• Skip to primary navigation
  • Skip to main content

ThaiHiv365

Never leave someone behind.

  • หน้าแรก
  • จองคิวตรวจเอชไอวี
  • เอชไอวีและเอดส์
    • การรักษาเอชไอวี
    • การป้องกันเอชไอวี
    • การตรวจเอชไอวี
    • เอดส์ คืออะไร
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ก่อนรักษาได้
    • โรคหูดข้าวสุก
    • โรคหูดหงอนไก่
    • โรคเริม
    • แผลริมอ่อน
    • โรคซิฟิลิส
  • เพร็พ PrEP/ เป็ป PEP
    • เพร็พ PrEP
    • เป๊ป PEP
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเอชไอวี

ปัจจุบันผู้ติดเชื้อเอชไอวี HIV มีสุขภาพที่ไม่ต่างไปจากผู้ที่ไม่มีเชื้อ  นั้นเป็นเพราะว่า ในปัจจุบันมีการรักษาด้วยยาต้านไวรัส และยาต้านไวรัส ก็มีประสิทธิภาพสูงมาก โดยผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาได้ตามสิทธิด้านสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ หรือสิทธิบัตรทอง โดยผู้ติดเชื้อที่เข้าถึงการรักษาได้เร็ว จะมีประสิทธิภาพการรักษาที่ดี และสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนที่ไม่มีเชื้อเอชไอวี


เพร็พ PrEP

เพร็พ (PrEP) ย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis คือยาที่ใช้ในการป้องกันเชื้อเอชไอวี (HIV) ก่อนการสัมผัสโรค PrEP ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ จึงยังจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ

เป๊ป PEP

PEP ย่อมาจาก Post-Exposure Prophylaxis เป็นยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ในกรณีฉุกเฉิน ที่ต้องรับประทานให้เร็วที่สุดหลังสัมผัสความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวี ไม่ว่าจะเป็น ถุงยางแตก ถุงยางหลุด เมาไม่ได้สติ หรือไม่ได้ถุงยางขณะเพศสัมพันธ์ โดยจะต้องเริ่มรับประทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยง และรับประทานติดต่อกันนาน 28 วัน

ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ U = U

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเกิน 6 เดือนขึ้นไป จะมีปริมาณไวรัสในเลือดต่ำกว่า 50 copies ต่อซีซีของเลือด ที่เราเรียกกันว่าตรวจไม่เจอ (undetectable) ซึ่งไม่ได้แปลว่าเชื้อหมดจากร่างกายแล้ว แต่จำนวนปริมาณไวรัส เอชไอวีในเลือดต่ำมาก จนไม่สามารถถ่ายทอดให้คู่นอนได้  ( untransmittable)


hero header placeholder

ผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี สามารถมีชีวิตยืนยาว ได้ใกล้เคียงคนปกติทั่วไป

ผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี เมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างถูกต้อง และผู้ป่วยปฏิบัติตัวดี รับประทานยาอย่างครบถ้วน ตรงเวลา และไม่ไปรับเชื้อใหม่

ไม่พบเท่ากับไม่แพร่
แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน

แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน

ถ้าพูดถึง HIV กับ AIDS คนหลายคน ก็เกิดมีความกลัวอย่างเห็นได้ชัด เพราะยังมีชุดความรู้ผิดๆ เกี่ยวกับเชื้อนี้อยู่มาก เนื่องจากยังไม่ค่อยมีสื่อเรื่องเพศศึกษา และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในสถานศึกษาอย่างจริงจัง พอได้ยินว่า “เลือดบวก”…

อ่านต่อ…. แยกให้เป็น HIV กับ AIDS ไม่เหมือนกัน

เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึง หนองใน

เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”

หนองใน คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง สามารถพบได้บ่อยมากเป็นอันดับต้นๆ พบได้ประมาณ  40 – 50 % ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หนองในเกิดจากการติดเชื้อ Neisseria gonorrhoeae…

อ่านต่อ…. เจ็บแสบระหว่างปัสสาวะ อาการบ่งบอกถึงโรค “หนองใน”

โรคฝีมะม่วง ภัยร้ายใกล้ตัว

โรคฝีมะม่วง..ภัยร้ายใกล้ตัว

โรคฝีมะม่วง (Lymphogranuloma Venereum : LGV) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลาไมเดีย ทราโคมาติส (Chlamydia trachomatis bacterium) แบคทีเรียนี้จะผ่านเข้าสู่ผิวหนังทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศสืบพันธุ์หรือทวารหนัก ทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบจะบวมโตติดกันเป็นก้อนฝีขนาดใหญ่…

อ่านต่อ…. โรคฝีมะม่วง..ภัยร้ายใกล้ตัว

ครั้งสุดท้ายที่คุณตรวจ เอชไอวี คือ ?

การรู้สถานะของเอชไอวี ของตัวคุณเอง ช่วยให้คุณสามารถวางแผนอนาคตของคุณได้

หาสถานทีตรวจเลือดไกล้บ้าน

Copyright © 2023 · Genesis Sample on Genesis Framework · WordPress · Log in