต่ำกว่า 50 ตัวต่อซีซีของเลือด โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เราจะเรียกกันว่า ตรวจไม่เจอ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เชื้อที่อยู่ภายในร่างกายได้หมดไปแล้ว เพียงแต่ จะมีปริมาณที่เหลือน้อยมาก ๆ จนทำให้ตรวจไม่เจอ

U = U หรือ Undetectable = Untransmittable  หรือ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่

U ตัวแรกคือ Undetectable หมายถึง ตรวจไม่เจอเชื้อ และ U ตัวที่สองก็คือ Untransmittable หมายถึง ไม่สามารถแพร่เชื้อต่อได้ 

หมายถึง ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี แล้วกินยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว และทานยาตรงเวลาอย่างต่อเนื่อง จนกดปริมาณไวรัสให้มีจำนวนลดลงจนถึงระดับที่ไม่สามารถตรวจหาไวรัสในเลือดพบ คือ ผลการตรวดวัดเชื้อเอชไอวีในเลือดของผู้ติดเชื้อมีค่าน้อยกว่า 50 copies/mm3 (อาจมีค่าน้อยกว่า 40 หรือ 20 copies/mm3 ขึ้นกับความสามารถของชุดตรวจ)  และมีหลักฐานชัดเจนว่า คนเหล่านี้จะไม่แพร่เชื้อไปสู่คู่นอนของตัวเอง แม้จะไม่ได้หายขาดจากโรคเอดส์ หรือทางเพศสัมพันธ์แม้จะไม่ใส่ถุงยางอนามัย

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ

Table of Contents

  • ตรวจเอชไอวี ไม่เจอ เป็นเพราะอะไร
    • กรณีตรวจเอชไอวี ไม่พบเชื้อ เพราะตรวจเร็วเกินไป
    • กรณีตรวจเอชไอวี ไม่พบเชื้อ เนื่องจากรับประทานยาต้านไวรัส
  • การมีเพศสัมพันธ์แบบหลายคู่นอนของกลุ่มคน U = U มีความเสี่ยงหรือไม่อย่างไร
  • การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยในกลุ่มคน U = U
  • การติดเชื้อเอชไอวีซ้ำซ้อนในกลุ่มคน U=U
  • U=U เหมาะกับใคร
  • ประโยชน์ของ U = U
    • สำหรับผู้ติดเชื้อ
    • สำหรับคนทั่วไป
    • สำหรับสังคม
  • การทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อHIV ที่เป็นกลุ่ม U=U

ตรวจเอชไอวี ไม่เจอ เป็นเพราะอะไร

การที่จะสามารถแพร่เชื้อเอชไอวีได้นั้น จะต้องมีปริมาณของเชื้อไวรัสมากพอสมควร คือ ต้องมีปริมาณไวรัสในเลือดตั้งแต่ 200 – 1,000 copies/ซีซีของเลือด จึงจะสามารถแพร่เชื้อได้  กรณีที่จะตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวี มีดังนี้

กรณีตรวจเอชไอวี ไม่พบเชื้อ เพราะตรวจเร็วเกินไป

ผู้ที่ได้รับความเสี่ยงมา บางบุคคลอาจจะใจร้อน รีบตรวจเกินไป ซึ่งการตรวจเอชไอวีที่ดีนั้น จะมีระยะเวลา และวิธีที่เหมาะสม และเวลาที่ได้รับความเสี่ยงมา โดยประมาณ 1 เดือนหลังจากได้รับความเสี่ยง ถึงจะค่อนข้างน่าเชื่อถือ สำหรับการตรวจรอบแรก การตรวจเอชไอวีรอบแรกหากตรวจไม่พบ ก็ควรจะตรวจซ้ำอีกครั้งที่ทุกๆ 30 วัน เป็นเวลา 3 เดือน หากไม่พบเชื้อถึงจะสามารถปิดเคสได้

กรณีตรวจเอชไอวี ไม่พบเชื้อ เนื่องจากรับประทานยาต้านไวรัส

ผู้ที่รับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง ในทุกๆ วัน มานานกว่า 6 เดือนขึ้นไป อาจจะตรวจไม่เจอเชื้อ (undetectable) เพราะปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือดต่ำกว่า 50 coppies / ซีซีของเลือด ซึ่งมีปริมาณน้อยจนตรวจไม่พบ และไม่แพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้

การมีเพศสัมพันธ์แบบหลายคู่นอนของกลุ่มคน U = U มีความเสี่ยงหรือไม่อย่างไร

ความเสี่ยงยังมีอยู่ เพราะหากมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่ม U = U อาจจะป้องกันความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีได้ แต่ยังมีความเสียงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ หรือการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ที่ไม่สามารถป้องกันได้หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช่ถุงยางอนามัย

การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยในกลุ่มคน U = U

ถ้าจะไม่ใส่ถุงยางอนามัยกับคู่ของตนเอง เพราะเหตุจำเป็น เช่น ไม่มีถุงยาง ถุงยางแตก หรืออยากมีบุตรตามธรรมชาติ ก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องเป็นกังวลหรือโทษตัวเอง และเป็นการทำให้ผู้ติดเชื้อมีความมั่นใจและชีวิตครอบครัวมีความสุขมากขึ้น ส่วนการตัดสินใจว่าจะใส่หรือไม่ใส่ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์แต่ละครั้งนั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม และการยินยอมพร้อมใจกันของคนทั้ง 2 คน ว่าต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไร เป็นกังวลเรื่องอะไร เช่น เป็นกังวลเรื่องตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เพราะ การอยู่ในสถานะตรวจไม่เจอเชื้อ ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ ถ้าไม่ใส่ถุงยางอนามัย  เช่น ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม ไวรัสตับอักเสบ บี และซี ได้

การติดเชื้อเอชไอวีซ้ำซ้อนในกลุ่มคน U=U

ตั้งแต่มีการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสอย่างแพร่หลายในปจจุบัน พบว่ายังไม่มีรายงานการติดเชื้อเอชไอวีซ้ำซ้อน หรือติดเชื้อดื้อยา จากคนอื่นในผู้ที่กินยาต้านไวรัสจนตรวจไม่พอเชื้อแล้วเลย

U=U เหมาะกับใคร

– เหมาะกับคนที่ติดเชื้อเอชไอวีที่กินยาอย่างถูกต้อง ที่จะมั่นใจได้ว่าจะไม่ถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีให้ใครได้อย่างแน่นอน

– เหมาะกับคู่ของคนที่ติดเชื้อเอชไอวี U=U แล้ว เพราะ มั่นใจได้ว่าเป็นวิธีการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่ดีที่สุด

ประโยชน์ของ U = U

สำหรับผู้ติดเชื้อ

มีแรงจูงใจในการกินยาต่อเนื่อง หมั่นไปตรวจหาปริมาณไวรัสในเลือดทุกปีตามสิทธิ์ และทำให้รับรู้สถานะของตนว่า ตรวจไม่เจอจริงหรือไม่ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เช่น มีครอบครัวได้ สุขภาพจิตดีขึ้น มีความมั่นใจตนเองมากขึ้น กล้าตัดสินใจเปิดเผยผลเลือดของตนให้คู่นอนทราบ กล้าชวนคู่ไปตรวจเอชไอวี กล้าตัดสินใจตั้งครรภ์ และเลิกโทษตัวเองว่าอาจเป็นเหตุทำให้คู่ของตนติดเชื้อ เพราะไม่สามารถใส่ถุงยางอนามัยได้ทุกครั้ง รวมถึงลดความกลัวในการคุยกับหมอ เช่น หากหมอถามว่าใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งหรือเปล่า ก็ตอบว่าใส่ทุกครั้งเพราะเกรงใจหมอ ทั้ง ๆ ที่ในชีวิตจริงทำไม่ได้ทุกครั้ง

สำหรับคนทั่วไป

ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือผู้ที่ไม่เคยไปตรวจเลือดเลย กล้าที่จะไปตรวจและเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาในทันทีหากตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวี นำไปสู่รักษาจนตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวี นอกจากจะไม่ป่วยแล้ว ยังสามารถมีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป

สำหรับสังคม

เมื่อสังคมมีความเข้าใจเรื่อง U = U แล้ว อาจทำให้การรังเกียจ และกีดกันผู้ติดลดลง สนับสนุนให้ผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษา ไม่มีเหตุผลในการห้ามไม่ให้เข้าทำงาน เพราะผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาแล้ว ไม่เป็นอันตรายต่อคู่นอนของเขาแม้จะไม่ใส่ถุงยางอนามัยก็ตาม และไม่เป็นอันตรายต่อคนในที่ทำงาน อีกทั้งผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส จะมีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุขัยเท่าคนอื่น ๆ ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี สามารถทำประโยชน์ให้กับองค์กรได้ไม่แตกต่างจากคนที่ไม่ติดเชื้อ และไม่เพิ่มภาระค่ารักษาพยาบาลให้กับองค์กร เพราะรัฐรับภาระการรักษาพยาบาลให้ผู้ติดเชื้อทุกคน

กินยาต้านไวรัสจนตรวจไม่เจอ

การทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อHIV ที่เป็นกลุ่ม U=U

คือ ผู้ติดเชื้อต้องกินยาต้านไวรัสเป็นอย่างดีต่อเนื่องตรงเวลาจนตรวจไม่เจอเชื้อไวรัสในเลือดแล้ว จึงจะไม่แพร่เชื้อให้กับใครได้ แต่ความเป็นจริงเชื้อยังคงอยู่ในเลือดอยู่ และผู้ติดเชื้อยังต้องกินยาต้านไปตลอดชีวิต ดังนั้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจึงเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด แต่การทานยาต้านก็เป็นเพียงการรักษา และป้องกันเอชไอวีเท่านั้น 

แต่อีกสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ เมื่อไม่มีการใช้ถุงยางอนามัย ก็มีความเสี่ยงในเรื่องการตั้งครรภ์ เพราะ กรณีแม่ที่ติดเชื้อแม้ผลเลือดจะเป็นตรวจไม่เจอเชื้อ ก็ยังคงต้องกินยา ลูกที่คลอดออกมาก็ต้องกินยาป้องกันเหมือนเดิม รวมไปถึงการที่แม่ผู้ติดเชื้อไม่สามารถให้นมบุตรได้ เพราะเชื้อเอชไอวียังถูกส่งผ่านทางน้ำนมไปสู่ลูกได้อยู่ถึงแม้ว่าผลเลือดของแม่จะเป็นตรวจไม่เจอเชื้อ ก็ตาม  และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น ซิฟิลิส หนองใน ฯลฯ

เพราะฉะนั้นการไปตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีเร็วจึงมีประโยชน์ ทำให้ทราบสถานะผลเลือดโดยเร็ว เมื่อผลเลือดบวกก็เข้าสู่การรักษาโดยเร็ว ทำให้มีสุขภาพที่ดี ใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนคนที่ไม่มีเชื้อ และต้องเน้นย้ำกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี คือ ผลเลือดตรวจไม่เจอเชื้อ แต่ในร่างกายยังคงมีเชื้อเอชไอวี หากยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ การใช้ยา PrEP / PEP ก็ไม่สามารถให้ผลป้องกันได้ 100% และการใช้ถุงยางอนามัยยัง ก็ยังคงมีความสำคัญในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ที่ถึงแม้จะรักษาให้หายขาดไม่ได้

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

ทำไมถึงควรตรวจเอชไอวีเป็นประจำ?

ความก้าวหน้าของการรักษาเอชไอวีในปัจจุบัน

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ข้อเท็จจริง : เรื่อง U = U https://www.redcross.or.th/news/information/9847/
  • รู้ทันเอชไอวี U=U คืออะไร https://th.trcarc.org/uu-คืออะไร/
  • ตรวจเอดส์ ไม่เจอ เกิดขึ้นจากอะไร https://www.thaihivtest.com/ตรวจเอดส์-ไม่เจอ/
  • U=U คืออะไร และการทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อ HIV https://mobile.swiperxapp.com/pmt-article-uu-hiv/

Filed Under: ตรวจเอชไอวี, ยาต้านไวรัส, เอชไอวี HIV Tagged With: U=U, การมีเพศสัมพันธ์, ตรวจไม่เจอเชื้อ, เชื้อเอชไอวี, ไม่สามารถแพร่เชื้อต่อได้

เพร็พ PrEP ทางเลือกเพื่อป้องกันเอชไอวี

April 9, 2020 by thaihiv365 team

เมื่อตอนที่คนเรายังรู้จักกับเชื้อไวรัสเอชไอวีใหม่ ๆ คนที่ติดโรคนี้จะไม่มีวิธีใดเลยที่รักษาให้ดีขึ้นได้ จึงทำได้เพียงแต่รักษาไปตามอาการที่เกิดขึ้นเท่านั้น เนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ยุคนั้น ยังไม่พัฒนามากพอ กว่าจะได้ยาที่ช่วยควบคุมและบรรเทาอาการของเชื้อเอชไอวีได้ ใช้เวลายาวนานกว่า 60 ปี แต่เมื่อปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมานั้นได้มีการรับรองยาเพร็พ (PrEP) จากองค์การอาการและยาสหรัฐฯ ให้จำหน่ายแก่บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวีได้ และตัวยาก็ได้แพร่หลายไปทั่วโลกนับจากนั้น โดยจุดประสงค์ของยา PrEP จะเป็นยาที่สามารถทานดักไว้ก่อนไปมีความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวีเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้ แต่คนที่รับยานี้ไปทานจะต้องเป็นคนที่ไม่มีเชื้อเอชไอวีเท่านั้น

Prep ป้องกัน เอชไอวี

ยา PrEP หากทานอย่างถูกต้องจะสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากเพศสัมพันธ์ได้ถึงร้อยละ 99 และประมาณร้อยละ 74 จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ถึงแม้ประสิทธิภาพการป้องกันจะไม่ใช่ร้อยละร้อย แต่ยานี้ก็ถือเป็นวิธีป้องกันที่ได้ผลที่สุดที่มีในปัจจุบัน แต่สิ่งสำคัญคือต้องทานยาอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์

หลักการทำงานของยา PrEP คือการกินยาเข้าไปก่อนเพื่อให้ระดับยาในร่างกายอยู่ในระดับมากพอที่จะป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ ธรรมชาติของเชื้อเอชไอวีเมื่อเข้าสู่ร่างกายก็จะทำการจับตัวกับเม็ดเลือดขาวที่เป็นภูมิคุ้มกันด่านแรกของร่างกายและเข้าไปฝังตัวอยู่ในเม็ดเลือดขาวเพื่อใช้สารอาหารในนั้นสำหรับแบ่งตัว พอแบ่งตัวเสร็จตัวลูกก็จะเข้าไปจับกับเม็ดเลือดขาวอีกและทำตามกระบวนการเดิม เมื่อเม็ดเลือดขาวถูกดูดสารอาหารในตัวออกไปหมด มันก็จะตายลงตามธรรมชาติ ถึงแม้ปกติเม็ดเลือดขาวจะตายเร็วอยู่แล้ว แต่ถ้าตายเร็วมาก ๆ จนร่างกายผลิตมาเพิ่มไม่ทันก็จะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเพราะเม็ดเลือดขาวไม่พอนั่นเอง แต่ถ้าทานยา PrEP ดักไว้ก่อนแล้ว ถึงแม้เชื้อเอชไอวีจะเข้าสู่ร่างกายก็จะไม่สามารถแบ่งตัวได้เพราะมียาคอยรบกวนกระบวนการแบ่งตัว และเชื้อทั้งหมดก็จะตายลงในที่สุดเพราะไม่สามารถแบ่งตัวได้ ฉะนั้นถ้าอยากให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดก็ควรทานยาให้ตรงเวลาตามที่แพทย์แนะนำ

การทานยา PrEP หลัก ๆ แล้วจะมีด้วยกันสองวิธีก็คือ

  1. การทานแบบหน้า 7 หลัง 7 คือ การทานยา PrEP ก่อนไปมีความเสี่ยง 7 วันเพื่อให้ระดับยาในร่างกายเพียงพอต่อการป้องกันเชื้อ และหลังจากไปมีความเสี่ยงมาก็ให้ทานยาไปอีก 7 เม็ดเพื่อให้เชื้อที่อาจได้รับมาตายลงทั้งหมดจึงจะเป็นอันจบการทานยาแต่ละครั้ง ซึ่งวิธีนี้จะเป็นสูตรทานยา PrEP มาตรฐานที่สามารถใช้ได้กับทุกเพศไม่ว่าจะเป็น ชาย หญิง หรือบุคคลข้ามเพศก็ตาม
  2. วิธีทานแบบ 2+1+1 คือ สูตรการทาน PrEP ที่มีสำหรับกลุ่มชายรักชายเท่านั้น โดยจะเป็นวิธีการทานที่ประหยัดกว่ามาก วิธีการทานก็คือให้ทานครั้งแรกก่อน 2 เม็ดพร้อมกันก่อนมีความเสี่ยง 2-24 ชั่วโมง จากนั้นก็ให้เว้น 24 ชั่วโมงแล้วทานอีก 1 เม็ด และอีก 24 ชั่วโมงค่อยทานอีก 1 เม็ดสุดท้าย ก็จะเป็นอันจบสูตรทานยาแบบ 2+1+1 ในแต่ละครั้ง แต่หากเพศสัมพันธ์ยังมีต่อไปอีกหลายวัน ก็ให้ทานยาต่อจากที่กิน 2 เม็ดครั้งแรกไปวันละ 1 เม็ดไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายจึงจบด้วยการทานยา 1 เม็ดกับอีก 1 เม็ดก็จะเป็นอันจบสูตร (การทานยาทุกครั้งจะห่างกัน 24 ชั่วโมงเสมอ) ตัวอย่างเช่น หากวางแผนจะมีเพศสัมพันธ์วันจันทร์, อังคาร, และพุธ ก็ให้ทานยาในวันจันทร์ก่อนมีเพศสัมพันธ์ 2 เม็ดรวดเดียว แล้วทานอีก 1 เม็ดวันอังคาร และอีก 1 เม็ดวันพุธ และอีก 1 วันพฤหัส และ 1 เม็ดสุดท้ายวันศุกร์ก็จะเป็นอันจบสูตร

สิ่งสำคัญของการรับยาต้านเชื้อเอชไอวีก็คือการตรวจเลือด เพราะยาต้านไวรัสถือเป็นยาควบคุมในโรงพยาบาล หากจ่ายยาไปเลยโดยไม่ตรวจเอชไอวีก่อนอาจทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อร่างกายคนไข้ได้

Filed Under: ยาต้านไวรัส

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แผลริมอ่อน | Chancroid
  • ไวรัสตับอักเสบบี สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ
  • อวัยวะเพศชาย ดูแลให้เป็น ช่วยห่างไกลโรค
  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”

Archives

  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • แผลริมอ่อน
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง
  • ไวรัสตับอักเสบบี

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in