• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

Archives for April 2020

อาการแบบนี้ ใช่โรคหนองในเทียมหรือเปล่า?

April 16, 2020 by thaihiv365 team

ต้องยอมรับว่ากลุ่มวัยรุ่นในปัจจุบัน มีโอกาสพบเจอกันได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น จากแอพพลิเคชั่นออนไลน์ทั่วไป อันเป็นเหตุมาซึ่งความเสี่ยงที่จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้นเช่นกัน หนึ่งในกามโรคที่ตรวจพบได้บ่อยไม่น้อยไปกว่าไวรัสเอชไอวี เลยก็คือ “โรคหนองในเทียม” ซึ่งจะพบได้ในกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มคนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย กลุ่มผู้ใช้บริการทางเพศ หรือกลุ่มคนที่มีรสนิยมไม่ชอบสวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ อาจเนื่องมาจากการที่ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษา การป้องกันโรค หรืออาจมีแนวคิดว่าการสวมถุงยางอนามัยมันไม่เท่ห์ และทำให้อรรถรสในการมีเพศสัมพันธ์ลดน้อยลง

อาการหนองในเทียม หนองในเทียม เชื้อหนองในเทียม โรคหนองในเทียม ตรวจหนองในเทียม ยาหนองในเทียม รักษาหนองในเทียม สาเหตุหนองในเทียม

โรคหนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis) เกิดจากการติดเชื้อจากหลายปัจจัย ได้แก่ แบคทีเรีย โปรโตซัว เชื้อรา แต่ส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Chlamydia Trachomatis ซึ่งพบได้ประมาณ 40% ที่สังเกตอาการได้ชัดเจนที่สุดและระบุได้ว่าไม่ใช่โรคหนองในแท้ คือ หนองในเทียมจะไม่มีการติดเชื้อหนอง มีระยะฟักตัวของโรคหลังจากได้รับเชื้อ มักจะแสดงอาการภายใน 7-14 วันขึ้นไป

การติดต่อของโรคหนองในเทียม

หนองในเทียม จะติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้สวมถุงยางอนามัยเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก ทั้งในคู่รักชายหญิงทั่วไป กลุ่มชายรักชาย หรือหญิงรักหญิงด้วยก็สามารถทำให้ติดเชื้อหนองในเทียมได้เช่นกัน เพราะเชื้อนี้สามารถติดต่อกันได้แม้เพียงสัมผัสโดนบริเวณโรค นอกจากนี้ยังอาจติดต่อจากแม่ไปสู่ลูก ในขณะที่มีการคลอดปกติทางช่องคลอดได้อีกด้วย

อาการของโรคหนองในเทียม

ในระยะแรกที่ติดเชื้อใหม่ ๆ แทบจะไม่มีอาการอะไรแสดงออกมา จนกว่าจะติดเชื้อได้สักประมาณ 7-30 วันขึ้นไปแล้ว หากมีเพศสัมพันธ์ทางปาก (การทำออรัลเซ็กส์) อาจมีโอกาสติดเชื้อในลำคอ มีอาการเจ็บคอเรื้อรัง เป็นไขและไอ หากมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก จะรู้สึกเจ็บปวดบริเวณนั้น อาจมีน้ำ หรือเลือดออกมาจากทวารหนักได้ การติดเชื้อหนองในเทียม ยังสามารถกระจายไปที่ลำไส้ตรงซึ่งเป็นส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ ที่ต่อกับทวารหนักได้ด้วย โดยอาการจะแบ่งออกตามเพศ ดังนี้

ในเพศชาย

  • จะมีมูกใส ๆ หรือขุ่น ไหลซึมออกมาจากปลายอวัยวะเพศเล็กน้อย แต่ไม่มีลักษณะข้น และออกมาเยอะมากแบบโรคหนองในแท้ (ไม่ใช่ปัสสาวะ หรือน้ำอสุจิ)
  • รู้สึกเจ็บ หรือมีอาการอักเสบที่บริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
  • เวลาปัสสาวะจะรู้สึกเจ็บ หรือแสบที่อวัยวะเพศ ปวดบวมที่ลูกอัณฑะ

ในเพศหญิง

  • มีอาการตกขาวลักษณะผิดปกติ และมีกลิ่นเหม็น
  • เวลาปัสสาวะจะรู้สึกเจ็บหรือแสบที่อวัยวะเพศ เหมือนกับเพศชาย
  • รู้สึกคัน หรือแสบร้อนบริเวณรอบอวัยวะเพศ
  • เจ็บท้องน้อย ปวดหลัง มีไข้ คลื่นไส้ ในช่วงที่มีประจำเดือน
  • มีเลือดออกผิดปกติในขณะที่กำลังมีเพศสัมพันธ์ หรือระหว่างที่ยังไม่เป็นประจำเดือน
ถุงยางอนามัย HIV เอชไอวี AIDS โรคเอดส์ ตรวจเลือด กามโรค เชื้อหนองใน โรคติดต่อทางเพศ ถุงยางอนามัยป้องกันเอชไอวี

อาการดังกล่าวข้างต้นนี้ จะป้องกันได้ด้วยการใส่ใจในการป้องกันตนเองเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง ก็จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อหนองในเทียมได้มากขึ้น แต่หากติดเชื้อแล้วควรรีบตรวจ รีบรักษาเสียแต่เนิ่น ๆ เพราะอาการเหล่านี้ อาจจะเป็นแบบเรื้อรังนานแรมเดือนแรมปี และยังส่งต่อเชื้อให้กับคู่นอนของคุณไปเป็นทอด ๆ ทำให้รักษาไม่หายขาด เพราะฉะนั้นหากคุณมีความเสี่ยง วิธีการที่จะยับยั้งไม่ให้เชื้อลุกลามเป็นปัญหาไปมากกว่านี้ คือ การตัดสินใจไปตรวจหาเชื้อ และทำการรักษาจากแพทย์เฉพาะทาง ผู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะดีที่สุด

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

  • ทำไมถึงควรตรวจเอชไอวีเป็นประจำ
  • เพร็พ PrEP ทางเลือกเพื่อป้องกันเอชไอวี

Filed Under: โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ Tagged With: กามโรค, หนองในเทียม, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เพร็พ PrEP ทางเลือกเพื่อป้องกันเอชไอวี

April 9, 2020 by thaihiv365 team

เมื่อตอนที่คนเรายังรู้จักกับเชื้อไวรัสเอชไอวีใหม่ ๆ คนที่ติดโรคนี้จะไม่มีวิธีใดเลยที่รักษาให้ดีขึ้นได้ จึงทำได้เพียงแต่รักษาไปตามอาการที่เกิดขึ้นเท่านั้น เนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ยุคนั้น ยังไม่พัฒนามากพอ กว่าจะได้ยาที่ช่วยควบคุมและบรรเทาอาการของเชื้อเอชไอวีได้ ใช้เวลายาวนานกว่า 60 ปี แต่เมื่อปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมานั้นได้มีการรับรองยาเพร็พ (PrEP) จากองค์การอาการและยาสหรัฐฯ ให้จำหน่ายแก่บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวีได้ และตัวยาก็ได้แพร่หลายไปทั่วโลกนับจากนั้น โดยจุดประสงค์ของยา PrEP จะเป็นยาที่สามารถทานดักไว้ก่อนไปมีความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวีเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้ แต่คนที่รับยานี้ไปทานจะต้องเป็นคนที่ไม่มีเชื้อเอชไอวีเท่านั้น

Prep ป้องกัน เอชไอวี

ยา PrEP หากทานอย่างถูกต้องจะสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากเพศสัมพันธ์ได้ถึงร้อยละ 99 และประมาณร้อยละ 74 จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ถึงแม้ประสิทธิภาพการป้องกันจะไม่ใช่ร้อยละร้อย แต่ยานี้ก็ถือเป็นวิธีป้องกันที่ได้ผลที่สุดที่มีในปัจจุบัน แต่สิ่งสำคัญคือต้องทานยาอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์

หลักการทำงานของยา PrEP คือการกินยาเข้าไปก่อนเพื่อให้ระดับยาในร่างกายอยู่ในระดับมากพอที่จะป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ ธรรมชาติของเชื้อเอชไอวีเมื่อเข้าสู่ร่างกายก็จะทำการจับตัวกับเม็ดเลือดขาวที่เป็นภูมิคุ้มกันด่านแรกของร่างกายและเข้าไปฝังตัวอยู่ในเม็ดเลือดขาวเพื่อใช้สารอาหารในนั้นสำหรับแบ่งตัว พอแบ่งตัวเสร็จตัวลูกก็จะเข้าไปจับกับเม็ดเลือดขาวอีกและทำตามกระบวนการเดิม เมื่อเม็ดเลือดขาวถูกดูดสารอาหารในตัวออกไปหมด มันก็จะตายลงตามธรรมชาติ ถึงแม้ปกติเม็ดเลือดขาวจะตายเร็วอยู่แล้ว แต่ถ้าตายเร็วมาก ๆ จนร่างกายผลิตมาเพิ่มไม่ทันก็จะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเพราะเม็ดเลือดขาวไม่พอนั่นเอง แต่ถ้าทานยา PrEP ดักไว้ก่อนแล้ว ถึงแม้เชื้อเอชไอวีจะเข้าสู่ร่างกายก็จะไม่สามารถแบ่งตัวได้เพราะมียาคอยรบกวนกระบวนการแบ่งตัว และเชื้อทั้งหมดก็จะตายลงในที่สุดเพราะไม่สามารถแบ่งตัวได้ ฉะนั้นถ้าอยากให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดก็ควรทานยาให้ตรงเวลาตามที่แพทย์แนะนำ

การทานยา PrEP หลัก ๆ แล้วจะมีด้วยกันสองวิธีก็คือ

  1. การทานแบบหน้า 7 หลัง 7 คือ การทานยา PrEP ก่อนไปมีความเสี่ยง 7 วันเพื่อให้ระดับยาในร่างกายเพียงพอต่อการป้องกันเชื้อ และหลังจากไปมีความเสี่ยงมาก็ให้ทานยาไปอีก 7 เม็ดเพื่อให้เชื้อที่อาจได้รับมาตายลงทั้งหมดจึงจะเป็นอันจบการทานยาแต่ละครั้ง ซึ่งวิธีนี้จะเป็นสูตรทานยา PrEP มาตรฐานที่สามารถใช้ได้กับทุกเพศไม่ว่าจะเป็น ชาย หญิง หรือบุคคลข้ามเพศก็ตาม
  2. วิธีทานแบบ 2+1+1 คือ สูตรการทาน PrEP ที่มีสำหรับกลุ่มชายรักชายเท่านั้น โดยจะเป็นวิธีการทานที่ประหยัดกว่ามาก วิธีการทานก็คือให้ทานครั้งแรกก่อน 2 เม็ดพร้อมกันก่อนมีความเสี่ยง 2-24 ชั่วโมง จากนั้นก็ให้เว้น 24 ชั่วโมงแล้วทานอีก 1 เม็ด และอีก 24 ชั่วโมงค่อยทานอีก 1 เม็ดสุดท้าย ก็จะเป็นอันจบสูตรทานยาแบบ 2+1+1 ในแต่ละครั้ง แต่หากเพศสัมพันธ์ยังมีต่อไปอีกหลายวัน ก็ให้ทานยาต่อจากที่กิน 2 เม็ดครั้งแรกไปวันละ 1 เม็ดไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายจึงจบด้วยการทานยา 1 เม็ดกับอีก 1 เม็ดก็จะเป็นอันจบสูตร (การทานยาทุกครั้งจะห่างกัน 24 ชั่วโมงเสมอ) ตัวอย่างเช่น หากวางแผนจะมีเพศสัมพันธ์วันจันทร์, อังคาร, และพุธ ก็ให้ทานยาในวันจันทร์ก่อนมีเพศสัมพันธ์ 2 เม็ดรวดเดียว แล้วทานอีก 1 เม็ดวันอังคาร และอีก 1 เม็ดวันพุธ และอีก 1 วันพฤหัส และ 1 เม็ดสุดท้ายวันศุกร์ก็จะเป็นอันจบสูตร

สิ่งสำคัญของการรับยาต้านเชื้อเอชไอวีก็คือการตรวจเลือด เพราะยาต้านไวรัสถือเป็นยาควบคุมในโรงพยาบาล หากจ่ายยาไปเลยโดยไม่ตรวจเอชไอวีก่อนอาจทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อร่างกายคนไข้ได้

Filed Under: ยาต้านไวรัส

ความก้าวหน้าของการรักษาเอชไอวีในปัจจุบัน

April 9, 2020 by thaihiv365 team

โรคเอชไอวีและเอดส์ ถือเป็นโรคร้ายที่อยู่กับคนเรามาร่วมหนึ่งร้อยปีแล้ว นับตั้งแต่การค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2463 ที่สมัยนั้น มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว เพราะโรคนี้ไม่มีอาการใด ๆ  แสดงออกมา ประกอบกับช่วงเวลานั้นที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ ยังไม่พัฒนามากนัก ทำให้โรคนี้ส่งต่อไปทั่วโลกโดยใช้เวลาไม่นาน

ข้อมูลโรคเอดส์สมัยก่อน

โรคเอชไอวีในสมัยก่อน สามารถรักษาได้ตามอาการเท่านั้น และยังไม่มียารักษาที่ได้ผล ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตทั่วโลกจำนวนมาก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2527 ก็ได้มีการคิดค้นชุดตรวจขึ้น สำหรับโรคเอชไอวี ทำให้สามารถยืนยันตัวผู้ป่วยได้ และในปี พ.ศ. 2530 ก็ได้มีการพัฒนายาต้านไวรัสเอชไอวีรุ่นแรกขึ้นมาชื่อว่า AZT (Azidothymidine) ที่มีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อเอชไอวี ไม่ให้แบ่งตัวได้เพื่อรอให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายพัฒนากลับขึ้นมา แต่เนื่องจากเป็นยารุ่นแรก ทำให้มีผลข้างเคียงที่รุนแรงในหลาย ๆ รายที่ทานยา และภายในปี พ.ศ. 2533 ทั่วทั้งโลกมียอดผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่พัฒนาไปเป็นเอดส์แล้วถึง 400,000 ราย

ผ่านมากว่า 30 ปี ก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี การรักษาเอชไอวีให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มีวิธีการตรวจเอชไอวีที่แม่นยำขึ้น และรวดเร็วขึ้นมาก รวมถึงมีต้นทุนที่ถูกลงอีกด้วย ทำให้การตรวจเอชไอวี สามารถทำได้ในสถานพยาบาลทุกแห่งที่มีเครื่องมือพร้อม ส่วนการรักษาเอชไอวีในปัจจุบัน ก็ยังเป็นการทานยาต้านไวรัสเอชไอวีเหมือนเดิม แต่ยาจะไม่ใช่ชุดที่ทานครั้งละหลาย ๆ เม็ดเหมือนสมัยก่อน แต่จะเป็นยารวมเม็ดที่อาจต้องทานแค่วันละ 1-2 เม็ดเท่านั้น ตามแต่แพทย์จะแนะนำ และอาจมีการนัดให้มาตรวจเลือด เพื่อดูปริมาณไวรัสในเลือดและปริมาณเม็ดเลือดขาวเป็นครั้งคราว เพื่อดูว่าคนไข้ตอบสนองต่อยาได้ดีแค่ไหน ถ้ารักษาด้วยการทานยาไปเรื่อย ๆ ก็จะสามารถลดปริมาณไวรัสในเลือดลงได้มากถึงขั้นที่ตรวจไม่พบเชื้อเลย ซึ่งถ้าถึงระดับนี้แล้วจะทำให้บุคคลนั้น ๆ ไม่สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่นได้อีกและเทียบได้กับผู้ไม่มีเชื้อ ตราบใดที่ยังทานยาอย่างสม่ำเสมออยู่

ตรวจเอชไอวี เอดส์ ยารักษาเอดส์ ยาต้านไวรัส ตรวจเอดส์ รักษาเอชไอวี ยาเพร็พ ยาเป๊ป ยาต้านฉุกเฉิน ผลเลือดบวก ผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี วิธีตรวจเอชไอวี

โดยหลักการนี้ เป็นผลสรุปมาจากงานวิจัยที่ศึกษาคู่รักจำนวนหนึ่ง ที่หนึ่งคนมีเชื้อเอชไอวี แต่อีกคนไม่มีเชื้อมาเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี และผลสรุปที่ได้ คือ ไม่มีคู่รักคนไหนเลยแม้แต่คนเดียวที่ติดเชื้อเอชไอวี ไม่ว่าจะเป็นคู่รักเพศเดียวกัน หรือต่างเพศก็ตาม ซึ่งหลักการนี้มีชื่อเรียกว่า

U=U (undetectable=Untransmittable)

หรือที่เรียกว่า ไม่พบ=ไม่แพร่ ซึ่งหลักการนี้ ถือเป็นงานวิจัยชิ้นสำคัญว่า เทคโนโลยีการรักษาโรคเอชไอวีพัฒนาไปไกลพอสมควรแล้ว นอกจากนี้ยาต้านไวรัสเอชไอวีที่ว่า ยังสามารถนำมาใช้ในบริบทอื่นได้อีกด้วย เช่น

  • ยาเพร็พ PrEP: ที่มีชื่อย่อมาจาก (Pre-Exposure Prophylaxis) หรือยาต้านเอชไอวีก่อนมีความเสี่ยง โดยยาสูตรนี้ ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อคนที่ยังไม่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ นำมาทานก่อนวางแผนจะไปมีเพศสัมพันธ์ที่อาจเสี่ยงรับเชื้อเอชไอวีในอนาคต โดยการทานยานี้จะเป็นการทานแบบดักไว้ก่อนไปมีความเสี่ยง เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีนั่นเอง
  • ยาเป๊ป PEP: ที่มีชื่อย่อมาจาก (Post-Exposure Prophylaxis) โดยยาสูตรนี้จะเป็นยาสำหรับคนที่ยังไม่มีเชื้อเอชไอวีเช่นกัน แต่ใช้ในกรณีที่ไปมีความเสี่ยงรับเชื้อมาแล้ว เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยกับคนที่สงสัยว่าจะมีเชื้อเอชไอวี หรือในบุคลากรการแพทย์ที่ต้องทำงานกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย แล้วเกิดอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำ หรือสารคัดหลั่งกระเด็นเข้าตา โดยยาสูตรนี้จำเป็นต้องทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากมีความเสี่ยงรับเชื้อมาเท่านั้น ถ้าหากทานยาได้ทันก็ต้องทานไปอย่างน้อย 28 วันหรือนานกว่านั้น และค่อยกลับมาตรวจเลือดซ้ำเพื่อสรุปผลการรักษา

ทั้งนี้ยาทั้งสองสูตรที่กล่าวมา มีข้อจำกัดคือ ต้องมีการตรวจเอชไอวีและตรวจเลือดเพื่อตรวจผลต่าง ๆ ก่อนการจ่ายยาทุกครั้ง เพราะยาเหล่านี้ เป็นยาควบคุมในโรงพยาบาลที่มีข้อจำกัดหลายอย่าง ฉะนั้นหากคิดว่าตนเองมีความเสี่ยง และอยากรับยาเพร็พ ยาเป๊ปก็ควรสอบถามแพทย์ผู้จ่ายยาให้ครบถ้วนก่อนเริ่มทานยา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

  • ยาเพร็พ (PrEP) คืออะไร
  • ยาเป๊ป (PEP) ยาฉุกเฉินหลังเสี่ยง

ตรวจเอชไอวี เอดส์ ยารักษาเอดส์ ยาต้านไวรัส ตรวจเอดส์ รักษาเอชไอวี ยาเพร็พ ยาเป๊ป ยาต้านฉุกเฉิน ผลเลือดบวก ผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี วิธีตรวจเอชไอวี

การรักษาเอชไอวี

ถึงแม้ในปัจจุบันยาต้านไวรัสเอชไอวี จะไม่ใช่วิธีการรักษาเอชไอวีให้หายขาดก็ตาม แต่หากทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะทำให้ผู้มีเชื้อเอชไอวีสามารถมีชีวิตยืนยาวได้ไม่ต่างกับคนอื่น ๆ และมีร่างกายแข็งแรงได้เหมือนกันทุกประการ แต่สิ่งสำคัญคือ การมีระเบียบในการทานยา และห้ามหยุดยาเท่านั้น ซึ่งเทคโนโลยีการรักษาทั้งหมดนี้ ใช้เวลาพัฒนาเพียงไม่นานเท่านั้นที่จะได้มา เพราะฉะนั้นถึงตอนนี้อาจจะต้องทานยาอยู่ แต่ในอนาคตอันใกล้ก็ไม่แน่ว่าอาจจะมีเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ทำให้ทุกคนหายขาดจากเอชไอวีไปเลยก็ได้

Filed Under: เอชไอวี HIV Tagged With: ยาต้านไวรัส, เอชไอวี, โรคเอดส์

ทำไมถึงควรตรวจเอชไอวีเป็นประจำ?

April 5, 2020 by admin

การตรวจเอชไอวีถือเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่หากคุณอยู่ในความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนก็ไม่จำเป็นต้องเข้าตรวจบ่อยมากนัก หรือตรวจแค่ปีละครั้งเพื่อความสบายใจก็ได้ เพราะคุณไม่ได้อยู่ในความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวี แต่ถ้าคุณมีการเปลี่ยนคู่นอนหลายครั้งก็ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 2-3 ครั้ง หรือทุก ๆ สามเดือนก็ได้เพื่อความสบายใจของตนเอง หรือหากมีผลเลือดเปลี่ยนไปก็จะได้เข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนจะอยู่ในระยะอันตราย หากไม่อยากกังวลเรื่องโรคเอชไอวี สิ่งที่ทำได้คือหมั่นใช้ถุงยางอนามัยให้เป็นนิสัย เพราะถุงยางอนามัยสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เกือบทุกชนิดหรืออีกทางเลือกหนึ่งก็คือการทานยาต้านเชื้อเอชไอวีก่อนเสี่ยง (PrEP) เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนมีเพศสัมพันธ์ก็ได้

ตรวจเอชไอวี his test

ปัจจุบันถ้าไม่นับโรค COVID-19 ที่แพร่ระบาดในระดับทั่วโลก หรือที่เรียกกันว่าเป็นแพนเดมิก (Pandemic) ก็มีโรคเอชไอวีนี่เองที่เป็นอีกโรคหนึ่งที่แพร่ระบาดระดับโลกเหมือนกัน ซึ่งปัจจุบันได้คร่าชีวิตคนไปกว่า 32 ล้านคนแล้วทั่วโลกนับตั้งแต่ครั้งแรกที่ค้นพบโรคนี้ในช่วงปี พ.ศ. 2463 และทุกวันนี้ก็ยังมีจำนวนคนเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี

เอชไอวีนี้เชื่อกันว่ามีจุดเริ่มต้นมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ที่ทวีปแอฟริกา ซึ่งแพร่กระจายได้เร็วมากเพราะสมัยก่อนวิทยาการทางการแพทย์ยังไม่พัฒนามากเท่าปัจจุบันทำให้ไม่สามารถตรวจพบได้ ประกอบกับธรรมชาติของโรคนี้ที่ไม่แสดงอาการใด ๆ เลยเป็นปี ๆ ทำให้โรคนี้ถือเป็นภัยที่แพร่ระบาดทั่วโลกมาร่วมหนึ่งสหัสวรรษแล้ว ซึ่งปัจจุบันโรคเอชไอวีสามารถแบ่งได้เป็นสองชนิด คือ HIV-1 และ HIV-2 แต่ที่พบได้ทั่วไปจะเป็นประเภท HIV-1 มากกว่าเพราะมีโอการติดโรคสูงกว่า HIV-2 ที่ส่วนมากพบในแถบตะวันตกของทวีปแอฟริกาเท่านั้น

ปกติแล้วคนไทยสามารถใช้สิทธิตรวจเอชไอวีฟรีได้ปีละสองครั้งที่สถานพยาบาลรัฐต่าง ๆ หากใครสนใจก็สามารถโทรสอบถามทางโรงพยาบาลได้ แต่การตรวจที่โรงพยาบาลอาจต้องใช้เวลานานเล็กน้อยตามแต่การบริหารจัดการของแต่ละแห่ง นอกจากนี้ยังมีทางเลือกอื่นก็คือคลินิกเฉพาะทางด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั่วไปที่จะสามารถทราบผลตรวจได้เร็วกว่าในโรงพยาบาลแต่อาจต้องมีค่าใช้จ่ายต่างกันเล็กน้อย

วิธีการตรวจที่สามารถทำได้จะมีหลัก ๆ สองวิธี คือ

  • วิธีตรวจคัดกรองทั่วไป (Anti-HIV test) จะเป็นวิธีตรวจคัดกรองมาตรฐานที่รับรองโดยองค์การอนามัยโลกเพื่อเป็นวิธีตรวจหลักสำหรับโรคเอชไอวี โดยวิธีนี้จะสามารถตรวจได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยปรกติแล้วจะใช้เวลาตรวจแค่ 20-25 นาทีเท่านั้นแต่จะมีระยะเวลาฟักตัวก่อนตรวจได้แม่นยำอยู่ที่ 3 สัปดาห์ (สามารถตรวจได้เร็วสุด 2 สัปดาห์แต่ความแม่นยำจะลดลง) ปัจจุบันวิธีตรวจนี้มีแบบล่าสุดคือ 4th generation anti-HIV test ซึ่งในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ หรือคลินิกเฉพาะทางส่วนมากใช้เป็นมาตรฐานแล้ว แต่ก็ยังมีสถานพยาบาลบางแห่งใช้วิธี 3rd generation ที่เป็นวิธีเก่ากว่าอยู่ วิธี 3rd generation นี้จะมีความแม่นยำน้อยกว่าแบบล่าสุด และต้องใช้เวลานานกว่า 3 สัปดาห์ถึงจะตรวจได้ เพราะฉะนั้นควรสอบถามสถานพยาบาลให้ดีก่อนจะเข้ารับการตรวจ
  • วิธีตรวจ PCR สำหรับเอชไอวี ซึ่งเป็นทางเลือกอีกวิธีหนึ่งที่สามารถใช้ตรวจเอชไอวีได้และมีผลลัพธ์แม่นยำเหมือนวิธีตรวจคัดกรองทั่วไป และสามารถตรวจได้ภายใน 7 วันหลังจากมีความเสี่ยงรับเชื้อเอชไอวี แต่วิธีนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักเพราะมีวิธีการซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ามาก ประกอบกับการที่ต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าในการทำการตรวจแต่ละครั้งทำให้วิธีตรวจนี้เป็นเพียงทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการตรวจเท่านั้น

เอชไอวีติดต่อกันได้อย่างไร ?

อย่างที่ทุกคนรู้กันดีคือเอชไอวีนั้นติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่งในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น เลือด น้ำเหลือง น้ำนม น้ำอสุจิ หรือ น้ำหล่อลื่นจากอวัยวะเพศทั้งสอง ทำให้สาเหตุการติดมากที่สุดมาจากเพศสัมพันธ์ที่มีการสอดใส่ แต่สาเหตุอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นได้ก็จะเป็นการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้มีเชื้อ หรือการรับเลือดที่มีเชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยตรงซึ่งมีโอกาสเกิดน้อยกว่าการมีเพศสัมพันธ์มาก ฉะนั้นหากเพศสัมพันธ์คือสาเหตุหลัก สิ่งที่ป้องกันได้ดีที่สุดก็คือการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เพราะหากไม่มีการสัมผัสกันโดยตรงระหว่างเยื่อบุของอวัยวะเพศกับผนังเยื่อบุภายในร่างกายผู้อื่น สารคัดหลั่งก็จะไม่สามารถสัมผัสกันได้ทำให้แพร่เชื้อไม่ได้นั่นเอง

ถุงยางอนามัยป้องกันเอชไอวี

แต่ถึงคนจะใช้ถุงยางทุกครั้งก็ไม่ได้แปลว่าจะป้องกันเอชไอวีได้ร้อยละร้อยเพราะถุงยางอนามัยเป็นเหมือนการใช้สิ่งของมาเคลือบบริเวณอวัยวะเพศตอนมีเพศสัมพันธ์เท่านั้นและยังไม่สามารถคลุมบริเวณอื่น เช่น ผิวหนังตรงโคนอวัยวะเพศที่อาจเกิดบาดแผลจากสาเหตุต่าง ๆ ได้ เลยทำให้ถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันเอชไอวีได้ทั้งหมดเนื่องจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ฉะนั้นหากใครที่อยากรู้สถานะตนเองว่ามีเชื้อเอชไอวีอยู่หรือไม่ ก็ควรเข้ารับการตรวจเลือดหาเอชไอวีที่สถานพยาบาลต่าง ๆ เพราะถ้าไม่ตรวจดูก็จะไม่รู้เลยว่ามีเชื้อหรือไม่เนื่องจากโรคเอชไอวีเกือบร้อยละร้อยจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลยในช่วงแรก ๆ ที่ติดเชื้อ หากเริ่มมีก็จะอยู่ในระยะที่อันตรายแล้ว

Filed Under: เอชไอวี HIV

Primary Sidebar

Recent Posts

  • สารพัดประโยชน์ของถุงยางอนามัย
  • เอชไอวีป้องกันได้ ด้วยการทาน “PrEP”
  • หนองในแท้ (Gonorrhoea) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ
  • ค่า CD4 คืออะไร?
  • การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย..ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

Archives

  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • หนองในแท้
  • เอชไอวี HIV
  • เอดส์
  • แผลริมอ่อน
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง
  • ไวรัสตับอักเสบบี

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in