• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

Archives for August 2022

โรคเริม (Herpes) – โรคติดต่อที่พบบ่อย

August 31, 2022 by thaihiv365 team

โรคเริม (Herpes)

เป็นโรคติดต่อทางผิวหนังชนิดหนึ่ง สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยมักพบผู้ป่วยวัยหนุ่มสาว และวัยผู้ใหญ่ ผู้ป่วยโรคเริมส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการของโรค  หากเป็นแล้วสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก เพราะเมื่อเป็นแล้วอาจทำให้การรักษาให้หายขาดได้ยาก

โรคเริม (Herpes) คืออะไร

เริม (Herpes) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งของผิวหนังและเยื่อเมือกต่าง ๆที่พบบ่อยมากบริเวณปาก และอวัยวะเพศแล้ว ทำให้มีลักษณะพุขึ้นเป็นตุ่มใสเล็ก ๆ แล้วแตกเป็นแผล ตกสะเก็ด ซึ่งหายได้เอง แต่มักกำเริบซ้ำและเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมักมีอาการกำเริบได้บ่อยและรุนแรงกว่าปกติ  

ระยะฟักตัวของโรค

หลังจากได้รับเชื้อครั้งแรกจนกระทั่งแสดงอาการจะใช้เวลาประมาณ 2-20 วัน

สาเหตุการเกิดโรคเริม

โดยเชื้อไวรัสเริมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ ชนิดที่ 1 (Herpes Simplex Virus type 1: HSV-1)  มักพบการติดเชื้อบริเวณปากหรือรอบๆ ปาก เกิดขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น มีความเครียด พักผ่อนน้อย ร่างกายอยู่ในช่วงพักฟื้นจากการเจ็บป่วยหรือผ่าตัด หรือ แม้แต่ช่วงที่ผู้หญิงมีประจำเดือน ก็สามารถป่วยด้วยโรคนี้ได้ เช่น อาการเริมที่ปาก พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
  • เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ ชนิดที่ 2 (Herpes Simplex Virus type 2: HSV-2) เป็นการติดเชื้อที่บริเวณอวัยวะสืบพันธ์ หรือ อวัยวะเพศ ช่องคลอด ปากมดลูก ทหารหนัก อวัยวะเพศชาย ถุงอัณฑะ เป็นต้น พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก

การติดเชื้อทั้ง 2  ชนิดนั้น สามารถเป็นปัจจัยสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกายได้เช่นกัน เมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น การติดเชื้อที่สมอง และอวัยวะสำคัญต่างๆ

HSV-1 และ HSV-2 เหมือนกันหรือไม่ ?

เชื้อไวรัสทั้ง 2 ชนิด สามารถทำให้เกิดโรคเริมที่อวัยวะเพศได้ทั้งคู่ แต่โดยส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 70-90 เปอร์เซ็นต์  ของการติดเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 (HSV-1) เกิดในตำแหน่งที่สูงกว่าเอว พบมากบริเวณริมฝีปากและจมูก และร้อยละ 70-90 ของการติดเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 2 (HSV-2) เกิดในตำแหน่งที่ต่ำกว่าเอว ซึ่งนั่นหมายถึงบริเวณอวัยวะเพศ

โรคเริมเกิดที่ไหนได้อีกบ้าง

โรคเริมเกิดที่ไหนได้อีกบ้าง

นอกจากโรคเริมจะพบได้บ่อยที่บริเวณปาก และอวัยวะเพศแล้ว โรคเริ่มยังสามารถเกิดขึ้นกับบริเวณอื่นได้เช่นกัน

  1. เริมที่ริมฝีปาก เริมในปาก เริมที่มุมปาก
    เริ่มต้นจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนและคันบริเวณปากก่อนเกิดผื่น จากนั้นผื่นจะพัฒนาเป็นตุ่มใส และอาจรวมกันเป็นแผลใหญ่ขึ้น ผู้ป่วยมักจะมีไข้ต่ำๆ ร่วมด้วย อาการของโรคแทรกซ้อนที่อาจพบคือ เชื้อไวรัสแพร่ไปติดเนื้อเยื่อข้างเคียง ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องการติดเชื้ออาจทำให้เสียชีวิตได้
  2. เริมที่ขา
    เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน หรือปวดเสียว อาจมีอาการปวดแปลบมาก่อนที่จะเกิดตุ่มน้ำใสขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร โดยจะขึ้นกันเป็นกลุ่ม
  3. โรคเริมที่จมูก หรือ โรคเริมที่ตา
    มีตุ่มน้ำใสเกิดเป็นกระจุกหรือกลุ่ม เมื่อมีอาการผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ถ้าพบว่ากระจกตาอักเสบจาก Herpes simplex virus แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสแบบทา  ซึ่งปกติมักจะหายไปได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์
  4. เริมที่คอ
    เกิดแผลเปื่อยในช่องปาก ซึ่งมักจะเป็นแผลเดียวเกิดขึ้นที่บริเวณเหงือกหรือที่เพดานแข็ง มีลักษณะเป็นตุ่มน้ำในช่วงแรกๆ จากนั้นน้ำจะแตกออก ทำให้เกิดสะเก็ดสีเหลืองปกคลุมอยู่บนพื้นสีแดง และเกิดแผลตื้นเมื่อลอกสะเก็ดออกจะกลายเป็นแผลตื้นสีแดง
  5. เริมที่อวัยวะเพศ
    เกิดตุ่มพองเล็กๆ แล้วแตกออก ทำให้เกิดการตกสะเก็ดและหายไปใน 2 -3 สัปดาห์ ในเพศหญิงมักเกิดบริเวณช่องคลอด ทวารหนักและสะโพก ส่วนในเพศชายจะเกิดบริเวณอวัยวะเพศ ถุงอัณฑะ บริเวณสะโพกใกล้ทวารหนัก ทำให้เกิดอาการเจ็บ แสบ คันบาดแผลจากตุ่มพอง พร้อมทั้งเจ็บขณะปัสสาวะร่วมด้วย

กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงติดเชื้อโรคเริม

  • ทุกๆคนจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ herpes simplex โดยเฉพาะกลุ่มที่มีฐานะไม่ดี โดยเชื้อ (HSV-1) จะติดต่อทางสารหลั่งในปาก ส่วน (HSV-2) จะติดต่อทางอวัยวะเพศ ทวารหนัก เมื่อเชื้อเข้าทางผิวหนังเชื้อจะไปตามเส้นประสาททำให้เชื้อลามเป็นบริเวณกว้างและอาจจะเกิดผื่นที่บริเวณใหม่
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อเริมที่ปากคือวัยเด็กอายุ 4-5 ปีมักติดต่อทางการสัมผัสเช่นการใช้ของร่วมกัน การจูบ ไม่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เชื้อนี้สามารถติดต่อจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งโดยเฉพาะที่ตาโดยการสัมผัสด้วยมือดังนั้นต้องล้างมือให้สะอาด
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อเริมที่อวัยวะเพศมักเกิดในผู้ที่มีคู่ขาหลายคน การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก oral sex ซึ่งเชื้อที่เป็นสาเหตุมักจะเป็น type 1 การป้องกันการติดเชื้อควรงดมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางคุมกำเนิดขณะมีอาการติดเชื้อ
  • การเป็นเริมในทารกมักจะติดเชื้อในแม่ที่ติดเชื้อ HSV-2 และมีการคลอดก่อนกำเนิดหรือต้องใช้เครื่องมือในการคลอด
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นเช่น นักมวยปล้ำ นักรักบี้ นักมวย ผู้ป่วยโรคเอดส์
  • มีการศึกษาว่าแม้จะไม่มีผื่นหรืออาการเชื้อก็สามารถแพร่ออกมาได้ ดังนั้นไม่มีหลักประกันว่าการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่มีอาการจะปลอดภัยจากโรคเริม
  • ปัจจัยที่สามารถกระตุ้นทำให้เกิดเริมซ้ำ ได้แก่ ความวิตกกังวล ความเครียด เป็นไข้ ร่างกายอ่อนแอ ขาดสารอาหาร การเจ็บป่วยจากโรคอื่น ภูมิคุ้มกันต่ำ พบในกลุ่มคนที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ คนที่กำลังได้รับยารักษาโรคมะเร็ง และการผ่าตัดที่กระทบกระเทือนต่อเส้นประสาท

อาการของโรคเริม

อาการของการติดเชื้อทั้ง 2 ชนิด อาการของโรคจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ติดเชื้อ อายุ ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย และชนิดของเชื้อไวรัสเริม จะเริ่มจากพบตุ่มพองใสๆ เล็กๆ ที่บริเวณผิวหนัง จากนั้น ตุ่มใสจะเริ่มพองและปวดแสบปวดร้อน เมื่อผ่านไป 1- 2 วัน ตุ่มใสจะมีน้ำอยู่ข้างในและเริ่มแตกออก หากมีการติดเชื้อก็จะเกิดการอักเสบลุกลามและเกิดแผลขนาดใหญ่รักษาหายยากขึ้น

อาการร่วมนอกจากการมีตุ่มใส คือ อาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาการก่อโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส อาการจึงคล้ายโรคหวัด แต่ไม่มีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหลเหมือนหวัด แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นครั้งแรกจะรู้สึกอาการรุนแรงและใช้เวลานานกว่าจะหายประมาณ 1-2  สัปดาห์ ส่วนผู้ที่เคยเป็นแล้วกลับมาเป็นใหม่ระยะเวลาการหายจะเร็วขึ้น เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันแล้ว

เมื่อใด ควรไปพบแพทย์

  • มีตุ่มพอง ลุกลามมาก
  • ไข้สูง ไข้ไม่ลดภายใน 1 – 3 วัน (ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ)
  • เริ่มมีอาการทางดวงตา เช่น เจ็บตา เคืองตา น้ำตาไหล
  • มีตุ่มน้ำเป็นหนอง ต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยา
  • มีไข้สูง ร่วมกับปวดศีรษะมาก แขน ขาอ่อนแรง ชัก และ/หรือโคม่า

การวินิจฉัยโรคเริม

  1. แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคเริมได้จากประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และจากลักษณะตุ่มน้ำ 
  2. แต่ในบางรายซึ่งมีอาการไม่ชัดเจน แพทย์อาจตรวจหาเชื้อด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การขูดแผลนำเนื้อเยื่อไปย้อมสี การตรวจหาสารก่อภูมิต้านทาน (แอนติเจน) หรือดีเอ็นเอของเชื้อเริมจากแผลหรือสิ่งคัดหลั่ง การทดสอบทางน้ำเหลืองเพื่อหาระดับสารภูมิต้านทาน (แอนติบอดี)
  3. มักตรวจพบตุ่มน้ำใสขนาด 2-3 มิลลิเมตร หลายตุ่มอยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ หรือพบตุ่มตกสะเก็ดหรือแผลเล็ก ๆ คล้ายรอยถลอกในบริเวณผิวหนังส่วนใดส่วนหนึ่ง ริมฝีปาก หรือที่อวัยวะเพศ และอาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงโตและเจ็บ ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย อาจตรวจพบแผลขึ้นพร้อมกันหลายแห่งในช่องปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กที่เป็นเริมในช่องปาก

การรักษาโรคเริม

ถ้าผู้ป่วยมีอาการแสดงชัดเจน แพทย์จะให้การรักษาไปตามอาการ (เช่น ให้ยาแก้ปวดลดไข้ ยาบรรเทาอาการคัน ให้สารน้ำในรายที่มีภาวะขาดน้ำ) ร่วมไปกับการให้ยาต้านไวรัส ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของโรค ช่วยให้หายเร็วขึ้น และลดโอกาสการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น แต่มักจะไม่ได้มีผลในการป้องกันการกำเริบซ้ำ เพราะยาต้านไวรัสไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสที่แฝงตัวอยู่ในปมประสาทได้ 

ส่วนในรายที่มีอาการแสดงไม่ชัดเจน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัย ซึ่งวิธีการรักษาโรคนี้ที่สำคัญคือการให้ยาต้านไวรัส เพื่อตรวจรักษาอย่างละเอียดและป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อน

การรักษาที่สำคัญที่สุดของโรคเริม คือ การป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน โดยเฉพาะในบริเวณอวัยวะสำคัญ เช่น ดวงตา เพราะ การติดเชื้อเริม บริเวณใดก็ตาม ต้องดูแลตุ่มใสไม่ให้เกิดการอักเสบติดเชื้อซ้ำซ้อน เพราะถ้าหากติดเชื้อแทรกซ้อน จะทำให้เกิดการทำลายอวัยวะที่ติดเชื้อได้ เช่น ติดเชื้อที่ดวงตาสามารถทำให้ตาบอดหรือสูญเสียการมองเห็นได้ หากติดเชื้อลุกลามอวัยวะภายในก็สามารถสร้างความอันตรายได้เช่นกัน เช่น การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น

กระจกตาอักเสบ (Keratitis)

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเริม

ส่วนใหญ่โรคเริมมักหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แล้วอาการอาจกำเริบขึ้นเป็นครั้งคราว มีเพียงส่วนน้อยที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนมักจะเกิดจากการดูแลทำความสะอาดแผล และตุ่มใสจากเริม ได้ไม่ดี เช่น

  • ตุ่มหรือแผลกลายเป็นหนองพุพองจากการอักเสบซ้ำของการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ถ้าเริมขึ้นที่ตาอาจทำให้กระจกตาอักเสบ (Keratitis) ถึงกับทำให้สายตาพิการได้ หรือรุนแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้เลยทีเดียว
  • ในเด็กที่เป็นเริมในช่องปากอาจมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากดื่มนมและน้ำไม่ได้
  • ผู้หญิงที่เป็นเริมที่อวัยวะเพศ อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น
  • เชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 อาจเข้าไปที่ประสาทใบหน้า (Facial nerve) ทำให้เส้นประสาทอักเสบ กลายเป็นอัมพาตใบหน้าครึ่งซีกหรืออัมพาตเบลล์ได้
  • สำหรับในคุณแม่ตั้งครรภ์ การติดเชื้อเริมครั้งแรกส่งผลเสียร้ายแรงโดยสามารถทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้โดยเฉพาะในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์
  • อีกกรณีที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่เกิดได้น้อยมาก คือ ตัวผู้ป่วยมีภาวะภูมิต้านทานต่ำเป็นทุนเดิม อาจติดเชื้อที่บริเวณสมองหรือเยื่อหุ้มสมอง ส่งผลให้สมองอักเสบ ปวดศีรษะมาก อ่อนแรง ชักและอาจโคม่าได้

การป้องกันโรคเริม

  • สำหรับคนที่ยังไม่เคยได้รับเชื้อ ต้องหมั่นรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพราะเชื้อเริมอาจมีในสิ่งแวดล้อมทั่วไป ซึ่งเราสามารถสัมผัสเชื้อผ่านสิ่งของ เครื่องใช้ การใช้สิ่งของหรืออุปกรณ์ในที่สาธารณะ หากร่างกายอ่อนแอ และถ้าหากเรามีสุขภาพไม่แข็งแรง เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายเชื้อก็จะสามารถก่อโรคและอันตรายได้
  • ดื่มน้ำ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  • สวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคติดต่อ
  • หลีกเลี่ยงการเที่ยวหญิงบริการ และมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่คู่ครอง แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมถุงยางอนามัยด้วยทุกครั้ง รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงการสัมผัสที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก (Oral-genital contact)
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผล น้ำลาย หรือสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีตุ่มตามผิวหนังหรือเยื่อเมือก หรือผู้ป่วยที่มีแผลเปื่อยในช่องปาก (โดยปกติแล้วระยะแพร่เชื้อติดต่อให้ผู้อื่นได้ คือ ตั้งแต่เริ่มมีอาการนำจนกระทั่งแผลหายตกสะเก็ด)
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น จานชาม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า มีดโกน เป็นต้น
  • ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้งห้าหมู่ในทุก ๆ วัน นอนหลับพักผ่อนให้เพียง และทำให้จิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส/หลีกเลี่ยงความเครียด
  • การรับประทานยาต้านไวรัสทุกวันสามารถช่วยลดการแพร่เชื้อได้ แต่เนื่องจากยามีผลข้างเคียง จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา
  • ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเริม แต่กำลังมีการศึกษาคิดค้นกันอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นโรคที่พบได้บ่อย

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

ทำความรู้จักกับ โรคฝีดาษลิง

ผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • เริม https://www.mplusthailand.com/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ/เริม/
  • เริม โรคเริม ( Herpes ) คืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และการป้องกันโรคเริม เป็นอย่างไร
  • https://www.bangkoksafeclinic.com/th/โรคเริม/
  • เริม https://www.paolohospital.com/th-th/phrapradaeng/Article/Details/Uncategorized/เริม
  • โรคเริม (Herpes Simplex) https://www.doctorraksa.com/th-TH/blog/herpes-simplex.html

Filed Under: Uncategorized, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ Tagged With: Herpes, Herpes Simplex Virus, HSV-1, HSV-2, สาเหตุการเกิดโรคเริม, โรคเริม, ไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์

สิทธิประโยชน์การบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์

August 21, 2022 by thaihiv365 team

สิทธิประโยชน์การบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์

สิทธิประโยชน์  ผู้ป่วยโรคเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวี ของระบบประกันสุขภาพ 3 กองทุน มีดังนี้

  1. สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UCS) 
  2. สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (OFC) 
  3. สิทธิประกันสังคม (SSS) 

รายละเอียดระบบประกันสุขภาพแต่ละกองทุน ดังนี้

สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UCS) 

สิทธิหลักประกันสุขภาพ, บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือที่รู้จักกันในนาม สิทธิ30 บาท หรือสิทธิบัตรทองช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายจากค่ารักษาพยาบาลโรคเรื้อรัง โรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง

1. บริการให้คำปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ (VCT) ให้ทุกสิทธิกับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 

2. มีการกำหนดสิทธิประโยชน์ตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทยปี 2560 และลงทะเบียนผู้ป่วย

3. จัดหาและกระจายยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐานและสูตรดื้อยา ผ่านเครือข่ายหน่วยบริการ ด้านยาและเวชภัณฑ์ (รพ.ราชวิถี) คือ

  • มีการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัส ทั้งสูตรพื้นฐาน และสูตรดื้อยา 
  • มีการดูแลรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง จากการกินยาต้านไวรัส
  • ได้รับยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี จากแม่สู่ลูก

4. บริการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่

  • ตรวจหาจำนวน เม็ดเลือดขาว ชนิด CD4
  • ตรวจหา เชื้อดื้อต่อยาต้านไวรัส
  • ตรวจหาปริมาณเชื้อเอชไอวี ในกระแสเลือด
  • ตรวจเลือดพื้นฐาน
  • มีการตรวจ Viral Load  ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง
  • ตรวจไวรัสเพื่อประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อของทารก  (32-36 สัปดาห์) 
  • ตรวจคัดกรอง/ยืนยันไวรัสตับอักเสบซีในกลุ่มผู้ติดเชื้อ
  • ศูนย์องค์รวมนิเทศน์ ติดตามเยี่ยมบ้านตามสมัครใจ 
  • บริการคัดกรอง “วัณโรค” ด้วย Chest X-Ray : CXR ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ 

5. ด้านการกำกับติดตามการรักษา

  • บริการให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม
  • ถุงยางอนามัย

สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (OFC) 

  • ข้าราชการทุกหน่วยงานเบิกจ่ายตรงกับโรงพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้
  • ครอบคลุมบริการตามระบบปกติ
  • การรักษาเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา
  • ไม่มีระบบบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะ  
  • ตามระยะเวลาของการเป็นข้าราชการ
  • ตรวจสอบสถานพยาบาลและประเมินค่าใช้จ่าย เว็บไซด์กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th

สิทธิประกันสังคม (SSS)  

  • สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ให้ความคุ้มครองผู้ประกันตนที่ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ที่เป็นโรคเอดส์ (AIDS) ทั้งในการตรวจและรับยาต้านไวรัสเอชไอวี เพียงเข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลตามสิทธิเท่านั้น 
  • มีการกำหนดสิทธิประโยชน์ตามแนวทางการตรวจรักษา และป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทยปี 2560
  • ใช้ระบบสารสนเทศ (ระบบNAP) ร่วมกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการลงทะเบียนผู้ติดเชื้อ
  • สำนักงานประกันสังคม 

จะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้กับสถานพยาบาลตามสิทธิของผู้ประกันตน ได้แก่

  • ค่าตรวจ CD4 เหมาจ่ายครั้งละ 500 บาท ปีละไม่เกิน 1,000 บาท/คน 
  • ค่าตรวจ Viral Load เหมาจ่ายครั้งละ 2,500 บาท ปีละไม่เกิน 5,000 บาท/คน
  • ค่าตรวจ Drug resistance ครั้งละ 8,500 บาท/คน/ปี

ดูแลค่ายาต้านไวรัสเอชไอวี ให้แก่ผู้ประกันตนที่มีสิทธิ ดังนี้

  • ให้ยาต้านไวรัสเอชไอวี ในผู้ติดเชื้อทุกรายในทุกระดับ CD4
  • การพิจารณาเริ่มยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี และการเลือกสูตรยาต้านไวรัส ให้เป็นไปตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยสถานพยาบาลสามารถเลือกใช้ยาต้านไวรัสได้ตามรายการที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
  • จัดหาและกระจายยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐานและสูตรดื้อยาผ่านระบบ VMI ให้กับ รพ.ทุกแห่ง ในระบบประกันสังคม โดยผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาที่ รพ. ที่ตนเองขึ้นทะเบียนไว้  (รพ.ตามบัตรรับรองสิทธิ) 

หมายเหตุ เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์

การขอเงินเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ 

   คุณสมบัติผู้ที่จะขอรับความช่วยเหลือ (คนละ 500 บาท/เดือน)

  • ต้องเป็นผู้ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยที่ปรากฏอาการ และมีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจน
  • ถูกทอดทิ้ง ขาดผู้อุปการะดูแล ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้
  • มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขต อบต. จริง
  • ต้องอาศัยอยู่ในเขต อบต. จริง
  • ได้รับความเห็นชอบจากคณะผู้บริหาร อบต.
  • มีฐานะยากจน โดยรายได้เฉลี่ยต่อคน ต่ำกว่า 20,000 บาท ต่อปี

    หลักฐานการรับความช่วยเหลือ

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • ใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ปรากฏอาการ

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

ทำความรู้จักกับ โรคฝีดาษลิง

กามโรคคืออะไร?

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • สิทธิประโยชน์ ‘บัตรทอง’ สำหรับผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวี https://news.trueid.net/detail/O1X2QDvamWBz
  • สิทธิประโยชน์ผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวี https://healthserv.net/สิทธิประโยชน์ผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวี-สปสช-3172
  • ข้าราชการ https://www.mplusthailand.com/hivaids/สิทธิการรักษา/ข้าราชการ/
  • สิทธิประกันสังคม ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และโรคเอดส์ (AIDS) https://news.trueid.net/detail/yPb92Y5Jjv5m
  • เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ-ผู้พิการ-ผู้ป่วยเอดส์ https://kudkha.go.th/index/?page=article8965

Filed Under: เอชไอวี HIV Tagged With: ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ป่วยโรคเอดส์, สิทธิประกันสังคม, สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ, สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี

August 11, 2022 by thaihiv365 team

ผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี

ผื่นที่ผิวหนัง เป็นอาการทั่วไปเมื่อเกิดการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ขึ้น อาการมักจะเป็นสัญญาณเริ่มแรก และมักจะเกิดขึ้นในช่วง 2 – 3 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างก่าย ซึ่งอาการผื่นอาจไม่ได้เป็นเกิดจากการติดเชื้อเท่านั้น แต่ยังเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ได้ด้วย

ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี

อาจจะเรียกว่า ผื่นเอชไอวี หรือเอดส์เฉียบพลัน  เป็นผื่นเอชไอชวีเฉียบพลันมักจะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการติดเชื้อ ผื่นจะปรากฏในส่วนเดียว หรือหลายส่วนของร่างกาย และอาจทำให้เกิดอาการคันที่ผืนด้วย 

วิธีการสังเกตผื่น มีดังนี้

สังเกตดูว่าเป็นผื่นแดง บวมเล็กน้อย และคันมากๆ หรือไม่

ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี มักจะเป็นจุดด่างดวงบนผิวหนัง ถ้าเป็นคนผิวขาวก็จะเป็นจุดสีแดง แต่ถ้าเป็นคนผิวสีเข้มก็จะเป็นสีดำอมม่วง โดยความรุนแรงของผื่นจะไม่เท่ากันในแต่ละคน บางคนก็อาจจะมีผื่นขึ้นรุนแรงมากเป็นบริเวณกว้าง ในขณะที่บางคนก็อาจจะมีผื่นขึ้นนิดหน่อยเท่านั้น แต่ถ้าผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี เป็นผลมาจากยาต้านไวรัส ผื่นจะเป็นรอยแผลแดงบวมไปทั่วร่างกาย ผื่นแบบนี้เรียกว่า ผื่นแพ้ยา

สังเกตว่าผื่นขึ้นตรงไหล่ หน้าอก ใบหน้า ท่อนบนของร่างกาย และมือหรือไม่

ผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี มักจะขึ้นในบริเวณเหล่านี้ แต่ก็มักจะหายไปเองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ทำให้บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาการแพ้ หรือผิวหนังอักเสบ ซึ่งผื่นที่เกิดจากเอชไอวี ไม่สามารถติดต่อกันได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความเสี่ยงว่าจะแพร่เชื้อเอชไอวี ผ่านทางผื่นสู่คนอื่นได้

สังเกตอาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นตอนที่เป็นผื่นเอชไอวี

ผื่นเอชไอวีจะมีอาการเจ็บ และคัน ในช่วงเวลาที่ ผื่นปรากฏและจะมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นอาการเริ่มแรกของการติดเชื้อเอชไอวี อาการเหล่านี้

  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • แผลในปาก
  • มีไข้ และปวดหัว
  • ท้องเสีย
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ตะคริวและปวดตามร่างกาย
  • ต่อมน้ำเหลืองโต และบวม
  • สายตาเบลอหรือพร่ามัว
  • ไม่อยากอาหาร
  • ปวดตามข้อ
  • ความเมื่อยล้า
  • อาการเจ็บคอ
  • สูญเสียความกระหาย
  • น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ

สาเหตุของผื่นจากเชื้อเอชไอวี

ผื่นเกิดจากการที่เซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลง จะเกิดขึ้นในระยะไหนของการติดเชื้อก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้ว มีผื่นจะเกิดขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจากที่คุณได้รับเชื้อ เป็นระยะที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงในตัวอย่างเลือด ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเราสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีได้จากการตรวจเลือด แต่บางคนก็อาจจะไม่ผ่านขั้นตอนนี้ แต่จะมีผื่นขึ้นหลังจากติดเชื้อไวรัสไปถึงระยะอื่นแล้วก็ได้

และนอกจากนี้ผื่นเอชไอวี ยังอาจเป็นอาการแพ้ยาต้านไวรัสเอชไอวี ก็ได้ เช่น Amprenavir Abacavir และ Nevirapine อาจก่อให้เกิดผื่นเอชไอวี ได้

ในช่วงของการติดเชื้อเอชไอวี ในระยะที่สาม คุณอาจจะมีผื่นขึ้นเนื่องจากผิวหนังอักเสบ ผื่นเอชไอวี ชนิดนี้จะเป็นสีชมพูหรือออกแดงๆ และคัน มักจะขึ้นเป็นเวลา 1-3 ปีและมักจะขึ้นตรงขาหนีบ รักแร้ หน้าอก ใบหน้า และหลัง

ผลเลือดเป็นบวก

วิธีการรักษาผื่นที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี

ถ้าคุณมีผื่นขึ้นเล็กน้อย ให้เข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี

หากยังไม่ได้ตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี แพทย์ก็อาจจะตรวจเพื่อดูว่าได้รับเชื้อไวรัสหรือเปล่า ถ้าผลเป็นลบ ก็อาจจะหาสาเหตุอื่นต่อไปว่า ผื่นที่เกิดขึ้นจากการปฏิกิริยาแพ้อาหารหรือปัจจัยอื่นๆ หรือไม่ และอาจจะมีปัญหาผิวหนังอักเสบก็ได้

ถ้าผลออกมาเป็นบวก แพทย์อาจจะสั่งยาต้านและรักษาเชื้อเอชไอวี ทำให้มีผื่นขึ้นเล็กน้อย แต่ผื่นจะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์

เพื่อให้อาการของผื่นลดลงโดยเฉพาะอาการคัน แพทย์อาจจะสั่งสารต้านฮิสทามีน เช่น Benadryl หรือ Atarax หรือครีมที่มีส่วนประกอบของคอร์ติโคสตีรอยด์ให้เพื่อรักษาอาการคันที่ผื่นได้

เข้ารับการรักษาทันทีหากอาการผื่นรุนแรง

ผื่นบางชนิดอาจจะมีอาการไม่รุนแรง ในขณะที่บางชนิดอาจจะทำให้เกิดการทำลายผิวหนังอย่างรุนแรง และทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้  อาการผื่นขึ้นอย่างรุนแรงยังอาจเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ ของเชื้อไวรัส เช่น มีไข้ คลื่นไส้หรืออาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ และแผลในปากด้วย ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

ปรึกษาแพทย์หากอาการแย่ลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากรับประทานยา

บางคนอาจจะมีภาวะภูมิไวเกินต่อยาบางตัว ทำให้อาการติดเชื้อเอชไอวี รวมทั้งผื่นเอชไอวี แย่ลง แพทย์อาจจะสั่งให้หยุดยา และให้ยาตัวอื่นที่สามารถกินแทนได้ โดยอาการของภาวะภูมิไวเกินมักจะหายไปภายใน 24-48 ชั่วโมง ชนิดของยาต้านไวรัสมี 3 ชนิดหลัก ๆ ที่อาจทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนังได้ก็คือ 

  • NNRTIs
  • NRTIs
  • PIs
  • NNRT เช่น nevirapine (Viramune) เป็นยาที่ทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนังได้บ่อยที่สุด Abacavir (Ziagen) เป็นยา NRTI ที่อาจทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนัง PIs และ amprenavir (Agenerase) กับ tipranavir (Aptivus) ก็อาจทำให้ผื่นขึ้นได้เช่นเดียวกัน

อย่ารับประทานยาที่ก่อให้เกิดอาการแพ้

ถ้าแพทย์แนะนำให้คุณหยุดกินยา เนื่องจากภาวะภูมิไวเกิน หรืออาการแพ้ ก็อย่ากินยานั้นอีก เพราะการกินยาตัวนั้นอีกครั้งเสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงกว่าเดิมที่อาจลุกลาม และทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิมมาก

ถามแพทย์เรื่องการติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดผื่น

ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี มีโอกาสที่จะติดเชื้อแบคทีเรียมากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากเซลล์ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ มักเกิดขึ้นได้บ่อยกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคพุพอง รูขุมขนที่หนังศีรษะอักเสบ ฝี เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ จุดฝีเล็กๆ และแผลเปื่อย ควรสอบถามแพทย์เพิ่มเติม

ควรกินยาต้านไวรัสเอชไอวีต่อ

รักษาอาการผื่นด้วยตัวเอง

ใช้ยาทาที่ผื่น

แพทย์อาจจะสั่งยาทาต้านอาการแพ้ หรือยาที่ช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง หรือคัน หรืออาจจะซื้อครีมที่เป็นสารต้านฮิสทามินตามร้านขายยาทั่วไปเพื่อช่วยบรรเทาอาการก็ได้ ทาครีมตามที่ระบุไว้ที่บรรจุภัณฑ์

การใช้ยาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่น การใช้ครีมไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) หรือ diphenhydramine (Benadryl) นั้นอาจจะช่วยลดอาการคัน และขนาดของผื่นได้ ผื่นที่รุนแรงกว่านั้นอาจจะต้องใช้ยาที่แพทย์สั่งจ่าย

หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงหรืออากาศหนาวเกินไป

ทั้งสองอย่างนี้เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดผื่น HIV และอาจทำให้ผื่นยิ่งแย่ลงได้ เช่น ถ้าออกไปข้างนอก ให้ทาครีมกันแดดทั่วร่างกายเพื่อปกป้องผิวหนังหรือใส่เสื้อแขนยาวกับกางเกงขายาว หรืออยู่ในที่ที่อากาศหนาวมากๆ ให้ใส่เสื้อโค้ตและเสื้อผ้าอุ่นๆ เวลาออกไปข้างนอกเพื่อไม่ให้ผิวหนังสัมผัสกับความหนาวเย็นมากเกินไป

อาบน้ำเย็น

น้ำร้อนจะทำให้ผื่นระคายเคือง หลีกเลี่ยงการแช่น้ำหรืออาบน้ำฝักบัวด้วยน้ำร้อน แล้วเปลี่ยนไปแช่น้ำเย็นหรือเช็ดตัวเพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองของผิวแทน  โดย อาจจะอาบน้ำฝักบัว หรือแช่อ่างอาบน้ำในน้ำที่ค่อนข้างอุ่นและใช้การเช็ดแทนการถูตัว และทามอยเจอไรเซอร์ธรรมชาติ เช่น ครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าว หรือว่านหางจระเข้ทันที ที่อาบน้ำเสร็จเพื่อช่วยเยียวยาผิวได้

เปลี่ยนมาใช้สบู่อ่อนๆ หรือสบู่สมุนไพร

สบู่ที่มีสารเคมีอาจทำให้ผิวระคายเคืองและทำให้ผิวแห้งและคัน  ควรหาสบู่อ่อนๆ เช่น สบู่เด็ก หรือสบู่สมุนไพร หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีจำพวกปิโตรเลียม ได้แก่ Methyl- Propyl- Butyl- Ethylparaben และ Propylene Glycol เพราะทั้งหมดนี้เป็นวัตถุดิบสังเคราะห์ที่อาจทำให้ผิวหนังระคายเคืองหรือทำให้เกิดอาการแพ้

ใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายนุ่มๆ

เสื้อผ้าที่ทำจากใยสังเคราะห์ หรือใยผ้าที่ไม่ระบายอากาศอาจทำให้คุณเหงื่อออกและทำให้ผิวยิ่งระคายเคืองกว่าเดิม การใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปก็อาจทำให้ เสื้อผ้าถูกับผิว และทำให้ผื่นเอชไอวี แย่ลงตามไปด้วย

รับประทานยาต้านไวรัสต่อ

ควรกินยาต้านเอชไอวี ตามที่แพทย์สั่ง เพราะยาจะออกฤทธิ์ได้เต็มประสิทธิภาพ เพราะยาจะช่วยให้ค่า t-cell ดีขึ้น และรักษาอาการอย่างผื่นเอชไอวี ได้ หากคุณไม่แพ้ยาต้านไวรัสเหล่านั้น

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ที่มักพบในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์

ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • วิธีการ สังเกตผื่นที่เกิดจากเชื้อ HIV  https://th.wikihow.com/สังเกตผื่นที่เกิดจากเชื้อ-HIV
  • ผื่นเอชไอวีหรือเอดส์เฉียบพลัน https://www.icare-thai.com/article/33/quotquotผื่นเอชไอวีหรือเอดส์เฉียบพลันquotquot

Filed Under: เอชไอวี HIV Tagged With: ผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี, ผื่นเอชไอวี, ผื่นเอดส์, วิธีการสังเกตผื่นเอชไอวี

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แผลริมอ่อน | Chancroid
  • ไวรัสตับอักเสบบี สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ
  • อวัยวะเพศชาย ดูแลให้เป็น ช่วยห่างไกลโรค
  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”

Archives

  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • แผลริมอ่อน
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง
  • ไวรัสตับอักเสบบี

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in