• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV

January 12, 2022 by 365team

ถึงแม้ว่าโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจะมีมานานมากแล้ว แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังมีความรู้ความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี ทำให้ปัจจุบันต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโรคเอดส์ และเชื้อเอชไอวี หรือการเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง

Table of Contents

  • เอชไอวี คืออะไร
  • โรคเอดส์ คืออะไร
  • สาเหตุการติดเชื้อเอชไอวี
  • เรื่องที่คนมักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับเอชไอวีและเอดส์
    • โรคเอดส์ กับ เชื้อ HIV เป็นคนละตัวกัน
    • โรคเอดส์ ยังมีโอกาสรอดชีวิต
    • คนเป็นเอดส์ ติดเชื้อ HIV ต้องเสียชีวิตด้วยอาการแผล ตุ่ม หนอง
    • ผู้ป่วยโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV คือคนที่สำส่อนในเพศสัมพันธ์
    • เชื้อ HIV ไม่ใช่ไข้หวัดที่จะติดต่อกันได้ง่าย
    • เชื้อเอชไอวีแพร่ผ่านการสัมผัส น้ำตา เหงื่อ น้ำลาย หรือปัสสาวะได้
    • วิธีการรักษาแบบแปลก ๆ สามารถกำจัดเชื้อเอชไอวีได้
    • ยุงแพร่เชื้อเอชไอวีได้
    • เราไม่อาจติดเชื้อเอชไอวีได้จากการทำออรัลเซ็กส์
    • เราไม่อาจติดเอชไอวีได้ ถ้าเราสวมถุงยาง
    • ไม่มีอาการ หมายความว่า ไม่มีเชื้อเอชไอวี
    • ผู้ติดเชื้อ HIV สามารถมีครอบครัวได้
  • อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

เอชไอวี คืออะไร

เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

โรคเอดส์ คืออะไร

เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome – AIDS) คือ กลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่งกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลายจนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้

สาเหตุการติดเชื้อเอชไอวี

สามารถติดเชื้อเอชไอวีโดย การสัมผัสกับเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอด หรือแม้แต่น้ำนมแม่ สาเหตุ การแพร่เชื้อส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์

เรื่องที่คนมักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับเอชไอวีและเอดส์

โรคเอดส์ กับ เชื้อ HIV เป็นคนละตัวกัน

HIV คือ เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง  ส่วนโรคเอดส์ คือ โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เชื้อเอชไอวีทำลาย

โรคเอดส์ ยังมีโอกาสรอดชีวิต

ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาโรคเอดส์ได้โดยตรง แต่ถ้าหากตรวจพบในระยะที่ยังเป็นการติดเชื้ออยู่ สามารถทานยาต้านไวรัส เพื่อไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำร้ายภูมิคุ้มกันในร่างกาย จนเกิดอาการความผิดปกติออกมา ดังนั้นหากตรวจพบเชื้อได้เร็ว ก็จะยิ่งควบคุมเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ง่าย จนไม่เชื้อไม่พัฒนาเป็นโรคเอดส์ที่สมบูรณ์ โอกาสรอดก็มีสูงขึ้น และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป

คนเป็นเอดส์ ติดเชื้อ HIV ต้องเสียชีวิตด้วยอาการแผล ตุ่ม หนอง

อาการแผล ตุ่ม หนอง หรือ ผื่น ที่เกิดขึ้นในผู้ติดเชื้อ เป็นอาการทางผิวหนังของระยะการเป็นโรคของการติดเชื้อ หรืออาจเป็นผลข้างเคียงของการใช้ยาที่รักษาการติดเชื้อ ก็ได้  ซึ่งไม่ว่าผื่นนั้นจะเกิดจากการใช้ยา หรือจากตัวเชื้อไวรัสเอง โดยส่วนใหญ่ผื่นนั้นจะมีสีแดงแบนบนผิวหนังและมีตุ่มนูนแดงอยู่ด้านบน

ผู้ป่วยโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV คือคนที่สำส่อนในเพศสัมพันธ์

การติดเชื้อไม่ได้เกิดจากเพศสัมพันธ์เท่านั้น หลายคนที่อาจติดเชื้อ HIV จากแม่ หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อก็เป็นได้

เชื้อ HIV ไม่ใช่ไข้หวัดที่จะติดต่อกันได้ง่าย

  • เชื้อ HIV จะไม่ติดต่อกันผ่านทาง กอด จูบ (ยกเว้นกรณีที่มีแผลในปาก แล้วจูบแลกน้ำลายกัน) 
  • ทานข้าวร่วมกัน จานเดียวกัน ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน หรือแม้แต่ใช้ช้อน ส้อมคันเดียวกัน
  • มีเพศสัมพันธ์ด้วยการใช้ถุงยางอนามัย 
  • ลมหายใจ 
  • ใช้สิ่งของอุปโภคร่วมกัน ใช้สบู่ ครีมอาบน้ำ แชมพู ยาสีฟัน ร่วมกัน
  • การใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายที่ยิม
  • การสัมผัสที่ฝารองนั่งในห้องน้ำ, ลูกบิดประตู หรือที่จับ

เชื้อเอชไอวีแพร่ผ่านการสัมผัส น้ำตา เหงื่อ น้ำลาย หรือปัสสาวะได้

จริง ๆ แล้ว เชื้อเอชไอวีไม่สามารถแพร่ผ่านการสัมผัส น้ำตา เหงื่อ น้ำลาย หรือปัสสาวะ

วิธีการรักษาแบบแปลก ๆ สามารถกำจัดเชื้อเอชไอวีได้

  • การอาบน้ำหลังจากมีเพศสัมพันธ์ 
  • การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ยังบริสุทธิ์อยู่ สามารถกำจัดเชื้อเอชไอวีได้

ยุงแพร่เชื้อเอชไอวีได้

ถึงแม้ว่าเชื้อเอชไอวีสามารถแพร่เชื้อผ่านทางเลือดของผู้ติดเชื้อไปสู่คนอื่นได้  แต่ไม่สามารถติดเชื้อเอชไอวีจากการถูกแมลงกัด หรือถูกแมลงดูดเลือดได้  เพราะ เมื่อถูกแมลงกัด แมลงเหล่านั้นไม่ได้ฉีดเลือดของคน หรือสัตว์ที่พวกมันกัดก่อนหน้านี้ ใส่คนที่มันกัดต่อหลังจากนั้น เนื่องจากเชื้อเอชไอวีมีชีวิตอยู่ได้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ภายในตัวของแมลงเหล่านั้น

เราไม่อาจติดเชื้อเอชไอวีได้จากการทำออรัลเซ็กส์

การทำออรัลเซ็กส์ มีความเสี่ยงน้อยกว่าการมีเพศสัมพันธ์บางรูปแบบ อัตราการแพร่เชื้อน้อยกว่า 4 ครั้ง จากการทำออรัลเซ็กส์ 10,000 ครั้ง แต่คุณอาจติดเชื้อเอชไอวีได้จากการทำออรัลเซ็กส์กับชายหรือหญิงที่มีเชื้อเอชไอวี จึงเป็นเหตุผลที่แพทย์แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยเสมอ แม้แต่การทำออรัลเซ็กส์

เราไม่อาจติดเอชไอวีได้ ถ้าเราสวมถุงยาง

ถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันการสัมผัสเชื้อเอชไอวีได้ ในกรณีที่ถุงยางเกิดแตก, หลุด, หรือรั่ว ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์  ก็ทำให้สามารถติดเชื้อได้อยู่

ไม่มีอาการ หมายความว่า ไม่มีเชื้อเอชไอวี

ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีอาจใช้ชีวิตตามปกติโดยไม่มีอาการใด ๆ เลย เป็นเวลานาน 10-15 ปี พวกเขาอาจจะมีอาการเจ็บป่วยที่คล้ายกับหวัด รวมถึง การมีไข้, ปวดหัว, ผื่น, หรือเจ็บคอ ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการติดเชื้อ จึงจำเป็นต้องมีการตรวจเลือด หลังจากมีความเสี่ยงจากการสัมผัสเชื้อ เพื่อเพิ่มความมั่นใจ และความปลอดภัยสำหรับตนเอง และผู้อื่น

ผู้ติดเชื้อ HIV สามารถมีครอบครัวได้

การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ใช้ถุงยางอนามัย จะทำให้มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อได้ แต่หากอยากมีครอบครัว ผู้สามารถจูงมือคู่รัก เพื่อปรึกษาแพทย์ หาทางออกในการมีครอบครัว มีบุตรโดยที่บุตรไม่ติดเชื้อ HIV ได้

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • ทำไมถึงควรตรวจเอชไอวีเป็นประจำ?
  • ความก้าวหน้าของการรักษาเอชไอวีในปัจจุบัน

Filed Under: เอชไอวี HIV Tagged With: เอชไอวี, เอดส์, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคเอดส์

Primary Sidebar

Recent Posts

  • แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน
  • เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”
  • โรคฝีมะม่วง..ภัยร้ายใกล้ตัว
  • หนองในเทียม (Chlamydia)
  • CD4 ที่เท่าไหร่ถึงเรียกว่าระดับน่าเป็นห่วง

Archives

  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • November 2021
  • September 2021
  • April 2021
  • November 2020
  • September 2020
  • May 2020
  • April 2020

Categories

  • PEP
  • PrEP
  • Uncategorized
  • ตรวจเอชไอวี
  • ถุงยางอนามัย
  • ยาต้านไวรัส
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เอชไอวี HIV
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคฝีดาษลิง
  • โรคฝีมะม่วง

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in

Go to mobile version